svasdssvasds

สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันฯ ประกาศ 5 ข้อ รับมือโควิดด่วน หลัง กทม.-ปริมณฑล วิกฤต

สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันฯ ประกาศ 5 ข้อ รับมือโควิดด่วน หลัง กทม.-ปริมณฑล วิกฤต

"สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย" ออกประกาศ 5 ข้อ เพื่อรับมือการระบาดโควิด-19 อย่างเร่งด่วน หลังขณะนี้ พื้นที่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น

วันนี้ ( 24 มิ.ย.64) นายพรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ออกประกาศ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 2/2564 ความว่า

ขณะนี้ได้เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างกว้างขวางและรุนแรงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จนทำให้ระบบบริการรักษาพยาบาลเริ่มไม่เพียงพอ ต่อจำนวนผู้ป่วยที่มีมากขึ้น สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทยจึงขอเสนอให้มีการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคอย่างเร่งด่วนในประเด็นดังต่อไปนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

รพ. ศิริราช ไอซียูเต็ม ลดบริการห้องฉุกเฉิน รับเฉพาะเคสวิกฤต
แพทย์หญิงรามาฯ เผย เตียงไอซียูล้น ต้องเลือกว่าใครจะได้ไปต่อ!
หมอรามาฯ เผย เตียงในกทม.-ปริมณฑล วิกฤตมาก หวั่นเป็นเหมือนอินเดียในไม่ช้า

1. จากการศึกษาวิจัยล่าสุดในคนไทยและประสบการณ์การใช้จริงในโรงพยาบาลหลายแห่งที่มีการเก็บข้อมูลการติดเชื้อของบุคลากรแล้ว มีความเห็นว่าวัคซีนโควิด-19 ที่มีใช้อยู่ในประเทศในปัจจุบันมีประสิทธิภาพดี น่าพอใจ มีผลข้างเคียงน้อย สามารถลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิตได้ดี จำเป็นจะต้องเร่งรัดให้มีการฉีดอย่างกว้างขวางและรวดเร็วเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ภายในเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจัดหาวัคซีนโควิด-19 เพิ่มเติมโดยเร่งด่วน เพื่อให้มีวัคซีนอย่างเพียงพอในช่วงเวลาดังกล่าว

2. ขอให้ประชาขนตระหนักว่า แม้ได้รับวัคซีนแล้วก็ยังต้องรักษามาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างเข้มงวดต่อไป

3. จัดให้มีการเฝ้าระวังในสถานที่ต่างๆ เช่นในชุมชน ในตลาด ในคอนโด ในสถานประกอบการ เป็นต้น โดยให้เจ้าของหรือผู้ประกอบการ ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีหน้าที่จัดการคัดกรองด้วยแบบสอบถามคัดกรอง ไทยเซฟไทย ของกรมอนามัย โดยเน้นผู้ที่เข้าออกเป็นประจำในสถานที่นั้นๆ โดยจัดทำอย่างสม่ำเสมอ

4. จัดทำการสุ่มตรวจเฝ้าระวัง (sentinel surveillance) ในพื้นที่ที่ยังไม่มีการระบาดอย่างน้อยเดือนละครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 75 คนต่อแห่ง หากพบในแต่ละแห่งติดเชื้อมากกว่า 2 คน จะต้องดำเนินการตรวจอย่างละเอียดเชิงรุก (active case finding)

5. ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จำเป็นจะต้องจัดให้มีหน่วยสอบสวนเคลื่อนที่เร็วให้เพียงพออย่างน้อยให้มีเขตหรืออำเภอละ 3 ทีม ทีมละ 4 คน และจะต้องทำการสอบสวนโรค ให้เสร็จสิ้นภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อทราบว่ามีการระบาดโรค

สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันฯ ออกประกาศ

related