ระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ได้โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คส่วนตัว แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ มาตรการจำกัดเสรีภาพประชาชนและสื่อมวลชนตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีข้อความว่า
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
3 ประโยค เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมาย ปม คนบันเทิง - ดารา Call Out
เมื่อรัฐกำลังราดน้ำมันลงบนกองไฟ เพราะคนรอบข้าง หรือเพราะข้อมูลที่ผิด
“ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปอท. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ศปก.ศบค. ร่วมปรึกษาหารือกันอย่างเร่งด่วน ในการนำเอาข้อกำหนดข้อที่ 11 จากประกาศฉบับที่ 27 ของ พรก.ฉุกเฉิน ว่าด้วยเรื่องการห้ามบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร มาเป็นแนวปฏิบัติของมาตรการที่ชัดเจน”
เนื้อหาแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ ในการย้ำเรื่องการจัดการ #ข่าวปลอม เป็นสัญญาณที่ดีในการให้ความสำคัญเรื่องนี้
แต่การยกประกาศข้อ11 ของพรก.ฉุกเฉินฉบับที่27 เรารู้กันหรือไม่ว่า เนื้อหาข้อนี้คืออะไร???
มันไม่ใช่แค่เรื่องข่าวปลอม!
แต่มันอาจรวมถึงเรื่องใดที่ สื่อมวลชน เพจ ยูทูปเบอร์ หรือประชาชนทั่วไป สื่อสารกันในช่องทางต่างๆ ด้วยเนื้อหา….
#ที่อาจส่งผลให้ประชาชนตระหนกตกใจ!!!
ซึ่งมันครอบจักรวาลมากว่า สื่อสารเนื้อหาแบบไหนได้ไม่ได้? และที่ว่าตกใจ ใครตกใจ? คือถ้าผมสื่อสารการในโซเชียลมีเดียซึ่งคนในกลุ่มที่อ่านไม่มีใครตกใจ แต่พี่พี่อ่านแล้วตกใจกันเอง แบบนี้ผมผิดมั้ย?
ญาติแชร์เฟส ส่งไลน์มาเตือนไม่ให้ไปตลาด เพราะมีคนติดโควิด ผิดมั้ย?
เสนอข่าวคนตายในบ้านไม่มีใครดูแลทุกวัน ผิดมั้ย? เพราะทำให้คนตื่นตกใจ
ข่าวซื้อวัคซีน แล้วกระจายไม่ดี ต้องขอตรวจสอบ ผิดมั้ย?
หรือการที่มีบางหน่วยงานทำจดหมายหลุดขอวัคซีน พอโดนสื่อรายงาน ก็บอกว่าปลอม พอตรวจสอบลึกอีก ก็บอกว่าจริงแต่ยังไม่เป็นทางการ แบบนี้ก็ข่าวปลอมหรือไม่?
สถานการณ์นี้ มีกรณีศึกษาเกิดขึ้นแล้ว อย่างที่มีคนไปร้องตำรวจเรื่องดารา Call out ว่าผิดพรก.ฉบับนี้… และตำรวจก็รับเรื่องต่อได้เลย
ในฐานะสื่อ ถ้าเกิดเราทำข่าวตรวจสอบการทำงานของบางคนว่าผิด แต่เขาออกมาแถลงข่าวแล้วแถลงว่าไม่ผิด แค่บกพร่องโดยสุจริต แบบนี้เราก็ผิดใช่มั้ย เป็นข่าวปลอมใช่มั้ย???
เรื่องนี้ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนไทย ได้ออกแถลงการณ์ขอคำชี้แจง ในการลงรายละเอียดพรก.ฉุกเฉิน ฉบับ27 ข้อ11 ไปแล้ว
ตอนออกแถลงการณ์ก็ไม่มีคำตอบจากรัฐ…
ต่อมามีการเรียก สมาคมสื่อ ผู้บริหารสื่อ และผู้ประกาศข่าว ไปประชุมร่วมกับศบค. เพื่ออธิบายสิ่งที่จะเกิดขึ้น (ซึ่งสื่อคุยกับ #ศบค ตลอดช่วงโควิดนึ้ไม่ต่ำกว่า5ครั้ง ไม่รวมกลุ่มไลน์ที่เรามีคำถามและนำเสนอกันทุกวัน เพื่อสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น แต่ไม่ได้รับคำตอบ)
สมาคมสื่อก็ทวงถามคำตอบจากคำถามที่เราแถลงไป แต่ก็ได้ทราบแค่ว่ารับเรื่องแล้ว และเสนอขึ้นไปเพื่อพิจารณา
เรื่องก็เงียบหายไป…..ไม่มีคำตอบใด
จนเมื่อวานนี้ การโพสต์ของนายกรัฐมนตรี(ตามข้อมูลข้างบน) คือ #คำตอบชัดเจน ที่จะเพิกเฉยต่อคำถาม และเชื่อว่าการดำเนินการแบบนี้คือถูกแล้ว
ตกเย็นตำรวจออกจดหมายอ้างคำสั่งนายก พร้อมดำเนินการทันทีกับทุกคนทันที
#สาระสำคัญ คือ สื่อเองก็รับไม่ได้กับ #ข่าวปลอม อยู่แล้ว แต่การตีเหมารวมตามพรก.ฉุกเฉิน มันกว้างจนกลายเป็นการปิดหูปิดตาการสื่อสาร ที่ไม่ใช่เฉพาะสื่อ แต่คือประชาชนด้วย #เสรีภาพสื่อเสรีภาพประชาชน
ขอทิ้งท้ายด้วยคำกล่าวจาก ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ สัมภาษณ์ในรายการ #สุดกับหมาแก่ https://youtu.be/hWDYOHS7rpo
“ตัดสินใจเล่นการเมือง ต้องอ่านการเมืองให้เป็น อย่าเชื่อคนแวดล้อม”
ระวี ตะวันธรงค์
นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
28/7/64
ซึ่งมองว่าเป็นการจำกัดเสรีภาพในการนำเสนอสื่อมากเกินไป จึงอยากให้รัฐบาลตระหนักและเข้าใจในการนำเสนอสื่อเพื่อประชาชน