เคลียร์ชัด! ที่มาของการออกมาตรการ งดสนทนา ขณะเดินทางบนบริการขนส่งสาธารณะ หลังจากกรมการขนส่ง ขอความร่วมมืองดสนทนา ขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะทางราง หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส, รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที และรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์
จากกรณีที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ออกประกาศเรื่อง มาตรการพึงปฏิบัติการจัดการระบบขนส่งทางราง ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 ฉบับที่ 10
เพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางรางทุกระบบถือปฏิบัติ โดยหนึ่งในมาตรการที่ ขร. ได้ประกาศไว้ใน ข้อ 5. กำกับดูแล ตรวจติดตาม และขอความร่วมมือให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ได้แก่
ข้อกำหนดดังกล่าวได้สร้างความสงสัยกับผู้ที่ใช้บริการขนส่ง และต้องการทราบสาเหตุหรือที่มาของการออกกฎข้อห้ามงดพูดคุยขณะเดินทาง ว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ถึงได้ออกมาตรการนี้
ขร. แจงว่า ข้อกำหนดดังกล่าวที่ระบุว่างดพูดคุยขณะเดินทาง ไม่ได้เพิ่งออกกำหนดเป็นครั้งแรก แต่ถูกระบุไว้เพื่อรับรองการเดินทางที่เพิ่มขึ้นทีหลัง ตามวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2563
ซึ่งมาตรการดังกล่าวผ่านการพิจารณาเห็นชอบแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 63 โดย ศบค. ข้อกำหนดดังกล่าวระบุว่า 'งดการพูดคุยและต้องสวมหน้ากากอนามัย ระหว่างการเดินทาง ควบคู่กับการป้องกันโรคอื่น'
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขอชี้แจงว่ามาตรการดังกล่าว ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขมารองรับ
จากการประชุมหารือระหว่าง ขร., กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่, รพ.จุฬาลงกรณ์ และหน่วยงานที่ให้บริการขนส่งทางรางทุกระบบ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 ได้มี 2 หน่วยงานเห็นตรงกันว่า ควรมีมาตรการงดพูดคุยขณะอยู่บนขบวนรถและตลอดเวลาที่ใช้บริการ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของสารคัดหลั่ง และการแพร่เชื้อโรคทางฝอยละอองน้ำลาย
การออกมาตรการใดๆก็ตามทาง ขร. คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ แม้บางมาตรการอาจทำให้ผู้โดยสารได้รับความไม่สะดวกมากนัก จึงขอความร่วมมือจากผู้โดยสารเพื่อให้ผู้โดยสารทุกคนเดินทางด้วยระบบขนส่งทางรางอย่างปลอดภัยห่างไกลโควิด-19