พบการดื้อยาคนแรก! ทีมวิจัยจากสหรัฐฯ นำโดยวิทยาลัยการแพทย์มหาวิทยาลัยเยล ในรัฐคอนเนคติกัต พบกรณีของผู้ป่วยหญิงที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดเชื้อโควิด-19 แต่เป็นเชื้อที่เกิดการกลายพันธุ์รหัสพันธุ์กรรม E802D จน ดื้อยา เรมดิซิเวียร์ เป็นคนแรก
มีการเปิดเผยจากทีมวิจัยจากสหรัฐฯ นำโดยวิทยาลัยการแพทย์มหาวิทยาลัยเยล ว่า ได้ทำการศึกษาหญิงวัยราว 70 ปี ที่ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งแต่เดิมเธอป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด NHL อยู่แล้ว ทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวและแอนติบอดีต่ำโดยธรรมชาติ และเมื่อเธอติดเชื้อโควิด-19 จึงแสดงอาการโดยเป็นไข้เฉียบพลัน ไอ น้ำมูกไหล และสูญเสียการรับรู้กลิ่น และเนื่องจากเธอมีไข้อย่างต่อเนื่อง เธอจึงได้รับยาเรมดิซิเวียร์ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 วัน
.
ผลจากการทดลอง รับยาเรมดิซิเวียร์ต่อเนื่อง พบว่า เธอคนนี้ มีเชื้อโควิดที่กลายพันธุ์ เป็นรหัสพันธุ์กรรม “E802D” ซึ่งสร้างคุณสมบัติการดื้อต่อยาเรมดิซิเวียร์ ที่เธอได้รับ
.
ทั้งนี้ทีมวิจัย เชื่อว่า การเกิดขึ้นของการกลายพันธุ์นี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรักษาด้วย ยาเรมดิซิเวียร์ ที่หญิงสาวคนนี้ได้รับ
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
FDA อนุญาตฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ของไฟเซอร์ สำหรับคนอายุ 65 ขึ้นไป
ทีมวิจัยระบุว่า จากการทดสอบเชื้อ โควิด-19 กลายพันธุ์ E802D ในหลอดทดลอง พบว่า มันอาจจำกัดการพัฒนาภูมิต้านทานจากการรักษาได้ แต่การศึกษาในหลอดทดลองพบความเสี่ยงจากเชื้อกลายพันธุ์นี้ในระดับที่จำกัด ... อย่างไรก็ตาม การค้นพบ เน้นย้ำถึงความสำคัญว่า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ติดเชื้อโควิด-19 อาจทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของไวรัสที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นแหล่งของความหลากหลายทางพันธุกรรมและการกลายพันธุ์ ที่ท้ายที่สุดอาจส่งผลเสียต่อการรักษาโควิด-19 ด้วยยาต้านไวรัส
.
ยาเรมดิซิเวียร์ คืออะไร ?
.
รู้จัก ยาเรมเดซิเวียร์ ยาต้านโควิด-19 คือยาที่ใช้แทนยาฟาวิพิราเวียร์ ในผู้ป่วย 3 กลุ่ม 1. หญิงตั้งครรภ์ 2. คนที่มีปัญหาการดูดซึมยา และ 3. กลุ่มผู้ที่ปอดบวมรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง
.
ยาเรมเดซิเวียร์ (remdesivir) เป็นยาต้านไวรัสอีโบลา ของบริษัท กิลิแอด ไซเอนเซส ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในต่างประเทศได้มีการนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง หรือใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ได้ตั้งแต่ปี 2020 หลังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ใช้เรมเดซิเวียร์รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้
.
สำหรับในประเทศไทยนั้น นอกจากองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้จัดหายาเรมเดซิเวียร์ ซึ่งเป็นยาฉีดโดยเตรียมเอาไว้ให้สำหรับผู้ป่วยอาการหนักที่ไม่สามารถรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์ได้ประมาณ 1,000 หลอดอีกด้วย ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา