svasdssvasds

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัสคืออะไร? ไทยพบแล้ว 1 ราย อยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัสคืออะไร? ไทยพบแล้ว 1 ราย อยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัสคืออะไร ? แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดิม 17% พบมากในเด็กและเยาวชน ล่าสุดไทยพบแล้ว 1 ราย อยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ดูค่อนข้างไปในเกณฑ์ที่ดีจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวันลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงมีความน่ากังวลเนื่องจากไทยได้พบผู้ป่วยโควิดสายพันธ์ุเดลต้าพลัส 1 รายซึ่งสายพันธ์ุนี้มีการติดเชื้อที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมและวันที่ 1 พ.ย. นี้จะมีการเปิดจังหวัดนำร่องท่องเที่ยวประกอบกับโรงเรียนในหลายพื้นที่อนุญาตให้เปิดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นที่น่ากังวลอย่างมากเนื่องจากเด็กเวลาอยู่รวมกันบางทีเผลอเล่น การระวังตัวก็อาจน้อยลงเพราะอาจนำไปสู่การระบาดได้ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระวังอย่างมาก 

ด้านรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยข้อมูล โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส หรือ AY.4.2 สหราชอาณาจักรมีการติดเชื้อสายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นเร็วจนได้รับการยกระดับเป็น variant under investigation และมีการแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้นกว่าสายพันธุ์เดลต้าเดิม 17% พบมากในเด็กและเยาวชน อัตราการติดเชื้อภายในครัวเรือนมากขึ้นกว่าเดิม 12% (ช่วงความเชื่อมั่น 8-16%) เดิมอัตราการแพร่ให้คนที่อยู่ในครัวเรือนเดียวกัน เฉลี่ยประมาณ 18-20%

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน เผยว่า ประเทศไทยมีรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส หรือ AY.4.2 จำนวน 1 ราย โดยเป็นชายอายุ 49 ปี มีประวัติทำงานที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากการส่งตัวอย่างไปที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางทหาร กองทัพบก พบสายพันธุ์ AY.4.2 ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ซึ่งเชื้อ “เดลต้าพลัส” ยังอยู่ในการจับตาเฝ้าระวังในประเทศไทยเพราะเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่เชื้อได้ง่ายกว่า โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ทั้งนี้ผู้ป่วยคนดังกล่าวรักษาหายแล้ว และยังไม่พบผู้ติดเชื้อที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วยรายนี้ อีกทั้งสุ่มตรวจเป็นระยะ ๆ ยังไม่พบการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ข้อมูลจากเว็บไซต์โรงพยาบาลวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม เผยว่า สายพันธุ์เดลตาพลัส ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งจะมีการกลายพันธุ์ในกรดอะมิโน ที่เรียกว่า k417n เป็นกรณีกลายพันธุ์ที่คล้ายกับสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์นี้สามารถหลบเลี่ยงภูมิต้านทานได้ดีกว่า และติดต่อได้ง่ายที่สุดในไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์

related