มีการแชร์กันในโลกออนไลน์ของประเทศสเปนว่า การสวมใส่หน้ากากอนามัยเป็นการสูดดมของเสียหรือคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกจากปอดกลับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุข ของสเปน ให้ข้อมูลว่าไม่เป็นความจริง อย่าแชร์ต่อ!
จริงๆ แล้วหน้ากากอนามัยสามารถกรองได้แต่อนุภาคของเชื้อโรค ไม่สามารถกรองมวลที่มีขนากเล็ก เช่น แก๊สต่างๆ ได้ ดังนั้นการสวมหน้ากากอนามัยจึงไม่ทำให้ผู้สวมใส่สูดดมคาร์บอนไดออกไซด์ของตัวเอง ซึ่งศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Complutense University of Madrid มาเรีย เอลิซ่า คัลเล ได้อธิบายว่า การสวมหน้ากากอนามัยไม่ทำให้เราสูดดมเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่ร่างกาย เนื่องจากหน้ากากอนามัยถูกออกแบบมาเพื่อกรองอนุภาคของเชื้อโรค แต่ไม่สามารถกรองมวลที่มีขนาดเล็กเช่นแก๊สได้ ส่วนที่เป็นทิชชูของหน้ากากจะปล่อยให้แก๊สผ่านเข้าออกได้ ซึ่งออกซิเจนที่มนุษย์หายใจเข้าและคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์เราหายใจออก ล้วนเป็นแก๊ส หากหน้ากากกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ในหน้ากาก ศัลยแพทย์ที่ต้องสวมหน้ากากวันละหลายชั่วโมงคงจะต้องเสียชีวิตแน่นอน
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ข่าวปลอม! คณบดีศิริราชแนะตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการกลั้นหายใจ
ข่าวปลอม! แพทย์ทั่วโลกเตือน ห้ามรับวัคซีนโควิด-19 เพราะอันตรายต่อร่างกาย
Fake News : อย่าแชร์ ข่าวปลอม!!! แอสไพรินบดโรยแผล ช่วยให้แผลหาย
ส่วนคำกล่าวอ้างที่ว่าการสวมหน้ากากอนามัยนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา แบคทีเรีย ปรสิต และไวรัส ที่ทำให้ป่วยเป็นปอดอักเสบนั้นก็ไม่เป็นความจริง!!! มิเกล บาร์รูโก แฟร์แรโร ผู้อำนวยการศูนย์โรคปอด โรงพยาบาล Clínico de Salamanca ยืนยันว่า การสวมหน้ากากอย่างถูกวิธีไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรค เพื่อเลี่ยงการติดเชื้อทางอ้อม ผู้สวมหน้ากากอนามัยควรหลีกเลี่ยงการเอามือไปสัมผัสที่ตัวกรองของหน้ากาก ไม่ควรสวมหน้ากากนานเกิน 6- 8 ชั่วโมง และควรสวมหน้ากากให้พอดี ไม่ทำให้รู้สึกอึกอัดหรือส่งผลต่อการหายใจ ทำให้หายใจลำบาก
ขอบคุณข้อมูลจาก : ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย