ศบค. รายงาน ผู้เสียชีวิตโควิด-19 วันนี้ 182 คน กทม.มากสุด 64 คน โดย 1 ในนั้นเป็นทารกอายุ 7 เดือน ซึ่งเป็นชาวเมียนมา
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 35 ของโลก พบผู้ติดเชื้อ 21,157 ราย ซึ่งพอๆกับยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ของฝรั่งเศส อังกฤษ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า จึงเกิดปรากฏการณ์นี้ไปทั่วโลกเช่นเดียวกัน
ผู้ติดเชื้อของไทยวันนี้ แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวัง 16,863 ราย ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชน 3,630 ราย จากเรือนจำ 658 ราย เดินทางจากต่างประเทศ 6 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 928,314 ราย หายป่วยแล้ว 20,984 ราย หายป่วยสะสม 709,646 ราย รักษาตัวอยู่ 210,934 ราย อยู่ในโรงพยาบาล 55,942 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 154,992 ราย อาการหนัก 5,626 ราย ใช้เครื่องช่วยหายใจ 1,161 ราย เสียชีวิต 182 คน เสียชีวิตสะสม 7,734 คน
ฉีดวัคซีนไปแล้ว 23,592,227 โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 สะสม 17,996,826 ราย เข็มที่ 2 สะสม 5,109,476 ราย เข็มที่ 3 ะสม 485,925 ราย ซึ่งมีผลต่อปัจจัยการควบคุมโรคในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้านี้ การฉีดวัคซีนจะช่วยลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตลงได้
โดยข้อมูลจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ระบุว่าทั่วโลกฉีดวัคซีนรวมแล้ว 204,505,679 โดส โดยจีนฉีดได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ประมาณ 1,844.38 ล้านโดส ครอบคลุมประชากร 65.9% โดยใช้วัคซีนของชิโนแวค ชิโนฟาร์ม และคันซิโน , อันดับที่ 2 อินเดีย ฉีดไปแล้ว 536.19 ล้านโด๊ส ครอบคลุมประชากร 19.6% ใช้วัคซีนของแอสตราเซเนกา โควาซิน และสปุตนิกวี , อันดับที่ 3 สหรัฐอเมริกา 355.77 ล้านโดส ครอบคลุมประชากร 55.6 % ใช้วัคซีนของไฟเซอร์ โมเดอนา และ J&J
สำหรับผลการตรวจ atk ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่าวันที่ 15 สิงหาคม มีผู้ติดเชื้อ 803 ราย ถือว่าน้อยลง แต่ยังอยู่ที่ประมาณ 12.27% ก็ต้องติดตามผู้ที่มีผลบวกมาทำการรักษาโดยเร็ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
• "หมอยง" ลั่นไม่เคยบอก "วัคซีนซิโนแวค 3 เข็ม" ป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
• รพ.ภูมิพล ยันไม่มี "วัคซีนไฟเซอร์" กลุ่ม VIP เกิดจากรระบบฐานข้อมูลผิดพลาด
• ไทยร่วมใจ นัดคนโดนเลื่อน ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 18-21ส.ค. นี้!
สำหรับผู้เสียชีวิต 182 ราย เป็นชาย 104 ราย หญิง 78 ราย เป็นคนไทย 176 คน เมียนมา 6 คน อายุระหว่าง 7 เดือน-101 ปี ซึ่งเด็กทารก 7 เดือนเสียชีวิตที่กรุงเทพฯ เป็นชาวเมียนมา และเป็นธาลัสซีเมีย โดยภาพรวมกรุงเทพฯ ยังเสียชีวิตสูงสุดที่ 64 ราย ถัดมาเป็นปริมณฑล 5 จังหวัดรวม 40 ราย ภาคใต้ 12 ราย ภาคอีสาน 27 รายภาคเหนือ 17 ราย และภาคตะวันออก 22 ราย
มาดูการแบ่งอัตราการเสียชีวิตเป็นรายสัปดาห์ จะพบว่าการเสียชีวิตของคนกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 71 จังหวัดจะเห็นว่าอัตราการป่วยตายจากเดิม 1.21% ลงมาล่าสุดอยู่ที่ 0.86% ถือว่าแนวโน้มคงที่คงตัว ตั้งแต่ในช่วงสัปดาห์ที่ 24 เป็นต้นมา
สำหรับผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศ 6 ราย มาจากอิสราเอล 1 ราย เข้าภูเก็ตแซนบ็อกซ์ ในโรงพยาบาลเอกชน อีก 5 ราย มาจากกัมพูชา ผ่านพรมแดนทางบก เข้ารักษาตัวที่ local quarantine สระแก้ว และโรงพยาบาลอรัญประเทศ
ไปดูผู้ติดเชื้อโควิคในประเทศไทย 10 อันดับแรก ยังคงเป็นกรุงเทพฯ 4,324 ราย สมุทรสาคร 1,869 ราย ชลบุรี 1,223 ราย สมุทรปราการ 1,147 ราย นนทบุรี 790 ราย นครราชสีมา 547 ราย ฉะเชิงเทรา 540 ราย สระบุรี 470 ราย นครปฐม 449 ราย และพระนครศรีอยุธยา 420 ราย
ส่วนผลการดำเนินงานของทีมป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุกในชุมชน หรือ ccrt เมื่อวานมีการตรวจแอนติเจน 1,810 ราย พบเชื้อ 222 ราย ส่งเข้า Home isolation ทั้งหมด ซึ่งต้องขอความร่วมมือให้อยู่ในบ้านตลอดเวลา อย่างน้อย 14 วันอย่าเพิ่งออกไปไหน เพราะมีข่าวออกมาว่า หมอโทรไปหา แต่บุคคลนั้นยังอยู่ในร้านสะดวกซื้อ จึงเป็นประเด็นที่พูดถึงใน โซชียล จึงต้องขอความร่วมมือเพราะระบบที่ออกมาแบบนี้ เป็นความรับผิดชอบของตัวเอง และต่อผู้อื่น
สำหรับส่วนพักคอยหรือ community isolation ในพื้นที่กรุงเทพฯ เปิดแล้ว 64 แห่ง มีทั้งหมด 8,322 เตียง ครองเตียงแล้ว 3,796 ราย คงเหลือ 4,526 เตียง และเตรียมเปิดเพิ่มอีก 5 แห่ง จำนวน 868 เตียง สรุปแล้ว 69 แห่ง มีทั้งหมด 9,190 เตียง
สำหรับภูเก็ตแซนบ็อกซ์ที่เปิดมาแล้ว 1 เดือนครึ่ง โดยสถิติระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2564 มีนักท่องเที่ยวสะสม 14,055 คน พบผู้ติดเชื้อ 441 คน เป็นคนในประเทศ 490 คน และมาต่างประเทศ 32 คน มีทั้งหมด 141 เที่ยวบิน โดยได้มีการตรวจสวอปครั้งที่ 2 จำนวน 1,519 คน พบผู้ติดเชื้อ 7 คน ตรวจครั้งที่ 3 จำนวน 6,804 คน พบผู้ติดเชื้อ 3 คน และพบจำนวนคืนของผู้เข้าพัก หรือ room night จำนวน 309,719 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้นักท่องเที่ยวมาจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิสราเอล เยอรมนี ฝรั่งเศส โดยจำนวนคืนพักมากถึง 190,843 คืน รายได้จากค่าที่พัก 282 ล้านบาท ค่าซื้อสินค้าและบริการท่องเที่ยว 194 ล้านบาท ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 175 ล้านบาท ค่าบริการทางการแพทย์และสุขภาพ 124 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 54 ล้านบาท รวมแล้วมีรายได้ทั้งหมด 829 ล้านบาท ค่าเฉลี่ย 50,982 บาทต่อทริป ถือเป็นข่าวดีมากสำหรับการทดลองในช่วง 1 เดือนนี้ ซึ่งหมุนเวียนก่อให้เกิดรายได้ต่อระบบเศรษฐกิจ 1,925 ล้านบาท เป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจโดยรวม 816 ล้านบาท ผลตอบแทนการจ้างงาน 210 ล้านบาท จ้างงานได้ถึง 2,719 คน หมุนกลับมาเป็นภาษีให้รัฐได้ถึง 87 ล้านบาท
ส่วนสถิติวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 14 สิงหาคม มีนักท่องเที่ยว 20,727 คน พบผู้ติดเชื้อรวม 57 คนคิดเป็น 0.25 % ถือว่าผลการติดเชื้อค่อนข้างต่ำเป็นเรื่องที่จะข้อมูลเหล่านี้เข้าที่ประชุม ศบค.ใหญ่ บ่ายวันนี้
ทั้งนี้ 10 อันดับนักท่องเที่ยวภูเก็ตแซนบ็อกซ์ ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา 2,759 คน สหราชอาณาจักร 2,712 คน อิสราเอล 2,250 คนเยอรมนี 1617 คน ฝรั่งเศส 1,607 คน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 775 คน สวิตเซอร์แลนด์ 467 คนเนเธอร์แลนด์ 446 คน ออสเตรเลีย 361 คน และคูเวต 327 คน จุดหมายปลายทางยอดนิยมหลังพำนัก 14คืนในภูเก็ตแล้ว ก็คือกรุงเทพฯ สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ และชลบุรี เฉลี่ยวันพัก 11.14 วัน
ขณะที่ผลสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 88 คนพบว่า พอใจกับคุณภาพของรถรับส่ง ระหว่างโรงแรมกับสนามบิน ภาพรวมของการให้บริการที่สนามบิน การจอดรถรับส่ง การจองที่พักและการตรวจคัดกรองเมื่อเดินทางมาถึง โดยมีถึง 35% ที่ต้องการเดินทางต่อไปยังจังหวัดอื่นในประเทศไทย เช่น กรุงเทพฯ และเชียงใหม่
โฆษก ศบค. กล่าวอีกว่า การประชุม ศบค. ชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานมีเรื่องสำคัญ 4 เรื่องคือ 1.แผนการให้บริการวัคซีน 2.การช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากต่างประเทศ กรณีของการแลกวัคซีนระหว่างรัฐบาลภูฏานกับรัฐบาลไทย จาก Mono Mono Corona แอนติบอดี้ซึ่งเป็นยารักษา covid ชนิดหนึ่งกระทรวงสาธารณสุข Germany 3.การประเมินผลการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโควิด 4.การเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยว ในจังหวัดภูเก็ตเชื่อมต่อกับจังหวัดนำร่องอื่นๆ หรือ 7 + 7 โดยหลังจบการประชุมจะแถลงให้ทราบอีกครั้ง