ไทยยังคงต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ภาคธุรกิจ เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ ล่าสุดสถานการณ์แรงงานยังขาดแคลน ทำให้รัฐบาลต้องเร่งนำเข้าต่างด้าวช่วยมาธุรกิจ ธ.ค.นี้ วันนี้พาส่อง 7 ขั้นตอนที่นายจ้างควรรู้ !
ธุรกิจไทยยังต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวอยู่
หลังจากเปิดประเทศอย่างเป็นทางการไปแล้ว พร้อมทั้งทยอยคลายล็อกกิจกรรมต่าง ๆ ให้ภาคธุรกิจได้เดินต่อไปได้ มาวันนี้ธุรกิจต่าง ๆ ก็เริ่มมีการจ้างงานกันมากขึ้น แต่...หลายภาคธุรกิจยังขาดแคลนแรงงานอยู่ จึงทำให้รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้วยการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทย โดยจะมีการประเดิมล็อตแรกในวันที่ 1 ธ.ค. 2564 นี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดยที่ประชุม ศบค.มีมติเห็นชอบแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ วันนี้นายจ้างที่ยังขาดแคลนแรงงานสามารถเข้าไปสมัคร และศึกษาเงื่อนไข ได้เพื่อที่จะได้เร่งนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาขับเคลื่อนธุรกิจของท่านให้ได้มีลมหายใจต่อไป
เปิดขั้นตอนนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างควรรู้
วันนี้ #สปริงนิวส์ ได้รวบรวมข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน สรุปให้ว่านายจ้างควรเตรียมตัว และกระบวนการนำเข้าต่าง ๆ มีอะไรบ้าง ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. นายจ้างยื่นแบบคำร้อง กรมการจัดหางาน สนง.จัดหางานจังหวัด จัดหางานกทม.
2. ประเทศต้นทางรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา จัดทำบัญชีรายชื่อแรงงานส่งให้ไทย
3.นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทน เอกสาร หลักฐานการรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์
4.กรมการจัดหางานทำหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ในกัมพูชา ลาว เมียนมา พิจารณาวีซ่า ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท
5.เมื่อแรงงานเข้ามาไทยต้องแสดงเอกสาร หลักฐาน สัญญาทำงาน ใบรับรองแพทย์ผลตรวจโควิด – 19 ตรวจวิธี RT-PCR ระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง
6.แรงงานกักตัว และตรวจโควิด-19 อีกครั้ง
7.อบรมผ่านระบบ Video Conference เมื่อผ่านการอบรมแล้ว รับใบอนุญาตทำงาน