"ข่าวปลอม" หรือ Fake News ระบาดหนักทั่วโลก ที่อินเดียก็หนักหนา จน BBC World Service Group เข้าไปทำวิจัยในโครงการ ‘Beyond Fake News’ เพื่อทำความเข้าใจแนวทางส่งต่อข้อมูล จากผู้ใช้งาน Twitter 16,000 โพรไฟล์, 3,200 Facebook Pages และอีก 40 คนที่เป็นผู้ใช้งาน WhatsApp
BBC World Service Group พบว่า "ข่าวปลอม" หรือ Fake News ในอินเดียที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วนั้นส่งผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook Twitter และโดยเฉพาะ WhatsApp
ได้ข่าวมาแล้ว Forward ต่อเลยไหม?
ด้วยพฤติกรรมที่ชาวอินเดียนิยมส่งข้อความต่อโดยไม่ตรวจสอบความถูกต้อง เนื่องจากเชื่อและให้คุณค่ากับข้อความที่มีภาพประกอบ หรือเชื่อตัวบุคคลที่ส่งมาให้ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท จึงไม่ได้พิจารณาว่า ข่าวที่ได้มานั้นควรแชร์ต่อหรือไม่ แม้ข้อความนั้นอาจก่อให้เกิดความรุนแรงก็ตาม
ตัวอย่างที่แพร่สะพัดออกไปในทุกแพลตฟอร์ม คือ ประเด็นที่ยึดโยงอยู่กับแนวคิด ชาตินิยมและการสร้างชาติ เช่น การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็น ลัทธิชาตินิยมฮินดู กับ ลัทธิชาตินิยมอินเดียซึ่งมีความภูมิใจในความก้าวหน้าของประเทศ จนหลายคนให้ความสำคัญกับกระแสข่าวของฝั่งตน มากกว่าการวิเคราะห์กระแสว่า เป็นเรื่องจริงหรือไม่
BBC ยังพบข่าวปลอมที่ทับซ้อนกันบน Twitter และข้อความซัพพอร์ตนายกรัฐมนตรี Narendra Modi โดยข้อความที่ซัพพอร์ตฝ่ายขวามีหลายข้อความที่ส่งเสริมและสอดคล้องกันแบบเป็นเนื้อเป็นหนัง ขณะที่ข้อความซัพพอร์ตฝ่ายซ้ายซึ่งจัดว่าเป็นข่าวปลอมนั้น กระจัดกระจาย ไม่ค่อยมีระเบียบ
Jamie Angus ผู้อำนวยการ BBC World Service Group วิเคราะห์ว่า สื่อส่วนใหญ่มักจะโฟกัสไปที่ ข่าวปลอม แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง ประเด็นชาตินิยมอาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้ หากเผยแพร่แนวคิดการสร้างชาติ ชาตินิยม สะพัดไปทั่วโซเชียลมีเดียโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงหรือความถูกต้องของข้อมูล
ไม่อยากตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม มารับฟังปัญหาและร่วมหาทางแก้ในงานที่ SPRiNG กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 30 สิงหาคมนี้
ข่าวลวงที่ฆ่าคนได้จริง
มีเคส ข่าวปลอม ที่เกิดจากความเข้าใจผิด (misinformation, mislead) ใน WhatsApp ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ชายคนหนึ่งพยายามชวนเด็กคุยในมาร์เก็ตเพลส แต่คนที่เห็นเหตุการณ์มีความกลัวเป็นทุนเดิมและไม่คุ้นหน้าชายคนดังกล่าว จึงเข้าใจไปเองว่า เขาอาจจะพวกลักพาตัวเด็ก จึงส่งข้อความบอกคนอื่นๆ ใน WhatsApp
คนที่ได้รับข้อความนั้นเชื่อสนิทใจ และเริ่มรวมกลุ่มจนเป็นม็อบ ไปจับตัวชายทั้ง 5 คนมาขังไว้ในอาคารสภาของหมู่บ้าน จากนั้นกระหน่ำทุบตี ทำร้ายร่างกายอย่างทารุณ เรียกได้ว่ารุมประชาทัณฑ์จนทั้ง 5 คน ถึงแก่ความตาย
ความจริงแล้ว ทั้ง 5 คนเพิ่งเดินทางมาถึงเมืองนี้ แต่เมื่อมีถูกกล่าวหาโดยไม่รู้ตัว ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ เพราะมีคนบอกต่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง กอปรกับไม่มีใครค้นหาความจริง จากข่าวลือจึงกลายเป็นข่าวปลอมที่ส่งต่อกันจนเกิดข่าวร้ายในท้ายที่สุด
ราวหนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ตำรวจสามารถตามจับผู้ต้องสงสัย (ที่เราเรียกว่า ศาลเตี้ย) ได้จำนวน 23 คน และยังมีอีก 9 คนที่กำลังตามจับเพราะต้องสงสัยว่า มีส่วนร่วมในการก่อม็อบ
หลายเดือนก่อนเกิดเหตุการณ์นี้ อินเดียมีคดีฆาตกรรมจากการกล่าวหาผู้อื่นว่าเป็นพวกลักเด็กหรือพวกค้ามนุษย์รวม 10 ศพ ซึ่งต้นเหตุก็มาจากการส่งต่อข่าวปลอมผ่านโซเชียลมีเดีย และเมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป ไม่มีใครใส่ใจที่จะตรวจสอบความถูกต้อง เหตุสลดใจจึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
คนอินเดียใช้ WhatsApp อย่างไรในช่วงโควิด
มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่บ่งบอกพฤติกรรมการใช้งาน WhatsApp โดยไม่ตระหนักถึงความสำคัญของ "ความจริง" จาก ผลสำรวจพฤติกรรมชาวอินเดียจำนวน 1,137 คน ที่จัดทำโดย Journal of Medical Internet Research (JMIR) ณ เดือน ม.ค. 2021 พบว่า
ที่มา