svasdssvasds

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ คลายล็อกฟื้นเศรษฐกิจ มีผล 1 ตุลาคมนี้

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ คลายล็อกฟื้นเศรษฐกิจ มีผล 1 ตุลาคมนี้

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศข้อกำหนดคลายล็อกมาตรการเพิ่มเติม ฟื้นภาคธุรกิจระยะยาว โดยให้มีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2564

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 34)

ประกาศดังกล่าวระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้น

โดยที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมีแนวโน้มของสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระดับคงที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ในขณะที่จำนวนผู้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

ผลดังกล่าวมาจากการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการและประสานความร่วมมือของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนเพื่อการระดมสรรพกำลังในการควบคุมและป้องกันโรค

 ทั้งการบริการฉีดวัคซีนให้เป็นไปตามแผน การตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก การกระจายชุดตรวจเพื่อการตรวจหาเชื้อด้วยตนเองและการดำเนินการและกำกับดูแลเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในระยะยาวตามที่ได้ประกาศไว้แล้ว เช่น มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 แนวใหม่เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างปลอดภัยมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล หรือมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร ฝ่ายสาธารณสุขและหน่วยงานที่รับผิดชอบได้รายงานผลการประเมินสถานการณ์ว่า หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนค่อนข้างมีประสบการณ์และความพร้อม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• สรุปให้ ศบค. คลายล็อก 1 ต.ค. นี้ โรงหนัง ฟิตเนส นักร้องกลางคืน เปิดได้ แต่....

• นายกฯ ประชุม ศบค.พิจารณาขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2 เดือน คลายล็อกเพิ่ม 10 กิจการ

• เช็กที่นี่! ศบค. ผ่อนคลายมาตรการคุมโควิด 1 ต.ค. นี้

 ประกอบกับหน่วยงานและบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยมีศักยภาพ ความชำนาญ และมีประสิทธิภาพครอบคลุมการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย และมีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์หากมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จึงสามารถปรับมาตรการโดยผ่อนคลายความเข้มงวดบางกรณีให้มีความเหมาะสม

 โดยกำหนดมาตรการควบคุมเท่าที่จำเป็นตามระดับพื้นที่ของสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ยังจำเป็นต้องติดตามกำกับดูแลทั้งบุคคล สถานที่ การดำเนินกิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขของการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในระยะยาว เพื่อการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ

 การฟื้นฟูและพัฒนาประเทศในระยะยาว ควบคู่กับการป้องกันและควบคุมโรคอย่างสมดุลและยั่งยืนอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.)

 

related