กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ภาคใต้น่าเป็นห่วง หวั่นคุมไม่อยู่ พบ 3 สายพันธุ์ อัลฟา เบต้า เดลต้า เร่งสั่งการมาตรการควบคุมโรคเร่งด่วน และการฉีดวัคซีนเพื่อคุมการระบาด
ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเริ่มลดลง ค่อนข้างที่จะปลอดภัยทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงรวมถึงการฉีดวัคซีนที่ฉีดครอบคลุมประชากรในพื้นที่ส่วนต่างจังหวัดอาจจะมีเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในชายแดนใต้ ที่กำลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องใช้แนวทางมาตรการในการควบคุมโรค การฉีดวัคซีน และความร่วมมือต่างๆเพื่อลดการติดเชื้อไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น หากไม่ทำมาตรการใดๆ เลยและปล่อยไว้ อาจจะทำให้สถานการณ์การระบาดสูงขึ้นเหมือนในกรุงเทพฯในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี พบว่า มี 3สายพันธุ์ที่แพร่ระบาด คือสายพันธุ์เบต้า เป็นสายพันธุ์ที่ดื้อต่อวัคซีน สายพันธุ์อัลฟา และสายพันธุ์เดลต้า ที่แพร่กระจายเร็ว ทำให้เกิดภาวะอันตรายในความรุนแรงของโรคเมื่อติดเชื้อ มาตรการสำคัญ ในภาคประชาชน คือ มาตรการ universal prevention การเข้มตัวเองขั้นสูงสุด
เชื่อว่าหากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน ทั้งประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การระดมฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม ยอมรับในช่วงที่ผ่านมาวัคซีนอาจจะน้อย แต่ขณะนี้ก็จะมีการแจ้งจัดสรรวัคซีนเข้าไปในพื้นที่เพิ่มเติม การรักษาพยาบาล ให้ทั่วถึง ส่วนจำนวนเตียงในการรักษายังคงมีเพียงพอรองรับได้ ซึ่งการควบคุมการแพร่ระบาดอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกสักระยะ
โดยสัปดาห์หน้าจะมีการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และการควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งคาดว่าจะมีมาตรการที่เข้มข้นขึ้นเพื่อลดการแพร่ระบาดไม่ให้สูง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• โควิดวันนี้ (7 ต.ค. 64) เสียชีวิต 113 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 11,200 ราย
• ศบค. ห่วงภาคใต้ ยอดติดเชื้อโควิด-เสียชีวิต ยังสูง วอนเข้มงวดกว่านี้
• "หมอยง" เผยแนวทางฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19
ส่วนกรณีที่อาจจะมีประชาชนบางส่วนในพื้นที่ภาคใต้ไม่เข้ารับวัคซีนโควิด ทางปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ได้หารือกับผู้นำทางศาสนา หรือตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ให้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านเพื่อเข้ารับวัคซีนให้ได้มากที่สุด เบื้องต้นทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดสรรวัคซีนลงไปในพื้นที่ภาคใต้กว่าแสนโดส ทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้าก้า และไฟเซอร์
ทั้งนี้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อตอนนี้มาถึงทางแยก ที่จะเริ่มผ่อนคลายมาตรการหลังจากล็อกดาวน์มา 2 เดือน ซึ่งจะเริ่มพิจารณาแนวทางผ่อนคลายเป็นต่างมากขึ้น ควบคู่กับแนวทาง universal prevention คือ การ เข้มตัวเองขั้นสูงสุด โดยเฉพาะการรวมตัวกันในสถานที่สาธารณะ เช่น ร้านอาหาร โรงหนัง จึงนำมาสู่แนวทางมาตราการ covid Free settings ซึ่งจะถูกบังคับใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด โดยจะเป็นมาตรการที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือ โดยรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่จะเปิดประเทศเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม มาตรการที่ออกมาจึงเป็นการเตรียมพร้อมก่อนเปิดประเทศอย่างปลอดภัย ส่วนสถานการณ์โควิด ในปีหน้า เดือนมกราคม คาดว่าน่าจะคลี่คลาย
ขณะที่สถานการณ์วัคซีนโควิด ตอนนี้ประเทศไทยฉีดไปแล้วประมาณ 57 ล้านโดส จำนวนนี้เป็นผู้ที่รับเข็ม 1 จำนวน 33.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 69 เขต 2 อยู่ที่ 22 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 22 ส่วนการฉีดวัคซีนในนักเรียนอายุตั้งแต่ 12 ถึง 18 ปี ที่ตั้งเป้า 4 ล้านคนปัจจุบันฉีดไปแล้ว 74,500 ราย
สำหรับการคาดการณ์ การฉีดวัคซีนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม สิ้นเดือนตุลาคมนี้ คาดการณ์จะมีวัคซีนค่อนข้างเคียงพอ จะสามารถบริหารจัดการฉีดวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด สิ้นเดือนกันยายน คาดว่าเข็มหนึ่ง จะสามารถฉีดครอบคลุมได้ร้อยละ 45 เข็ม 2 ร้อยละ 25 สิ้นเดือนตุลาคมครอบคลุมร้อยละ 61 เข็ม2 ร้อยละ 37 สิ้นเดือนพฤศจิกายน เข็มหนึ่งจะครอบคลุมร้อยละ 75 เข็ม 2 จะครอบคลุมร้อยละ 55 ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานโลกที่สัดส่วนการฉีดจะอยู่ประมาณนี้ สิ้นเดือนธันวาคม เข็ม1 จะครอบคลุมประชากร 60 ล้านคน หรือร้อยละ 85 และเข็ม 2 ครอบคลุมประชากร 49 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 70 เท่ากับ ว่าประชาชนทุกคนในประเทศไทยสิ้นเดือนธันวาคมนี้จะรับวัคซีนครอบคลุม
ส่วนความคืบหน้า สูตรวัคซีนไขว้แอสตร้าเซนเนก้า - ไฟเซอร์ นายแพทย์เกียรติภูมิ ระบุว่า วันนี้จะมีการประชุมจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้การรับรอง ก่อนที่จะเข้าที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุข จากนั้นจะเสนอไปที่ ศบค.ชุดใหญ่เพื่อพิจารณาประกาศใช้อย่างเป็นการ
แต่ปัจจุบันไทยได้มีการใช้สูตรวัคซีนไขว้ แอสตร้าเซนเนก้า - ไฟเซอร์ ในประชาชนบางส่วนแล้ว เนื่องจากเป็นสูตรวัคซีนไขว้ที่องค์อนามัยโลกรองรับ