สหรัฐฯและต่างประเทศอีกว่า 20 ประเทศเริ่มกังวลถึงการปกครองของกลุ่มตาลีบัน คำสัญญาว่าจะให้ความเป็นธรรมด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นว่าจะทำตามสัญญาได้
ในหมวดข่าวต่างประเทศ ก่อนหน้านี้ Spring News ได้รายงานเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มตาลีบันมาอย่างต่อเนื่อง ถึงสถานการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้น และก็ได้สังเกตเห็นว่าสถานการณ์เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น จากการติดตามการรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศมาสักพัก
ซึ่งเมื่อไม่กี่วันก่อน เราก็ได้ทราบถึงกรณีที่โรงพยาบาลหลายแห่งในอัฟกานิสถานถูกตัดไฟระหว่างผ่าตัด ขาดแคลนเงินทุน อาหารและยา บุคลากรไม่ได้รับเงินเดือนเริ่มทยอยลาออกไป และโรงพยาบาลหลายแห่งได้รับผลกระทบหนักจนต้องปิดโรงพยาบาลไป โรงพยาบาลที่ยังเปิดรับอยู่ ต้องรับคนไข้เพิ่ม 3 เท่า อีกทั้งปัญหาของความยากจน สตรีมีครรภ์และลูกของเธอหลายรายต้องตายลงเพราะขาดสารอาหาร ซึ่งไปตามอ่านต่อได้ที่ เด็กในอัฟกานิสถานตายทุกสัปดาห์ หลังรพ.โดนตัดไฟ บุคคลากรไม่ได้ค่าจ้าง
อดีตเจ้าหน้าที่ทางการทหารก่อนหน้าตาลีบันเข้าควบคุมจะถูกประหารชีวิต
กว่า 20 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐฯอเมริกา ออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันเสาร์ โดยแสดงความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อข้อกล่าวหากรณีวิสามัญฆาตกรรมและการหายตัวไปของอดีตสมาชิกกองกำลังความมั่นคงในอัฟกานิสถาน
แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก Human Rights Watch เผยแพร่รายงานเมื่อวันอังคาร โดยกล่าวหาว่าอดีตกองกำลังความมั่นคงอัฟกานิสถานกว่าร้อยนายถูกสังหารหรือถูกกวาดต้อน โดยกลุ่มตาลีบันนับตั้งแต่ยอมจำนนในช่วงปลายฤดูร้อนที่ผ่านมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เด็กในอัฟกานิสถานตายทุกสัปดาห์ หลังรพ.โดนตัดไฟ บุคคลากรไม่ได้ค่าจ้าง
ตาลีบัน สั่งร้านตัดผมในอัฟกานิสถาน ห้ามโกนเครา และเปิดเพลงในร้าน
ตาลีบันคุมเข้มสั่งห้ามผู้หญิงนั่งเรียนกับผู้ชาย ต้องสวมฮิญาบปิดใบหน้า
กลุ่มตาลีบัน ลงโทษโจรลักพาตัว ด้วยการแขวนคอศพทิ้งไว้กลางเมือง
รายงานซึ่งอ้างอิงจากการสัมภาษณ์พยาน ญาติ และเพื่อนของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้ให้รายละเอียด “การสั่งประหารชีวิตหรือการบังคับสูญหาย” ของบุคลากรทางการทหาร ตำรวจ สมาชิกหน่วยข่าวกรอง และกองกำลังกึ่งทหาร ซึ่งได้มอบตัวหรือถูกกองกำลังตาลีบันจับกุมระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม
CNN ไม่สามารถยืนยันการอ้างสิทธิ์ในการรายงานได้อย่างอิสระ ในคำแถลงของตาลีบันเมื่อเสาร์ที่ผ่านมา ประเทศ 21 ประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร กล่าวว่า การกระทำที่ถูกกล่าวหา “ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและขัดแย้งกับนิรโทษกรรมที่กลุ่มตาลีบันประกาศออกมาก่อนหน้านี้”
“เราเรียกร้องให้กลุ่มตาลีบันบังคับใช้นิรโทษกรรมสำหรับอดีตสมาชิกของกองกำลังความมั่นคงอัฟกานิสถานและอดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะสามารถรักษาสัญญาที่เคยกล่าวไว้ได้ และจะได้ไม่เป็นข้อขัดแย้งต่อนานาประเทศ”
ประเทศต่างๆเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อกล่าวหาดังกล่าวของ Human Rights Watch อย่างเต็มรูปแบบและโปร่งใส
“ผู้รับผิดชอบเหล่านั้นต้องรับผิดชอบ เราจะวัดผลกลุ่มตาลีบันต่อไปด้วยการกระทำของพวกเขาเอง”
หากพูดเรื่องสิทธิแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่น่าเห็นใจและร้อนแรงเช่นกันคือ สิทธิของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงถูกริดรอนจนค้านสายตานานาชาติ
สิทธิสตรีถูกลิดรอนมากขึ้นเรื่อยๆ ไหนล่ะคำสัญญา?
หลังจากการบุกยึดของตาลีบัน ได้ออกกฎข้อบังคับหลายข้อที่อ้างว่าเป็นไปตามกฎของชารีอะห์ แต่กฎหมายได้ถูกปรับให้ดูรุนแรงขึ้น และลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง โดยเฉพาะต่อเพศหญิง
โดยกลุ่มตาลีบันได้ออกคำสั่งที่เรียกว่า “บทบัญญัติสิทธิสตรี” เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยได้กล่าวถึงการศึกษาหรือการทำงานของสตรีชาวอัฟกัน และทำให้ผู้เชี่ยวชาญออกมาวิจารณ์ทันทีว่า เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่ากลุ่มติดอาวุธตาลีบันไม่สนใจที่จะสนับสนุนเสรีภาพขั้นพื้นฐานสำหรับผู้หญิงหลายล้านคนที่ส่วนใหญ่ถูกจำกัดให้อยู่แต่บ้านในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
บทบัญญัติซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งงานและทรัพย์สินสำหรับผู้หญิง โดยระบุว่า "ผู้หญิงไม่ควรถูกบังคับให้แต่งงานและหญิงหม้ายมีส่วนในทรัพย์สินของสามี ผู้หญิงไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่เป็นมนุษย์ที่มีเกียรติและเป็นอิสระ ไม่มีใครสามารถมอบเธอให้ใครก็ได้เพื่อแลกกับความสงบสุข หรือเพื่อยุติความเป็นปฏิปักษ์" บทบัญญัติตาลีบันซึ่งออกโดยโฆษกซาบิอุลเลาะห์ มูจาฮิด กล่าว
แต่ก็เหมือนออกกฎนั้นมาบังหน้าเท่านั้น กลุ่มตาลีบันถูกกดดันอย่างหนักให้สนับสนุนสิทธิสตรี โดยประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกระงับเงินทุนสำหรับอัฟกานิสถาน ตั้งแต่กลุ่มติดอาวุธเข้าควบคุมประเทศ ในทางกลับกันในช่วง 4 เดือนของการปกครองผู้นำตาลีบันได้จำกัดการศึกษาของเด็กผู้หญิงและสั่งห้ามผู้หญิงไปทำงานในบางแห่ง ทำให้สิทธิที่พวกเขาพร่ำเพียรต่อสู้มาตลอด 2 ทศวรรษต้องสิ้นสลายไปต่อหน้า
ผู้หญิงชาวอัฟกันให้สัมภาษณ์กับ CNN เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า บทบัญญัตินี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตพวกเธอได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมันแย่กว่าแน่นอน และเสริมว่าสิทธิที่กลุ่มตาลีบันได้อธิบายไว้นั้นถูกกำหนดไว้ภายใต้กฎหมายอิสลามแล้ว ผู้นำของกลุ่มตาลีบันสัญญาว่าผู้หญิงจะมีสิทธิ “อยู่ในขอบเขตของกฎหมายอิสลาม” เมื่อพวกเขาก้าวขึ้นสู่อำนาจ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะหมายความว่าอย่างไรหรือจะแตกต่างยังไงจากกฎหมายเดิมที่ตาลีบันเคร่งครัดเมื่อปี 1996-2001 ที่ห้ามผู้หญิงออกจากบ้านโดยไม่มีผู้ปกครองชายไปด้วย และเด็กหญิงถูกปิดกั้นไม่ให้ไปโรงเรียน
พวกเขาต้องการให้ผู้หญิงอยู่บ้านเท่านั้น
“[บทบัญญัติ] ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสิทธิในการไปโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือมีส่วนร่วมในรัฐบาล เราไม่เห็นความหวังใดๆสำหรับอนาคตของเรา หากมันยังเป็นเช่นนี้ต่อไป” Muzhda นักศึกษามหาวิทยาลัยคาบูลวัย 20 ปีกล่าว
เธอรู้สึกไม่สบายใจตั้งแต่กลุ่มตาลีบันเข้ามควบคุมและยิ่งไม่สบายใจมากขึ้นหลังจากบทบัญญัตินี้จะถูกใช้ หากพวกเขาไม่เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิสตรีนั่น และยังทะเยอทะยานที่จะทำแบนั้น เราก็คงต้องอยู่อยู่กับมันต่อไป
พวกเขาต้องการเพียงให้ผู้หญิงอยู่แต่กับบ้าน และป้องกันไม่ให้พวกเธอไปโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือไปทำงาน พวกเขาเขียนมันขึ้นมาเพื่อดึงดูดนานาชาติ
ช่วงเวลาของคำสั่งดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่อัฟกานิสถานกำลังจมดิ่งสู่วิกฤตเศรษฐกิจและท่ามกลางคำเตือนถึงความอดอยากที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่ไม่น่าเป็นไปได้ที่คำแถลงการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริง พวกเธอเชื่ออย่างนั้น มันไม่สามารถบรรเทาความกังวลที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศว่าขณะนี้สตรีชาวอัฟกันไม่สามารถทำงานหรือไปโรงเรียนได้ หรือแม้แต่เข้าถึงพื้นที่สาธารณะนอกบ้านก็ยังทำไม่ได้
“กลุ่มตาลีบันชัดเจนขึ้นเรื่อยๆในช่วงสามเดือนครึ่งที่ผ่านมา ว่าสิทธิสตรีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการศึกษาของเด็กผู้หญิง เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุสิ่งที่พวกเขาต้องการจากประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับความชอบธรรม เงินทุน การทำลายทรัพย์สิน” Heather Barr รองผู้อำนวยการฝ่ายสิทธิสตรีของ Human Rights Watch กล่าวกับ CNN
บรรดาผู้นำของกลุ่มตาลีบันได้พยายามนำเสนอความเป็นกลุ่มที่เป็นกลางมากขึ้นให้โลกได้เห็นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยให้คำมั่นว่าจะให้การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาบางส่วนสำหรับเด็กผู้หญิง แต่นักรณรงค์ด้านสิทธิไม่เชื่อมั่นว่าความคิดเห็นของพวกเขาจะเปลี่ยนไป Barr กล่าวว่า “ความคิดเห็นของพวกเขาค่อนข้างไม่ไหวติงไปเลยเมื่อเทียบกับปี 1996-2001 เกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง และคำกล่าวเหล่านั้นไม่มีค่าอะไรเลย”
“มันทำให้คุณรู้สึกว่ากลุ่มตาลีบันเห็นบทบาทของผู้หญิงในสังคมไว้อย่างไร ผมรู้สึกว่ามันเป็นการดูถูกเล็กน้อย ถ้าพูดกันตามตรงจากการที่เด็กผู้หญิงหลายล้านคนถูกปฏิเสธเข้ารับการศึกษา”
Barr ตั้งข้อสังเกตว่า ในทางปฏิบัติ กลุ่มตาลีบันไม่มีทางรักษาสิทธิสตรีได้หลังจากยกเลิกกลไกทั้งหมด นับตั้งแต่พวกเขากวาดล้างและขึ้นสู่อำนาจปกครอง กลุ่มตาลีบันได้ยกเลิกกระทรวงกิจการสตรี ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมสิทธิสตรีผ่านกฎหมายอัฟกัน พวกเขาได้ยกเลิกกฎหมายขจัดความรุนแรงต่อสตรีซึ่งลงนามไปเมื่อปี 2009 เพื่อปกป้องผู้หญิงจากการถูกล่วงละเมิด รวมถึงบังคับให้แต่งงาน ทำให้พวกเธอไม่ได้รับอิสระและความยุติธรรมตามรายงานของสหประชาชาติ
“การบังคับใช้บทบัญญัตินี้ใช้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศนั้นเป็นไปไม่ได้ มีเพียงกลุ่มตาลีบันเท่านั้นที่สามารถนำไปใช้ในเมืองหลวงและบางส่วนของประเทศได้ เพราะแต่ละที่มีธรรมเนียมของตนเอง ซึ่งพวกเขาไม่ยอมรับบทบัญญัตินี้แน่นอน” อดีตครูโรงเรียนในคาบูลกล่าว
แม้ว่าการแต่งงานที่อายุต่ำกว่า 15 ปีจะผิดกฎหมายทั่วประเทศ แต่ก็มีการฝึกฝนกันมานานหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทของอัฟกานิสถาน และสถานการณ์ก็ได้เลวร้ายลงตั้งแต่ตาลีบันเข้ายึดครองตั้งแต่เดือนสิงหาคม เนื่องจากครอบครัวต่างๆเริ่มสิ้นหวังมากขึ้น เมื่อเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายลง แย่สุดคือบางคนขายลูกสาวตัวเองให้คนรวยเลยก็มี
เรื่องราวเหล่านี้จะจบลงอย่างไร ไม่มีใครทราบ แต่ต่างชาติเริ่มกลับมากังวลถึงการดูแลกำกับของกลุ่มตาลีบันภายใต้กฎของศาสนาที่เคร่งครัดมากขึ้นกว่าเดิม ถึงขั้นลิดรอนสิทธิมนุษยชน ที่อาจจะผิดเงื่อนไขที่ให้ไว้ในวันประกาศตนปกครองกับนานาประเทศ
ที่มาข้อมูล
https://edition.cnn.com/2021/12/03/asia/afghanistan-taliban-decree-womens-rights-intl/index.html
https://edition.cnn.com/2021/12/04/asia/us-afghanistan-taliban-summary-killings-intl-hnk/index.html