ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เสนอ ศบค.ปรับวิธีการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิต ใหม่ เพราะตัวเลขแบบเดิมทำให้ทุกคนตื่นกลัว แนะให้แยกรายงานคนไข้ใหม่ที่ฉีดวัคซีนแล้วดพิ่ม พร้อมรายงานอัตราส่วนการตรวจพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Nithi Mahanonda ระบุว่า วันนี้เป็นวันแรกที่ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อใหม่รายวันเกินหมื่นราย ตัวเลขนี้ทำให้ทุกคนรวมมีอารมณ์ตื่นเต้นและกลัวไป (การตัดสินใจใดๆบนพื้นฐานความกลัวที่เป็น bias ชนิดหนึ่งจะไม่ค่อยได้ผลดีนัก) แต่อยากเสนอ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กับทีมงานกระทรวงสาธารณสุขว่าน่าจะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนวิธีการนำเสนอเสียใหม่ เพื่อให้เกิดไม่เพียงอารมณ์แต่เกิดปัญญากับคนที่ได้รับทราบข้อมูล โดยอาจเริ่มตั้งแต่การระบาดระลอกใหม่ (เริ่มเดือน มีนาคม 64) ด้วยก็ได้หรือไปข้างหน้านับแต่พรุ่งนี้คือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
“หมอโอภาส” ชี้จำเป็นจำกัดการเดินทาง หลังตัวเลขป่วยโควิด19 ตายพุ่ง
ด่วน! ศบค. จ่อปรับมาตรการคุมโควิด19 เตรียมสั่งปิดกิจการมากขึ้น
"รพ.รามาธิบดี" คนไข้ล้น ประกาศ บุคลากรฯติดโควิด19 กว่า 300 คน
1) แยกรายงานว่าคนไข้ใหม่ที่เกิดนั้น ฉีดวัคซีนแล้วกี่คน (ครบสองเข็มไปแล้วสองอาทิตย์ หรือหนึ่งเข็ม) วัคซีนอะไร และไม่ได้ฉีดกี่คน และคนที่รับวัคซีนครบ สองเข็มนานเกิน หก(หรือจะเอาสาม หรือเก้า)เดือนก็ได้มีกี่คน
2) ในผู้เสียชีวิตมีฉีดวัคซีนเท่าไหร่ครบสองเข็มไหม วัคซีนอะไร และไม่ได้วัคซีนกี่คน
3) ถ้าอยากทราบข้อมูลเพิ่มก็รายงานจำนวนคนไข้ในไอซียู คนไข้ใส่ท่อช่วยหายใจกี่ราย ฉีดวัคซีนครบไหม วัคซีนอะไร หรือไม่ได้ฉีด
4) เพื่อเพิ่มให้มีความรู้มากขึ้น รายงานอัตราส่วนการตรวจพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ เทียบไปด้วยได้เลยยิ่งดี เพราะอนาคตนอกจาก เดลตา จะมี ธีต้า เอ็บซิลอนและอื่นๆ ถึงเวลานั้น เราจะได้มีข้อมูลตัดสินใจได้ทันทีในหลายๆเรื่อง บนพื้นฐานของตัวเลขที่เป็น Fact
เมื่อประกาศตัวเลขแบบที่เสนอนี้ ทุกคนจะได้ไม่เพียงเกิดอารมณ์ (ที่น่าจะลดลง) แต่จะเกิดปัญญาความรู้ไปพร้อมๆกัน การถก(เถียง)ต่างๆก็จะจบได้ที่ปัญญาไม่ได้จบด้วยอารมณ์ และเราจะได้ใช้ปรับแผน วางแผน พาประเทศเราไปให้รอดด้วยกัน