"อัยการ" ชื่อดัง ร่ายยาว "ละครที่ดี" เป็นแบบไหน ชี้ไม่เข้าใจ "คำขอโทษ"หายไปไหน สุดงงนักกฎหมายบางคน ให้ความเห็นว่าเป็นแค่ละคร แถมยังเอาเรื่องอื่นๆ มาเกี่ยวโยงไปหมด
จากกรณี การนำเสนอละคร "ให้รักพิพากษา" ซึ่งเป็นละครของทางช่อง 3 ว่า ได้มีประเด็นเนื้อหาในละครเกี่ยวกับพนักงานอัยการ แต่เป็นการนำเสนอบิดเบือนจากข้อเท็จจริง มีการเสนอบทให้พนักงานอัยการไปไล่จีบผู้หญิง พร้อมเสนอให้มาเป็นพนักงานอัยการได้ ซึ่งข้อเท็จจริงทำไม่ได้ตามระเบียบกฎหมาย เนื้อหาในละครเรื่องนี้มีการบิดเบือนหลายอย่าง ซึ่งล่าสุด “อัยการ” ชื่อดัง ได้ออกมาเคลื่อนไหว เขียนบทความอธิบายอีกครั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• เดือด! อัยการ แย้ง ละครดัง "ให้รักพิพากษา" บิดเบือนข้อเท็จจริงหลายอย่าง
• ทนายนิด้า แจงดราม่าละคร "ให้รักพิพากษา" หลังอัยการตำหนิละครบิดเบือน
• ประมวลภาพสุดอบอุ่น คนบันเทิง ส่งมอบความรักวันแม่แห่งชาติ 2654
หลังจากที่ "นายอดิศร ไชยคุปต์" รองอธิบดีอัยการ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ส่งอีเมล์ไปยังผู้จัดละคร "ให้รักพิพากษา" และช่อง 3 จี้ให้มีการปรับเนื้อหาของละครไปก่อนหน้านี้ ล่าสุด ได้ลงมือเขียนบทความอธิบายว่าทำไมถึงต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องความถูกต้อง
โดยระบุหัวข้อว่า “ละครโทรทัศน์กับสังคมไทย" ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
“ละครโทรทัศน์เป็นมากกว่าความบันเทิง เพราะเป็นเบ้าหลอมความคิดให้กับคนคู ละครไม่ได้ทำหน้าที่เพียงความบันเทิง แต่สามารถสอดแทรกค่านิยมวัฒนธรรมที่ดี ความรู้ที่ถูกต้องให้กับคนดูได้ เช่น การกราบไหว้ การทำขนมอาหาร ไทย เป็นต้น
บทละครมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของคน เพราะการเล่าเรื่องสามารถเข้าไปอยู่ในใจคน และสามารถสร้างความคิดของคนได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรมีละครดี ๆ และบทละครที่ดีนอกจากให้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังควรคำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคม หรือสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม อิทธิพลละคร โทรทัศน์มีบทบาทสำคัญในการสะท้อนความเป็นไปในสังคมและเป็นผู้นำด้านความคิดให้กับประชาชน บทละคร จึงควรเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม สื่อโทรทัศน์จึงมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในการควบคุมเนื้อหาสาระ และมาตรฐานทางจริยธรรมค้านความถูกต้องเที่ยงตรง
เมื่อละครเรื่อง "ให้รักพิพากษา" บทตัวละคร ที่แสดงเป็นพนักงานอัยการ พบว่า มีการส่อถึงการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการที่ไม่ชอบ ขัดต่อความเป็นจริง และไม่ตรงต่อหลักการดำเนินคคีของพนักงานอัยการที่ต้องมุ่งค้นหาความจริงให้ปรากฏในศาลเพื่อความยุติธรรม พนักงานอัยการ ไม่ใช่คู่แพ้ชนะกับผู้ต้องหาและจำเลย และการเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานอัยการ ต้องมีการสอบเข้าโดยมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับสอบเข้าผู้พิพากษา อันเป็นบทบัญญัติตามกฎหมาย
บทละครดังกล่าวทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในวิชาชีพพนักงานอัยการ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพนักงานอัยการ และองค์กรอัยการซึ่งเป็นองค์กรสำคัญหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม และผลร้ายจะทำให้ประชาชนขาคความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุดิธรรม ซึ่งควรจะต้องช่วยกันดำรงไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ไม่เข้าใจเลยว่าวัฒนธรรมไทยในการกล่าวคำขอโทษหายไปไหน ซ้ำร้ายนักกฎหมายบางคนกลับให้ความเห็นว่าเป็นเพียงละคร และนำเรื่องอื่นๆ มาเกี่ยวโยงไปหมด ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย
14 สิงหาคม 2564