svasdssvasds

รู้จัก โควิดสายพันธุ์มิว (Mu) WHO ยกระดับ ให้ความสนใจ พบครั้งแรกโคลอมเบีย

รู้จัก โควิดสายพันธุ์มิว (Mu)  WHO ยกระดับ ให้ความสนใจ พบครั้งแรกโคลอมเบีย

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่พบครั้งแรกที่โคลอมเบีย เมื่อช่วงต้นปี 2021ที่ผ่านมา ให้เป็นโควิดสายพันธุ์ที่น่าสนใจ (VOI) พร้อมกับมอบตัวอักษรกรีก Mu ให้กับสายพันธุ์มิว อย่างไรก็ตามสายพันธุ์นี้ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วยในไทย

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO  เปิดเผยว่า กำลังติดตาม การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ “มิว” (Mu หรือรหัสพันธุกรรม B.1.621) ให้เป็นหนึ่งในโควิดสายพันธุ์ที่ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO  ให้ความสนใจ Variants of Interest (VOI) แล้ว

สำหรับ โควิดสายพันธุ์มิว (Mu)  ถูกพบครั้งแรกที่ประเทศโคลอมเบียเมื่อเดือนมกราคม 2021 ก่อนที่วันที่ 30 สิงหาคม 2021 องค์การอนามัยโลก จะยกระดับโควิดสายพันธุ์นี้ให้เป็น หนึ่งในโควิด สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ Variants of Interest (VOI)  ร่วมกับ สายพันธุ์อีตา (Eta) ชื่อทางการ B.1.525 , สายพันธุ์ไอโอตา (Iota) ชื่อทางการ B.1.526 , สายพันธุ์แคปปา (Kappa) ชื่อทางการ B.1.617.1 และ สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) ชื่อทางการ C.37
.
ขณะเดียวกัน ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกจัดโควิด-19  4 สายพันธุ์ให้อยู่ในกลุ่มน่ากังวล  Variants of Concern (VOC) คือ อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา ...ดังนั้นในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับ โควิดสายพันธุ์มิว (Mu)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้ความเห็นเกี่ยวกับ โควิดสายพันธุ์มิว ไว้ว่า โควิดสายพันธุ์มิว มีการกลายพันธุ์ที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงของการดื้อต่อวัคซีนโควิด-19 และเน้นว่ายังคงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้น
.
ปัจจุบัน มีการเปิดเผยว่า พบโควิดสายพันธุ์มิว แล้วใน 43 ประเทศทั่วโลก  โดยพบในภูมิภาคอเมริกาใต้และยุโรปเป็นหลัก ส่วนในเอเชียพบในฮ่องกงและญี่ปุ่น แต่ในประเทศเหล่านั้นมีสัดส่วนการระบาดน้อยกว่า 0.1% เท่านั้น

ขณะที่ในไทย ยังไม่พบการระบาดของโควิดสายพันธุ์มิว  แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้ประเทศไทยที่บอบช้ำจากสายพันธุ์เดลต้าอยู่แล้วต้องมารับมือ B.1.621 อีก โดยพื้นที่ที่ใกล้กับไทยแล้วพบการระบาดคือฮ่องกงและญี่ปุ่น

related