มนุษย์เงินเดือนพอเข้าสู่วัยกลางคนแล้วก็มักจะเริ่มวางแผนสู่วัยเกษียณ วันนี้จะพาไปรู้จัก 6 วิธีวางแผนการเงินรับวัยเกษียณสำราญมีเงินเหลือใช้ เลือกเที่ยว เลือกดูแล สุขภาพ ถ้าคุณทำแบบนี้
วางแผนการเงินตั้งยังทำงานจะทำให้ชีวิตในวัยเกษียณ
เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ จะมีการวางแผนชีวิตในวัยเกษียณกันไว้แล้ว ทั้งในรูปแบบการลงทุนต่างๆ ที่แต่ละคนเลือกเข้าไปลงทุน เสี่ยงมากเสี่ยงน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะรับได้ หนึ่งในอีกวิธียอดฉฮิต คือออมเงิน เก็บเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณแบบสำราญ มีเงินกิน เงินเที่ยว เงินดูแลสุขภาพค่ารักษาพยาบาล วันนี้จะพามารู้จัก 6 วิธีวางแผนการเงินรับวัยเกษียณ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่องวิธีออมเงินคนไทยยุคโควิด-19 เป็นอย่างไร ? รับวันออมแห่งชาติ 31 ตุลาคม
เปิดนิสัยต่างชาติ กับ "วิธีออมเงิน" ที่ประสบความสำเร็จ เขาทำอย่างไรกัน !
ออมเงิน ฉบับเก็บแบงก์ 50 บาท เคลียร์เหรียญวันต่อวัน โมเดลขำๆ แต่เก็บเงินได้
โดย #สปริงนิวส์ ได้รวบรวมข้อมูลดี ๆจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาฝากสำหรับมนุษย์เงินเดือน คนวัยทำงาน ถึง 6 วิธีวางแผนการเงินรับวัยเกษียณ ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อที่จะมีเงินไว้ใช้ในยามที่เราชราภาพแล้ว เพื่อไม่ให้ตัวเราเองเป็นภาระให้กับลูกหลาน ตามรายละเอียดดังนี้
เปิด 6 วิธีสำรวจตัวเองการวางแผนการเงิน ลงทุน รับวัยเกษียณ
1.ลองกำหนดอายุเกษียณ และอายุขัย
2.ลองคำนวนค่าใช้จ่ายในยามเกษียณ
3.ให้ตรวจสอบเงินออมเพื่อเกษียณจากแหล่งต่างๆ
4.ให้คำนวณเงินออมที่ยังขาดอยู่
5.วางแผนออมเงินเพิ่ม
6.ให้ทบทวนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ
จากข้อมูลเบื้องต้น 6 วิธีวางแผนการเงินรับวัยเกษียณ สามารถอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ดังนี้
-การกำหนดอายุเกษียณ และอายุขัย จะทำให้เราจะทำงานได้ถึงอายุ 60 ปี จากนั้นจะไม่มีเงินเดือน เราสามารถประมาณอายุขัยได้จากคนในครอบครัว
-หากลองคำนวณค่าใช้จ่ายในยามเกษียณ เช่น ตอนนี้เราอายุเท่าไหร่ และจะทำงานไปถึง 60 ปี เราจะมีอายุถึงกี่ปีโดยคิดว่าจะมีค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ 20,000 บาท/เดือน ให้ลองคำนวณค่าใช้จ่ายตัวเงินเฟ้อที่คาดว่าจะอยู่ที่เท่าไหร่ในยุคนั้น
-ให้ตรวจสอบเงินออมเพื่อเกษียณจากแหล่งต่างๆ ว่าปัจจุบันเรามีเงินออมอยู่เท่าไหร่ ทั้งในเงินฝาก
ธนาคาร เงินกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินประกันชีวิต กองทุนรวม การลงทุนในหุ้น หรือ อื่นๆ
-ให้คำนวณเงินออมที่ยังขาดอยู่ ซึ่งปรียบเทียบเงินออมที่มีอยู่และเงินที่ต้องใช้ในยามเกษียณหากเราพบว่าเงินที่เราออมไว้ยังห่างจากเป้าหมายที่ต้องการอยู่มาก ก็ต้องเร่งวางแผนเพื่อให้มีเงินออมมากขึ้น
-วางแผนออมเงินเพิ่มหากทราบแล้วว่ายังมีขาดเงินอีกเท่าไหร่ ก็ให้วางแผนออมเงินทำบัญชีรายรับรายจ่าย อย่างรัดกุม หรือเพิ่มการลงทุนอื่นๆ
-ให้ทบทวนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบว่าสามารถทำตามแผนที่ วางไว้ได้หรือไม่ต้องเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย อย่างไรบ้าง ต้องบริหารเงินออมเงินลงทุนอย่างไร