svasdssvasds

สธ. เผย มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด 880 ราย ยังไม่ได้รับวัคซีน 173 ราย

สธ. เผย มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด 880 ราย ยังไม่ได้รับวัคซีน 173 ราย

กระทรวงสาธารณสุข เผยมีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิดทั้งหมด 880 คน โดยในจำนวนนี้ยังมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 173 ราย เตรียมเสนอ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ หลังเห็นชอบให้ฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้บุคลกรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด

 นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุถึงความคืบหน้า วัคซีนบูสเตอร์โดส ว่า กระทรวงสาธารณสุข ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตจากกรณีที่มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด จนเสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว พบว่า พยาบาลรายนี้ ฉีดวัคซีนซิโนแวค เข็มแรก เดือนเมษายน จากนั้นฉีดเข็มที่ 2 ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตามการปฏิบัติงานที่แผนกดูแลผู้ป่วย covid-19 อย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนมิถุนายนก็มีโอกาสได้รับเชื้อจากการปฏิบัติงาน รวมถึงมีประวัติเสี่ยงคือ มีภาวะอ้วนก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง 

 ส่วนข้อกังวลที่ว่า ฉีดวัคซีนโควิด-19 2 เข็มเพียงพอหรือไม่ ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ 2558 เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ก.ค ที่ผ่านมา โดยมีทั้ง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยา ไวรัสวิทยาด้านโรคติดเชื้อ ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า การฉีดวัคซีนโควิด19 ซิโนแวค จำนวน 2 เข็ม มีข้อมูลว่าสับสนว่า ภูมิคุ้มกันลดลง หากฉีดวัคซีนไประยะหนึ่ง จึงเป็นที่มาที่ได้มีการเสนอให้ฉีดวัคซีนกระตุ้น หรือการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ด้านหน้าที่มีความเสี่ยง มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จะเป็นการฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนที่แตกต่างจากชนิดแรกอาจจะเป็นชนิดไวรัลเวคเตอร์ ของ แอสตร้าเซนาก้า หรือ วัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์ที่จะได้รับบริจาคมาเร็วๆนี้ ซึ่งการพิจารณาฉีดวัคซีนเข็ม 3 จะนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในวันจันทร์ที่12 ก.ค นี้ 

 สำหรับรอบการระบาดโควิด เดือนเมษายน จนถึงปัจจุบัน มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด ทั้งหมด 880 ราย ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ผู้หญิงร้อยละ 54 อันดับ 1 เป็นพยาบาล/ผู้ช่วยพยาบาล รองลงมาเป็นวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำงาน 20-29 ปี รองลงมา 30-39 ปี และลดหลั่นตามอายุที่มากขึ้น 

สธ. เผย มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด 880 ราย ยังไม่ได้รับวัคซีน 173 ราย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ศบค. เตรียมฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน 

• สธ. ปรับ 4 มาตรการควบคุมโควิด จัดวัคซีนบูสเตอร์โดสให้บุคลากรการแพทย์

• สาธิต ตอบแล้ว ปมขอฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้บุคลากรทางการแพทย์

 ส่วนใหญ่ติดเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วมากกว่าร้อยละ 97 ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา จากฐานข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิค 19 ที่ได้รับการรายงานเข้ามา 

 เป้าหมายการฉีดวัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน มีการติดเชื้อ 880 ราย ไม่มีประวัติรับวัคซีน 173 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 19.7 โดยพบว่าเสียชีวิต 7 ราย ในจำนวนนี้ ไม่ได้รับวัคซีนโควิด 5 ราย ได้รับวัคซีนซิโนแวคไม่ครบ จำนวน 1 ราย ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 1 ราย คือ น้องพยาบาลที่เป็นข่าวรายล่าสุด 

ซึ่งภูมิคุ้มกันจะขึ้น หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แล้ว 14 วัน ข้อมูล อัตราการติดเชื้อและโอกาสการเสียชีวิต หากได้รับวัคซีนครบโอกาสติดเชื้อ และเสียชีวิตน้อยกว่าคนที่ไม่ได้รับวัคซีน

สธ. เผย มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด 880 ราย ยังไม่ได้รับวัคซีน 173 ราย

 โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับวัคซีนครบตั้งแต่เดือน มีนาคม เมษายน โดยมีส่วนน้อยที่ได้รับหลังจากนั้น เมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิต 19 ตั้งแต่กลางเดือนเมษายนเป็นต้นมา จะอยู่ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว โดยจะเห็นว่ามีบุคลากรทางการแพทย์ 1 รายที่เป็นข่าว เสียชีวิตหลังจากรับวัคซีนครบ 2 เข็ม 

 ส่วนกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนาก้า 1 เข็ม พบว่าส่วนใหญ่ มีอาการป่วยน้อย ป่วยปานกลาง 

 สำหรับ ผู้ที่รับวัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม มี 22,062 ราย มีการรายงานป่วยติดเชื้อในกลุ่มนี้ ประมาณ 68 คน คิดเป็น 308 ต่อ 1 แสนราย 

 คนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม 67,7348 ราย มีการรายงานป่วยติดเชื้อ 618 ราย คิดเป็น 91 ต่อ 1แสน ราย 

 ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนาก้า ครบ 1 เข็มพบว่า มีอาการป่วยติดเชื้อ 45 คน คิดเป็น 67 ต่อ 1 แสนราย ส่วนรับวัคซีนแอสตร้าเซนาก้า ครบ 2 เข็มอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม

 นพ.โสภณ ยืนยันว่า คนที่ฉีดวัคซีนมีโอกาสป่วยรุนแรงน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ไวรัสในช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกรกฎาคมจากเดิมที่เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟ่า  แต่ในการระบาดช่วงหลังมานี้ เป็นสายพันธุ์เดลต้ามากขึ้นทำให้การป้องกัน โดยวัคซีนซิโนแวค อาจจะไม่ได้ผลดีเท่ากับเชื้อเดิม 

 ดังนั้นผู้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มไปแล้ว โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรด้านหน้าที่ต้องทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยโควิด คณะกรรมการวิชาการ มีความเห็นว่าวัคควรได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 โดยได้เตรียม วัคซีนแอสตร้าเซนาก้า ซึ่งสามารถดำเนินการได้เลยในสัปดาห์หน้า ในการฉีดเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ส่วนท่านที่ประสงค์ที่จะฉีดวัคซีนชนิด mRNA อาจต้องรอสักระยะหนึ่ง

 อย่างไรก็ตาม ถือว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงของตัวโรคที่เกิดจากไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แนวทางการให้วัคซีนก็จะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโรค  ซึ่งไวรัสตัวใหม่ๆมีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น ทำให้คำแนะนำในการรับวัคซีนต้องถูกเปลี่ยนไปด้วย เพื่อให้รับมือกับตัวเชื้อ โควิดได้ดีขึ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่ได้รับวัคซีนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

 เนื่องจากการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 จะต้องมีการเตรียมการ เช่นการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติม ระบบการส่งวัคซีนไปยังหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลที่จะดำเนินการฉีด 

 ทั้งนี้ ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีน 2 เข็ม ส่วนหนึ่งยังสามารถป้องกันโรคได้แต่เพื่อความมั่นใจและเพิ่มความปลอดภัย ทางคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติที่จะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้เช้า คาดว่าจะมีมติเห็นชอบ หากเห็นชอบก็จะสามารถดำเนินการในวันพรุ่งนี้ได้เลย 

 โดยวัคซีนที่จะมีการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติม ต้องสำรวจข้อมูลก่อน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการส่งแบบสำรวจออกไป  ในส่วน บุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ด่านหน้า โดยกลุ่มนี้จะได้รับความสำคัญเป็นอันดับที่ 1  จากนั้นก็จะเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ส่วนอื่น จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ก็จะดำเนินการส่งวัคซีนไปให้เพื่อจะได้เป็นการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 

 สำหรับประเทศไทย จะมีการเก็บข้อมูล หลังการฉีดวัคซีนเข็ม 3  ด้วยการตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันหลังรับการฉีดวัคซีนเพื่อเป็นข้อมูล และเป็นประโยชน์ในการให้วัคซีนบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มอื่นๆในอนาคต เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์โรค และตัวเชื้อกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

related