อธิบดีกรมควบคุมโรค เผย คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีมติฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 2 ในกลุ่มเด็กผู้ชายอายุ 12-17 ปี โดยเป็นไปตามความสมัครใจ ชี้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกิดได้น้อย และรักษาหายได้
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยถึง ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเด็กผู้ชาย โดยคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้ประชุมหารือกับผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน เช่น กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ และโรคหัวใจ มาให้ข้อมูล โดยมีการพิจารณาหลังมีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับเด็กนักเรียนเข็มที่ 1 รวมถึงการพิจารณาข้อมูลจากต่างประเทศด้วย
พบว่า จากข้อมูลการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ทั่วโลกกว่า 100 ล้านโดส พบมี ข้อมูลชี้ชัดแค่ 1 ราย ที่เสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งถือเป็นจำนวนน้อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
แพทย์แนะไม่ควร "ฉีดวัคซีนโควิดเกิน 3 เข็ม" เสี่ยงเกิดผลข้างเคียงโดยใช่เหตุ
กทม. เปิดจุดฉีดวัคซีนนักเรียน ในสังกัดกทม. ระหว่างวันที่ 18-20 ต.ค. 64
สธ. แนะฉีดวัคซีนกระตุ้นแบบเต็มโดส หลังมีการรับฉีดเชื้อตายแบบครึ่งโดส
ขณะที่บางส่วน ถึงแม้พบอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ก็สามารถรักษาตามอาการจนหายได้ ทำให้คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เห็นชอบให้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก 12-17 ปี
ในส่วนการรับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 ของเด็กชาย ที่หลายฝ่ายมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้น อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีมติเห็นชอบในกลุ่มเด็กชายอายุ 12-17 ปี สามารถรับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 ได้ โดยเป็นไปตามความสมัครใจของเด็กและผู้ปกครอง ที่จะแจ้งความประสงค์ขอรับวัคซีน
สธ.ยืนยัน วัคซีนไฟเซอร์มีประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียงที่ถือว่าเกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนน้อยมาก หากเด็กติดเชื้อโควิด-19 เด็กจะเกิดอาการอักเสบทั่วตัว หรือ “อาการมิสซี” โดยระยะหลัง ตรวจพบอาการเหล่านี้จำนวนเยอะขึ้น นอกจากนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะมาจากวัคซีนโควิดเท่านั้น แต่อาจจะมาจากการติดเชื้อโควิดหรืออาการอื่นร่วมด้วย
สำหรับข้อมูลการฉีดวัคซีน ชนิด mRNA มีการฉีดแล้วหลายเข็ม โดยประเทศที่ฉีด 2 เข็มส่วนใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น และบราซิล ส่วนประเทศที่ฉีด 1 เข็ม ได้แก่ เม็กซิโก อังกฤษ นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน
ทั้งนี้ จากผลสำรวจพบว่า การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมักเกิดในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 6 คนใน 100,000 คน และพบมากในเข็มที่ 2 และมักเกิดในเด็กผู้ชายที่มีร่างกายแข็งแรง โดยเด็กที่ป่วยส่วนใหญ่มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ ส่วนกรณีที่เด็กเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนวัคซีนทั่วโลกมีเพียง 1 ราย สำหรับเด็กที่มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบสามารถรักษาได้