"หมอยง" เผย การให้วัคซีน mRNA ในเด็กอายุ 12-17 ปี มีความเสี่ยงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ย้ำ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก ต้องมีความปลอดภัยสูงมาก จึงจะคุ้มค่า
วันนี้ ( 10 ก.ย.64 ) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก โดยระบุข้อความว่า ทุกคนควรได้รับวัคซีน แต่ปัญหาโรคโควิด 19 มีความรุนแรงในผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
• สธ.ย้ำวัคซีนโควิด "ไฟเซอร์" 6 แสนโดส ไม่สูญหาย ทยอยส่งพื้นที่ฉีดเข็ม 2
• เช็กเลย! 11 จุดตรวจโควิดฟรี ในพื้นที่ กทม.-ปทุมธานี เดือน กันยายน
• โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 14,403 ราย สะสม 1,352,953 เสียชีวิต 189 ราย
เด็กถึงแม้จะเป็นโควิด จะมีอาการน้อย โอกาสเป็นปอดบวมน้อยมาก และยิ่งน้อยมาก ๆ ที่จะเสียชีวิตจากโควิด-19
การให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก วัคซีนจะต้องมีความปลอดภัยสูงมาก จึงจะคุ้มค่า เพราะตัวเด็กเอง โดยเฉพาะวัยเรียน เป็นแล้วไม่รุนแรง นอกจากจะนำเชื้อมาสู่ผู้แก่ ผู้เฒ่าที่บ้าน หรือทำให้เกิดการระบาดได้โดยเฉพาะในโรงเรียน ที่มีคนอยู่ร่วมกันมากๆ
การให้ mRNA วัคซีนในเด็กอายุ 12-17 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ถ้าคำนึงถึงผลได้ ผลเสียในระยะเวลา 120 วัน เด็กอายุ 12-17 ปี ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 mRNA 1 ล้านคน จะป้องกันการเสียชีวิตในเด็กชายได้ 2 คน และถ้าเป็น เด็กหญิง 1 คน
ถ้าฉีดวัคซีน mRNA เข็มที่ 2 มีโอกาศเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในเด็กวัยชาย (12 ถึง 17 ปี) 59 -69 คน เด็กวัยหญิง 8-10 คน ใน 1 ล้านคนที่ฉีดวัคซีน ใน (ประเทศสหรัฐอเมริกา) MMWR July 9 2021; 70 (27): 977 -982
กลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ควรจะได้รับวัคซีนก่อนให้มากที่สุด เพื่อลดความรุนแรงของโรค และอัตราการเสียชีวิตก่อน แล้วถ้าวัคซีนมีมากเพียงพอ ทุกคน ก็ควรได้รับวัคซีน รวมทั้งเด็กด้วย
ความเสี่ยงและประโยชนที่ได้ จะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้ปกครอง