กรมอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวแบะไกด์นำเที่ยวท้องถิ่น ไม่ทิ้งขยะและนำขยะกลับไปด้วย เพราะยิ่งขอเหมือนยิ่งทิ้ง
ช่วงเทศกาลแห่งความสุขที่มาพร้อมกับอากาศเย็นสบายแบบนี้ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ทั่วไทยเริ่มมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าไปจับจองพื้นที่กางเต็นท์ สัมผัสอากาศหนาวและชมวิวทิวทัศน์กันคับคั่ง โดยเฉพาะพื้นที่อุทยานและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จึงขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวท้องถิ่น ไม่ทิ้งขยะและนำขยะที่ท่านนำเข้ามากลับออกไปด้วย เพราะตอนนี้ดูเหมือนว่ายิ่งขอ ยิ่งทิ้ง อีกทั้งการทิ้งขยะไว้ หากเจ้าหน้าที่เก็บไม่หมดหรือปลิวไปอาจทำให้สัตว์ที่อยู่ในป่าหลงกินเข้าไปและเป็นอันตรายต่อพวกมันอีกต่อหนึ่ง และไม่ใช่แค่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางเท่านั้น ทุกอุทยานฯและแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ นักท่องเที่ยวไม่ควรทิ้งขยะ ไม่ว่าที่ใดทั้งสิ้นและกรุณาปฏิบัติตามกฎของอุทยานอย่างเคร่งครัด
เกร็ดความรู้เรื่องการจัดการขยะของอุทยานแห่งชาติ อ้างอิงปี 2551 อุทยานแห่งชาติรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการ 56 แห่งจากจำนวนอุทยานทั้งหมด 148 แห่ง ส่วนใหญ่ขยะที่พบในพื้นที่อุทยานเกิดจากนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ชุมชน เป็นต้น ส่วนวิธีการกำจัดขยะจะเป็นแบบฝังกลบในพื้นที่อุทยาน หรือ ชุมชนนำออกไปกำจัดในพื้นที่ของเทศบาลและอบต.
ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม
ถ้าเป็นไปกรุณางดนำขยะพลาสติก หรือวัสดุที่กำจัดยากเข้าไปในเขตอุทยานฯและพื้นที่ทางธรรมชาติ เช่น โฟมบรรจุอาหารและถุงพลาสติก รวมไปถึงน้ำยาหรือสารเคมี ก็ไม่ควรนำไปเทลงลำธารหรือแม่น้ำ เสี่ยงต่อสัตว์มาดื่มกินและตายได้
ที่มาข้อมูล
การบริหารจัดการขยะในอุทยานแห่งชาติ