เจ้าของสิทธิบัตรยาโมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดสำหรับรักษาอาการติดเชื้อโควิด-19 ประกาศให้อนุสิทธิบัตรแบบรอยัลฟรี (royalty-free license) ให้กับบริษัทผู้ผลิตยาในประเทศกำลังพัฒนา 105 ประเทศ แต่ไม่มี รายช
บริษัท เมอร์ค แอนด์ โค. Merck & Co เจ้าของสิทธิบัตรยาโมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดสำหรับรักษาอาการติดเชื้อโควิด-19 ได้ประกาศให้อนุสิทธิบัตรแบบรอยัลฟรี (royalty-free license) กล่าวคือต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตร ให้กับบริษัทผู้ผลิตยาในประเทศกำลังพัฒนา 105 ประเทศ สามารถนำไปผลิตได้ เปิดทางให้ประเทศเหล่านั้นสามารถผลิตยาจำหน่ายได้ในราคาถูก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ ไม่มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วยใน 105 ประเทศที่ได้รับสิทธิ์ด้วย
.
ทั้งนี้ ภายใต้ข้อตกลง ระหว่าง บริษัท เมอร์ค แอนด์ โค. Merck & Co เจ้าของสิทธิบัตรยาโมลนูพิราเวียร์ กับ บริษัทยาหลายแห่งใน 105 ประเทศ จะได้รับใบอนุญาตแบบปลอดค่าสิทธิบัตร และจะได้รับสูตรการผลิตยา Molnupiravir และเริ่มการผลิตได้เอง
.
โดยในรายชื่อ 105 ประเทศที่ได้สิทธิ อยู่ในกลุ่มรายได้น้อยและปานกลาง ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ยาโมลนูพิราเวียร์" ขายแพงกว่าต้นทุน 40 เท่า เปลี่ยนเกมหรือเปลี่ยนชีวิต
ไฟเซอร์ (Pfizer) ทดลอง ยาเม็ดป้องกันโควิด-19 ใกล้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว
จากประเด็นข่าวนี้ สร้างความยินดีให้กับวงการสาธารณสุขทั่วโลก เพราะนั่นหมายความว่าโอกาสที่ผู้คนจะเข้าถึง ยาโมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดสำหรับรักษาอาการติดเชื้อโควิด-19 ได้มากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกัน ก็เกิดความหวั่นกลัวว่า ประเทศร่ำรวยจะพากันแย่งซื้อยาตัวนี้ไปได้ก่อน แบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในการแย่งชิงกันซื้อวัคซีนโควิด-19 จนเหลือวัคซีนไปถึงมือประเทศยากจนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือไปไม่ถึงเลยในบางประเทศ
.
การที่ เมอร์ค แอนด์ โค. Merck & Co ยอมแบ่งปันสูตรยาโมลนูพิราเวียร์ Molnupiravir ให้แก่ประเทศยากจนในครั้งนี้ ได้รับความชื่นชมอย่างมาก และเป็นความหวังว่า จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาประเทศยากจน เข้าไม่ถึงการรักษาโควิด ซ้ำรอยกับที่เคยเกิดปัญหาการแย่งชิงวัคซีนต้านโควิดมาแล้ว
ยาโมลนูพิราเวียร์ Molnupiravir เป็นยาเม็ดที่สามารถกินเองได้ที่บ้าน ช่วยลดภาระการต้องรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลลง และน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางออก สำหรับการแก้ปัญหาวิกฤตโควิดครั้งนี้
.
ตามรายงานก่อนหน้านี้ บริษัท Merck ผู้ผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ จะผลิต 10 ล้านชุดในปี 2021 ซึ่งอาจคิดเป็นเงินมูลค่าสูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 236,300 ล้านบาท ที่ บริษัท Merck จะสามารถทำได้ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เรียกได้ว่า กลับมาฟื้นตัวทันที หลังจากสู้ไม่ได้ในตลาดวัคซีน
.
อย่างไรก็ตาม นายเจมส์ เลิฟ แกนนำองค์กร โนวเลจ อีโคโลยี อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อการวิจัยไม่แสวงกำไร ตั้งข้อสังเกตุว่า ใน 105 ประเทศที่ได้รับอนุสิทธิบัตรครั้งนี้ ไม่มีประเทศที่มีรายได้ปานกลางหลายประเทศอยู่ด้วย รวมทั้งประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคละตินอเมริกาก็ไม่มีอยู่ในรายชื่อประเทศที่ได้รับอนุสิทธิบัตร