svasdssvasds

สงสัยไหม ทำไมผลศึกษาประสิทธิภาพ “ซิโนแวค” ในไทย สูงกว่าประเทศอื่น ?

สงสัยไหม ทำไมผลศึกษาประสิทธิภาพ “ซิโนแวค” ในไทย สูงกว่าประเทศอื่น ?

The Researcher เผยสาเหตุที่ประสิทธิภาพ “ซิโนแวค” ในไทย สูงกว่าประเทศอื่น เพราะใช้วิธีคำนวณที่แตกต่างกัน โดยไทยใช้วิธีคำนวณแบบ Odd Ratio ขณะที่ต่างประเทศใช้วิธีคำนวณแบบ Hazard Ratio เป็นหลัก

The Researcher ได้เผยแพร่ข้อมูล ปัจจัยที่ทำให้รายงานประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวคในไทยสูงกว่าประเทศอื่น (เพราะนิยามประสิทธิภาพของเราไม่เหมือนกัน) ดังนี้

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวเปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนในประเทศไทย พบ ป้องกันโควิดได้ 71-90%

ที่น่าสนใจคือประสิทธิภาพในช่วงเดือนมิถุนายนกลับสูงกว่าเดือนพฤษภาคม ทั้งที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว และเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการศึกษาในประเทศชิลีที่ผ่านการตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine

แต่หากสังเกตดูดี ๆ จะพบว่าปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขประสิทธิภาพเป็นเช่นนั้น นอกจากจะจำนวนกลุ่มตัวอย่างแล้ว ยังมีตัวย่อ "OR" ที่สาธารณสุขไทยใช้บอกวิธีการคำนวณประสิทธิภาพ ซึ่งนี่ย่อมาจาก Odd Ratio เป็นวิธีการคำนวณประสิทธิภาพที่แตกต่างกับในต่างประเทศที่ใช้ Hazard Ratio เป็นหลัก

นี่ยังไม่พูดถึงตัวเลขความเชื่อมัน 95% ค่อนข้างกว้าง มาดูว่าวิธีการคำนวณประสิทธิภาพ 2 อย่างนี้ ทำให้ได้ตัวเลขไม่เท่ากันอย่างไร

ซิโนแวค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

1. ประสิทธิภาพการป้องกันการป่วยหลังได้รับวัคซีนครบ 2 โดส

ชิลี 63.7% (62.8 - 64.6)

ไทย (บุคลากรการแพทย์) 75% (65 - 82)

ไทย (ภูเก็ต) 90.7% (32.3 - 98.7)

2. จำนวนกลุ่มตัวอย่าง

ชิลี ประชากรในประเทศ 10 ล้านคน

ไทย (บุคลากรการแพทย์) 7 แสนคน

ไทย (ภูเก็ต) ผู้สัมผัสเสี่ยง 1.5 พันคน

3.การคำนวณประสิทธิภาพการป้องกันโรค

ไทย ใช้วิธีคำนวณที่เรียกว่า Odd Ratio คือ กลุ่มฉีดวัคซีนมีความน่าจะเป็นที่จะติดเชื้อน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคชีนเท่าไร ในช่วงเวลาหนึ่ง กลุ่มไม่ได้รับวัคซีนอาจมีเวลาให้ติดเชื้อไม่เท่ากลุ่มได้รับวัคซีน

ชิลี ใช้วิธีคำนวณที่เรียกว่า Hazard Ratio ใช้ข้อมูลว่าคนไม่ได้ฉีดวัคซีนกี่วันถึงพบเชื้อ มาคำนวณร่วมด้วย

ซึ่งถ้าชิลีใช้วิธีคำนวณแบบไทย ซิโนแวคจะมีประสิทธิภาพสูงถึง 91.6 %

4. การคำนวณปรับชดเชยความแปรปรวนในประชากร

ไทย ไม่รายงานจำแนก อายุ เพศ โรคประจำตัว ที่อยู่ ของกลุ่มประชากร

ชิลี มีการรายงาน อายุ เพศ โรคประจำตัว รายได้ ที่อยู่ ในกลุ่มตัวอย่าง และคำนวณปรับชดเชยความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เท่ากัน ภายในกลุ่มประชากร

ซิโนแวค

ที่มา 3 ปัจจัยที่ทำให้รายงานประสิทธิภาพวัคซีนในไทยสูงกว่าประเทศอื่น (เพราะนิยามประสิทธิภาพของเราไม่เหมือนกัน)

ภาพโดย MasterTux จาก Pixabay 

related