ขบวนรถไฟลาว-จีนมา เดินทางมาถึงกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงสปป.ลาวแล้ว โดยมีพิธีรับมอบ ขบวนรถไฟหัวกระสุน ‘ล้านช้าง’ อย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งการเปิดเดินขบวนรถไฟลาว-จีนครั้งประวัติศาสตร์ จะมีขึ้นครั้งแรก ตรงกับวันชาติลาววันที่ 2 ธันวาคมนี้ หลังจากเริ่มดำเนินการมาเป็นเวลา 5 ปี
วันประวัติศาสตร์ส่งมอบขบวนรถไฟหัวกระสุน
.
สำนักข่าวซินหัวรายงานเหตุการณ์สำคัญของประเทศ สปป.ลาว โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีพิธีส่งมอบ ตู้รถไฟหัวกระสุน ในโครงการการเดินรถไฟระหว่างจีนกับสปป.ลาว ซึ่งเหตุการณ์นี้กำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการคมนาคมระหว่างประเทศในเขตภูมิภาคอาเซียนกับประเทศจีน
.
ตู้ขบวนรับส่งผู้โดยสารลาว-จีนขบวนแรกที่ชื่อว่า "ล้านช้าง" โดยพิธีส่งมอบ บริษัททางรถไฟลาว-จีน และมีการลงนามสั่งซื้อรถไฟ Fuxing EMU รุ่น CR200J มาให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร รวม 2 ขบวน นั่นคือ "ล้านช้าง" และขบวนที่ชื่อว่า "แคนลาว"
.
สำหรับขบวนรถไฟ "ล้านช้าง" ที่มีการส่งมอบครั้งนี้ มีทั้งหมด 7 ตู้ จำนวน 720 ที่นั่ง แบ่งเป็นที่นั่งชั้น1และชั้น2รวมทั้งมีที่นั่งสำหรับผู้พิการด้วย ขบวนรถไฟถูกออกแบบด้วยสีสันสัญลักษณ์ของธงชาติลาว คือสีแดง สีน้ำเงิน และสีขาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยาน "เสินโจว-13" ทะยานไปนอกโลก ภารกิจสำคัญสร้างสถานีอวกาศแห่งแรกของจีน
ชมบรรยากาศ ยอดเขา "บู๊ตึ๊ง" หุบเขาในตำนานหนังจอมยุทธกำลังภายใน
จีนหวั่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังเพิ่มขึ้นจนมีนำหนักมากกว่ากำแพงเมืองจีน
โครงการก่อสร้าง 5 ปี แต่อนาคตจากนี้จะเปลี่ยนไป
ทั้งนี้ การก่อสร้างรางรถไฟจีน-ลาว โครงการนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ ธันวาคม 2016 และกำลังจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ในวันชาติสปป.ลาว วันที่ 2 ธันวาคม 2021 นี้ ซึ่งนับเวลาแล้ว ทั้งสิ้นเป็นเวลา 5 ปีเต็ม ซึ่งช่วงเวลาต่อจากนี้ไป คุณภาพชีวิตของประชาชน สปป.ลาว จะพัฒนาขึ้น ดีขึ้นอย่างทันตา แม้จะเป็น รภไฟความเร็วระดับปานกลางก็ตาม โดยทำความเร็วได้สูงสุด 160 กม./ชั่วโมง
.
สำหรับ เส้นทางรถไฟลาว-จีน มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตรจากคุนหมิง (เมืองเอกมณฑลยูนนาน) ถึง เวียงจันทน์ (เมืองหลวงของสปป.ลาว) แบ่งเป็น 2 ช่วงคือช่วงแรก คุนหมิง-บ่อหาน (เขตประเทศจีน) ระยะทางประมาณกว่า 500 กิโลเมตร (จีนวางเครือข่ายรางรถไฟจากเมืองคุนหมิง ผ่านเมืองผูเอ่อร์ เชียงรุ่ง สิบสองปันนา ลงมาถึงชายแดนจีน-ลาว ที่เมืองบ่อหาน (ตรงข้ามบ่อเต็นของสปป.ลาว)
ขณะที่ช่วงที่สอง โครงการรถไฟลาว-จีน เส้นทางจาก บ่อเต็น-เวียงจันทน์ ในเขตสปป.ลาว ความยาวประมาณ 422.4 กิโลเมตร (รวมทั้งสิ้น 32 สถานี)
.
โครงการรถไฟลาว-จีน มีมูลค่า 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นเงินกู้จากธนาคารส่งออกนำเข้าของจีน 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยฝ่ายจีน รับภาระหนี้สินประมาณ 2,480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ สปป.ลาว รับภาระหนี้สินประมาณ 1,060 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
.
ส่วนที่เหลืออีก 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทางสปป.ลาว มีภาระใส่เงินผ่านบริษัทร่วมทุน 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีน 1,630 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ความเกี่ยวเนื่องกับไทย
.
โครงการ รถไฟลาว-จีน มีความเกี่ยวเนื่องกับประเทศไทยด้วย เพราะที่จริงแล้ว โครงการนี้ ไทย - สปป.ลาว - จีน 3 ประเทศ มีการตกลงความร่วมมือกัน
.
โดย มี การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ร่วมสามฝ่าย (ไทย - สปป.ลาว - จีน) ตั้งแต่ปี 2560 (2017) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้มีนโยบาย แผนการเตรียมความพร้อมรองรับการขนส่งระหว่างประเทศผ่านรถไฟไทย-ลาว-จีน นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่ง ในปี 2562 (2019) เพื่อขับเคลื่อนพร้อมผลักดัน โครงการรถไฟความเร็วสูง โดยมีการประกวดราคาและลงนามในสัญญาฉบับที่ 2.3 กับฝ่ายจีน ในเดือน ตุลาคม 2563 (2020)
.
โดยประเทศไทย ณ ตอนนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. กำหนดเปิดให้บริการ ปี 2569 (2026)
ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย (ซึ่งใกล้กับเวียงจันทน์ ในโครงการรถไฟจีน-สปป.ลาว) มีระยะทาง 356 กิโลเมตร
.
ปัจจุบัน ไทยได้ออกแบบรายละเอียดโดยมีกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2571 (2028) โดยเตรียมหารือร่วมกันสามฝ่ายเพื่อเตรียมการเดินรถเชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ต่อไป และตอนนี้ มีความคืบหน้าใน 3 ประเด็นนั่นคือ
1.) การเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทาง และการขนส่งสินทางทางรถไฟจากจีนตอนใต้ เชื่อมต่อกับ สปป.ลาว
2.) การพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมต่อ ไทย - ลาว - จีน อาทิ การจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับศูนย์ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard)
3.) การสร้างสะพานมิตรภาพรองรับการขนส่งทางรถไฟโดยเฉพาะ