svasdssvasds

สธ. เปิดแผนการเรียน ภายใต้มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน

สธ. เปิดแผนการเรียน ภายใต้มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน

กระทรวงสาธารณสุข เปิดแผนการเรียนอย่างปลอดภัย แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน (Sandbox Safety Zone in School) มาตรการในโรงเรียน พร้อมเน้นย้ำสถานศึกษาต้องประเมินความเสี่ยงของบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนเป็นประจำ

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึง มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน (Sandbox Safety Zone in School) ไป-กลับ ว่า แนวทางดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ-กรมอนามัย-กระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียน สิ่งสำคัญคือ จะคำนึงถึงพื้นที่การระบาดในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ 

และดำเนินมาตรการสาธารณสุขอย่างเข้มงวด  รวมถึง ต้องจำกัดคนเข้าออกให้มีการคัดกรองด้วยชุดตรวจด้วยตัวเอง หรือ ATK  / หากอยู่ในพื้นที่สีแดง-สีแดงเข้ม ต้องจัดทำ School Pass ข้อมูลความเสี่ยงของครู-นักเรียนทุกคน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

สธ. เปิดแผนการเรียน ภายใต้มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน

- จังหวัดพื้นที่สีเขียว  ให้เข้มมาตรการสาธารณสุข 6 ข้อ (DMHC) และมาตรการเสริม, การเข้าถึงวัคซีนครูและบุคลากรต้องรับวัคซีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85, และต้องมีการประเมินความเสี่ยง  1 วันต่อสัปดาห์ 

- พื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่สีเหลือง ยังคงมาตรการสาธารณสุข ให้มีการตรวจ ด้วยชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยตัวเอง หรือ ATK 1 ครั้งต่อสัปดาห์, ครูบุคลากรฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85, ประเมินความเสี่ยง 1 วันต่อสัปดาห์ 

- พื้นที่ควบคุม สีส้ม คงมาตรการสาธารณสุขตรวจ ATK 1 ครั้งต่อสัปดาห์, ครู-บุคลากรฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85, ประเมินความเสี่ยง 2 วันต่อสัปดาห์ 

-ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่สีแดง คงมาตรการสาธารณสุขอย่างเข้มงวด  แต่ต้องเพิ่มในมาตรการโดยรอบโรงเรียนด้วย เช่น สถานประกอบกิจการ, กิจกรรมรอบรั้วสถานศึกษาในระยะ 10 เมตร ต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงฟรี, มีการจัด School Pass สำหรับเด็กนักเรียนครูและบุคลากร คือ ข้อมูลความเสี่ยงแต่ละบุคคล มีผลการตรวจ ATK หรือประวัติการได้รับวัคซีน หรือประวัติที่เคยติดเชื้อในช่วง 1-3 เดือน, หากจะเปิดเรียน ต้องจัดกลุ่มนักเรียนต่อห้องเรียนขนาดปกติไม่เกิน 25 คน, ตรวจ ATK 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์, ครูบุคลากรต้องได้รับวัคซีนร้อยละ 85-100, รวมถึงนักเรียนและให้มีการประเมินความเสี่ยงตามวันต่อสัปดาห์ 

- ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดพื้นที่สีแดงเข้ม ให้คำนึงและปฏิบัติตามมาตรการข้อ 1 ถึงข้อ 5, ตรวจ ATK 2 ครั้งต่อสัปดาห์, ครู-บุคลากรและนักเรียนต้องได้รับวัคซีนร้อยละ 85-100, ให้ประเมินความเสี่ยงทุกวัน 

สธ. เปิดแผนการเรียน ภายใต้มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน

 

สำหรับ 7 มาตรการหลักหากต้องเปิดเรียน 
- สถานศึกษาประเมินความพร้อมเปิดเรียนผ่าน Thai Stop covid และรายงานการติดตามประเมินผล
- การทำกิจกรรมร่วมกันในรูปแบบ Small Bubble (เน้นกลุ่มเล็ก)
- การจัดระบบให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลและหลักโภชนาการ
- การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน
-จัดให้มี School isolation แผนเผชิญเหตุ
- ควบคุมดูแลการเดินทางไปกลับของนักเรียน เช่น รถรับส่งรถส่วนบุคคล และพาหนะโดยสารสาธารณะ
- จัดให้มี School Pass สำหรับนักเรียนครูและบุคลากรในสถานศึกษา ประกอบด้วย ข้อมูลผลการประเมินของครู และนักเรียนผลการตรวจ ATK ภายใน 7 วัน ประวัติการรับวัคซีน

สธ. เปิดแผนการเรียน ภายใต้มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน

หากโรงเรียนจำเป็นที่จะต้องเปิด สิ่งสำคัญ คือ จะต้องจำกัดคนเข้าออกให้มีการคัดกรองด้วยชุดตรวจด้วยตัวเอง หรือ ATK, จัดกิจกรรมแบบกลุ่มเล็กหลีกเลี่ยงการสัมผัสกลุ่มใหญ่, มีการรายงานผลสุ่มตรวจประเมินความเสี่ยงครูและนักเรียนทุก 14 วันหรือ 1 เดือนต่อภาคเรียน, เข้มงวดมาตรการทางสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมรวมถึงมาตรการทางสังคม หากพบการติดเชื้อในโรงเรียนให้ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุของกระทรวงสาธารณสุข 

สำหรับการติดเชื้อในครูและนักเรียนที่ผ่านมา  พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่ได้กำหนด อีกทั้งโรงเรียนประจำส่วนหนึ่งจะมีบุคลากรภายนอกเข้าออก หรือมีบุคลากรทางการศึกษาเดินทางไปกลับแล้วไม่คัดกรองความเสี่ยง  และไม่มีระบบ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน (Sandbox Safety Zone in School) รวมถึงกรณีที่หอพักมีความแออัด

สธ. เปิดแผนการเรียน ภายใต้มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน

 

สธ. เปิดแผนการเรียน ภายใต้มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน

สธ. เปิดแผนการเรียน ภายใต้มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน

สธ. เปิดแผนการเรียน ภายใต้มาตรการ แซนด์บ็อกซ์ เซฟตี้โซน ในโรงเรียน

สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อในกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น ในช่วงอายุ 16-18 ปี มีผู้ติดเชื้อสะสม 129,165 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 เป็นคนไทย อีกร้อยละ 10 เป็นชาวต่างชาติ มีผู้เสียชีวิตสะสม 15 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคประจำตัวร่วม

- กลุ่ม12-18ปี ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 74,932 คน เข็มที่ 2 จำนวน 3,241 คน 
- ครู-บุคลากร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับวัคซีนเข็ม 1และเข็ม2 จำนวนรวม 897,423 คน 
- กลุ่มเด็ก 12-18 ปี ที่มีโรคประจำตัวที่รับวัคซีนไฟเซอร์ เข็ม1 อยู่ที่ 74,932 คน เข็ม2 จำนวน 3,241 คน 

ทั้งนี้ พบว่า ตั้งแต่มีการระบาดระลอกเดือนเมษายนเป็นต้นมาพบว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในเด็กกลุ่มนี้มีอัตราสูงขึ้นทุกเดือน  โดยสิงหาคม เดือนเดียว ติดเชื้อสะสม อยู่ที่ 69,628 คน 

อธิบดีกรมอนามัย ระบุอีกว่า แนวโน้มผู้ติดเชื้อในกลุ่มเด็กวัยเรียนวัยรุ่นถึงแม้จะไม่มีการเปิดให้เรียนตามโรงเรียนก็ตามแต่ก็ยังพบการติดเชื้อสูง ซึ่งการติดเชื้อส่วนหนึ่งมาจากการติดเชื้อในครอบครัวและการเดินทางไปสัมผัสผู้ติดเชื้อ

related