เปิดข้อมูลการบันทึกการประชุมจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ โดยคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ค้านฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คล้ายยอมรับ วัคซีนซิโนแวคไร้ประสิทธิภาพ
ตอนนี้ประเทศไทยกำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้า ที่ส่งผลให้ยอดติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดคำถามกับวัคซีนที่ประเทศใช้อยู่อย่างวัคซีนซิโนแวค และวัคซีนแอสตราเซนเนก้า ว่าจะเพียงพอต่อการป้องกันหรือไม่ ความวิตกกังวลทำให้หลายฝ่ายออกมาเรียกร้องถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่มีอยู่ อย่างวัคซีนไฟเซอร์ และวัคซีนโมเดอร์นา ที่ใช้รูปแบบ mRNA ในการผลิต สิ่งที่น่าจับตามองคือความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนทั้งสอง ทำให้ภาครัฐถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าไม่เตรียมตัวและแทงม้าไม่กี่ตัว อย่างวัคซีนแอสตราเซนเนก้า และวัคซีนซิโนแวค
ล่าสุด เอกสารบันทึกการประชุมของคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ซึ่งประกอบไปด้วย คณะกรรมการวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 , คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และคณะทำงานวิชาการด้านบริหารจัดการและศึกษาการให้บริการวัคซีน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา ได้ถูกเปิดเผย ถึงวาระในประชุม พิจารณาแนวทางการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในไทย
สาระสำคัญของการพิจารณา ประสิทธิภาพป้องกันในกลุ่มอายุน้อยที่มากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ รวมไปถึงผลข้างเคียงส่วนมากที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ชาย
ทางด้านข้อเสนอ คาดว่าจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรกกว่า 1.5 ล้านโดสภายในเดือนกรกฎาคม และอีก 20 ล้านโดส ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ โดยข้อมูลในหน้า 3 ของเอกสารสรุปการประชุม ระบุถึงกลุ่มที่จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ได้แก่
1) บุคคลอายุ 12-18 ปี
2) กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ได้รับวัคซีน (ผู้สูงวัย/โรคเรื้อรัง/ผู้หญิงตั้งครรถ์)
และ 3) บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (เข็ม 3)
นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อเสนอแนวเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ แบ่งเป็น
ทางเลือก 1
กลุ่มเป้าหมาย อายุ 12-18 ปี ในพื้นที่ความเสี่ยงสูง อาทิ กทม. ปริมณฑล (นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร) 4 จังหวัดชายแดนใต้ (สงขลา, นราธิวาส, ยะลา, ปัตตานี) และเมืองเศรษฐกิจอย่าง ภูเก็ต พังงา และสมุย ได้รับการฉีดวัคซีนที่เร็วขึ้น แต่ยังมีข้อกังวลต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocarditis)
ทางเลือก 2
กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เช่น ผู้สูงอายุ, สตรีตั้งครรถ์, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดโควิดเดลต้า โดยข้อดีสำหรับทางเลือกนี้คือ สร้างภูมิคุ้มกันได้เร็ว, ลดอาการป่วยรุนแรง และเพิ่มความครอบคลุม แม้จะมีข้อกังวลว่ากลุ่มเป้าหมายจะเลือกวัคซีน
ทางเลือก 3
บุคลากรทางแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (เข็ม 3) ในสถานพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโควิดทั่วประเทศ โดยที่ให้ฉีดกลุ่มนี้เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันในการรับมือกับโควิดกลายพันธุ์ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์แนวหน้า ข้อกังวล จะไม่เป็นการเพิ่มความครอบคลุมบุคคลที่ได้รับวัคซีนมากขึ้น
นอกจากนี้ ข้อมูลในข้อที่ 10 ของข้อความเห็น มีหลายเสียงที่ให้มุมมองต่อการให้วัคซีนไฟเซอร์กับบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าการฉีดในพื้นที่ระบาดป่วยตายก่อน สนับสนุนฉีดกลุ่ม2 และ3 แต่ 1 ในจำนวนนี้ ระบุว่า "ในขณะนี้ ถ้าเอามาฉีดกลุ่ม 3 แสดงยอมรับว่า Sinovac (วัคซีนหลักที่ไทยใช้อยู่) ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน แล้วจะแก้ตัวยากมากขึ้น" แต่กระนั้นยังมีข้อเสนอที่ระบุ ควรให้เข็ม 3 กับบุคลากรทางการแพทย์เพราะมีความเสี่ยงสูง
สำหรับวัคซีนซิโนแวค ซึ่งไทยได้รับในปริมาณมากที่สุดและถูกใช้เป็นวัคซีนหลักของรัฐบาลในการฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนนั้น มีรายงานข่าวซึ่งออกมาในเชิงลบ ไม่เพียงในแง่ประสิทธิภาพและระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงหลังได้รับวัคซีนไปไม่นาน หรือเชิงข้อมูลวิจัยที่เปรียบเทียบกับวัคซีนยี่ห้อซึ่งซิโนแวคมีประสิทธิภาพป้องกันต่ำและไม่สามารถรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ได้อีก จนปรากฎข่าวบุคลากรทางการแพทย์อย่างกรณีอินโดนีเซีย และจังหวัดเชียงรายของไทย มีบุคลากรทางการแพทย์กลับมาติดเชื้อทั้งที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 โดส แต่วัคซีนซิโนแวคยังกลายเป็นประเด็นการเมืองวัคซีน ทั้งในแง่การจัดซื้อในราคาที่แพงกว่าหลายประเทศ การรณรงค์เชิงประชาสัมพันธ์จากฟากรัฐบาลและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลที่ออกมาพูดเชิงบวกกับซิโนแวคพร้อมกับโหมข่าวเชิงลบต่อวัคซีนแบบmRNA บนโลกออนไลน์ สวนทางกับความไม่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของซิโนแวคที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เอกสารระบุที่ประชุมมีมติ แนวทางให้วัคซีนไฟเซอร์ในเดือน ก.ค.-ส.ค.64 โดยเห็นชอบให้วัคซีนไฟเซอร์ในระยะแรกจำนวน 1.5 ล้านโดส เดือนกรกฎาคม เป็นเข็ม 1 ทั้งหมดแก่ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือหญิงตั้งครรถ์ที่มีอายุครรถ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ในพื้นที่การระบาดรุนแรงสูงสุดคือ กทม.และปริมณฑล รวมถึงเห็นชอบคงเป้าหมายระยะที่ 1 (วัคซีนจำกัด) ระยะที่ 2 วัคซีนเพียงพอ ส่วนระยะที่ 3 (เข็มกระตุ้น) มอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับกองโรคไม่ติดต่อ