svasdssvasds

"หมอธีระ" วิเคระห์สาเหตุ มีคนจำนวนไม่น้อยยังลังเลเรื่อง "วัคซีนโควิด"

"หมอธีระ" วิเคระห์สาเหตุ มีคนจำนวนไม่น้อยยังลังเลเรื่อง "วัคซีนโควิด"

"หมอธีระ" เปิด 3 เหตุผลที่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังลังเลเรื่องของการ "ฉีดวัคซีนโควิด" ชี้เป็นเหมือนกันทั่วโลก

 สถานการณ์ โควิดวันนี้ (23 พ.ย. 64) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5,126 ราย ติดเชื้อสะสม 2,076,135 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 53  ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 20,489 ราย และผลตรวจจาก ATK / เข้าข่ายติดเชื้อ 1,516 ราย ซึ่งในวันนี้มีผู้ฉีดวัคซีนโควิด ถึง 430,312 ราย ทำให้ยอดฉีดวัคซีนสะสมแล้วถึง 88,753,981 ราย

 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงเหตุผลที่ว่า เพราะเหตุใดถึงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังลังเลเรื่องของการ "ฉีดวัคซีนโควิด" ชี้เป็นเหมือนกันทั่วโลก

 โดยหมอธีระ อธิบายเหตุผลที่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังลังเลเรื่อง "ฉีดวัคซีนโควิด" ระบุว่า เรื่อง Vaccine hesitancy นั้นเป็นเหมือนกันทั่วโลก แต่หากเราสังเกตกันในประเทศจะพบว่า คนไทยเรานั้นน่ารักมาก เพราะส่วนใหญ่ล้วนตื่นตัวขวนขวาย ทำทุกวิถีทางที่จะเข้าถึงวัคซีนเพื่อป้องกันตัวเองและคนที่เรารัก ดังที่เห็นจากข่าวการไปเข้าคิว "ฉีดวัคซีน" อย่างหนาแน่นในจุดฉีดวัคซีนอยู่เป็นประจำ

 จะมีสักกี่ประเทศในโลกที่จะมีคนมากมายยินยอม ยินดี และสมัครใจ ทุบกระปุก ควักกระเป๋า เพื่อจองฉีดวัคซีนโควิดให้กับตัวเองและครอบครัว แถมหลายคนหลายครอบครัวเกรงจะไม่ได้ จึงยอมจองหลายที่ด้วยซ้ำไป ทั้งๆ ที่ ตามหลักการแล้ว การป้องกันโรคนั้นเป็นบริการพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง ทันต่อเวลา 

 ดังนั้น เมื่อเห็นปรากฏการณ์ที่ผ่านมา จึงสะท้อนให้เห็นว่า เหตุผลที่คนจะลังเล ไม่แน่ใจ หรือตัดสินใจไม่ฉีดวัคซีนโควิด คงหนีไม่พ้นว่าจะต้องมาจากเหตุผลข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกัน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• หมอธีระ ชี้ภาวะ Long Covid เป็นปัญหาหนัก สำหรับประเทศติดเชื้อจำนวนมาก

• หมอธีระ เผยผลวิจัยจุฬาฯ พบ "หมา-แมว" ไทยติดโควิดในบ้านที่เจ้าของติดเชื้อ

• หมอธีระ แนะฉีด "วัคซีนไฟเซอร์" ขนาด 10 ไมโครกรัม ให้เด็ก 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์

 ปัญหาวิกฤตอื่นๆ ทั่วโลกนั้นเคยได้รับการวิเคราะห์จากนักวิชาการ และชี้ให้เห็นว่าเกิดขึ้นจากการที่โลกตกอยู่สถานะที่เรียกว่า "VUCA world" ที่ย่อมาจาก Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity แปลง่ายๆ คือ ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือไม่ชัดเจน

หากผนวกทั้ง 2 เรื่องที่เล่าให้ฟังแล้ว ถ้าประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่เจอปัญหา hesitancy อยากชวนให้ทุกคนมารับวัคซีน สิ่งที่ควรทำคือ

1. ทบทวนนโยบายและมาตรการ จัดซื้อจัดหาและใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย โดยใช้ข้อมูลวิชาการมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของสากลโลก (ประสิทธิภาพ)

2. แจกจ่ายวัคซีนนั้นไปยังทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง เพียงพอต่อความต้องการของทุกคน และทันที (ทั่วถึงและทันเวลา)

3. ปรับระบบและกลไกต่างๆ ตั้งแต่ระดับนโยบาย และวิชาการ ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สาธารณชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดทุกอย่างอย่างชัดเจน โดยประยุกต์ต่อยอดจากที่เห็นในระบบของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น US FDA, US CDC, EMA, ECDC ก็จะช่วยทำให้ลดเรื่องความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือไปได้ไม่มากก็น้อย

 แนวทางข้างต้นนั้นย่อมเป็นทั้งด้านวิชาการ และการสร้างความเชื่อมั่น ผ่านการทำให้เกิดกลไกนโยบาย วิชาการ และระบบบริการ ที่เป็นที่ไว้วางใจ 

ส่วนเรื่องการจูงใจโดยใช้แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เช่น การสะกิดพฤติกรรม (Nudge) ก็สามารถนำมาใช้เสริมได้เช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม เน้นย้ำอีกครั้งว่า วัคซีนนั้นสำคัญ ช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรง ลดโอกาสเสียชีวิตได้ แต่ยังสามารถติดเชื้อได้ อาจป่วยและเสียชีวิตได้ด้วย และแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้

related