svasdssvasds

รีดภาษีความหวาน 3,500 ล้านบาท/ปี หวังดูแลสุขภาพคนไทย กินหวานลดลง

รีดภาษีความหวาน 3,500 ล้านบาท/ปี หวังดูแลสุขภาพคนไทย กินหวานลดลง

หลังจากเกิดกระแสดราม่าเรื่องน้ำส้ม 500 ขวด ซึ่งประเด็นเกี่ยวกับภาษีความหวาน วันนี้จะพาไปเปิดภาษีความหวานที่ปรับขึ้นทุก ๆ 2 ปี ในอัตราที่เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพคนไทยให้กินหวานลดลง

แนวโน้มคนไทยกินหวานเพิ่มขึ้น

หนึ่งในรสชาติอาหารไทยที่คุ้นปากอย่างดีดี คือ รสชาติหวาน เค็ม แต่จะกินหวาน เค็มมากเกินไปก็จะไม่ดีต่อสุขภาพ แต่แนวโน้มคนไทยกินหวานก็มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูลจากศูนย์วิจัยอีไอซี (EIC หรือ Economic Intelligence Center) ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยข้อมูลว่า คนไทยกินรสหวาน เค็ม มากขึ้น โดยสัดส่วนของคนที่กินรสหวานเพิ่มขึ้น 14.2% ในปี 2560 และแนวโน้คนไทยบริโภคผักและผลไม้สดลดลง ถึงแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่กว่า 98.8% จะมีการบริโภคผักและผลไม้อย่างน้อย 1 วันในแต่ละสัปดาห์

รีดภาษีความหวาน 3,500 ล้านบาท/ปี หวังดูแลสุขภาพคนไทย กินหวานลดลง หากคนไทยกินหวานลดลงจะดีมากต่อสุขภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ทนายรณณรงค์ ชี้ แม่ค้าน้ำส้ม เข้าข่ายมีความผิด ไม่เสียภาษีความหวาน

• สรรพสามิต แจง ดราม่าน้ำส้ม ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ไม่เสียภาษี ยันไม่ได้เก็บเงิน

• แม้จะมี #ดราม่าน้ำส้ม แต่ตลาดน้ำผลไม้ ปี 2564 อาจโตหมื่นล้าน รับคนรักสุขภาพ

เปิดโทษของน้ำตาลที่ควรระวัง

โดยข้อมูลจากโรงพยาบาลวิชัยยุทธ เผยว่า คนที่ชอบกินหวานระวัง 5 โทษของน้ำตาล ดังนี้

1.น้ำตาลเป็นสารเร่งผิวหนังเหี่ยวย่นและริ้วรอย ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ

2.น้ำตาลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

3.น้ำตาลทำให้สมดุลของเลือดเสียไป

4.น้ำตาลทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรง

5.น้ำตาลทำให้ร่างกายเซื่องซึม

 

 

รีดภาษีความหวาน 3,500 ล้านบาท/ปี หวังดูแลสุขภาพคนไทย กินหวานลดลง

ภาษีความหวานจะปรับขึ้นทุก 2 ปี

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าถ้าไทยกินหวานลดลงจะเป็นผลดีต่อสุขภาพมาก ๆ ดังนั้นรัฐจึงพยายามหาวิธีการรณรงค์ต่าง ๆ มากมายให้คนไทยลดกินหวาน หนึ่งในวิธีที่ทำ คือ การเก็บภาษีความหวานจากผู้ผลิตในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อให้ลดน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่ม โดยผู้ที่มีหน้าที่หลัก ๆ ในการดูเรื่องภาษีความหวาน คือ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง โดยข้อมูลจากสำนักแผนภาษี โดยภาษีความหวานเริ่มเก็บทุก ๆ  2 ปี ซึ่งที่ผ่านมามีรายละเอียดดังนี้

-ปี 2562 เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสม 10-14 %  เสียภาษี 1 บาท/ลิตร

-ปี 2564 เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสม 10-14%   เสียภาษี 3 บาท/ลิตร

-ปี 2566  เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสม 10-14%  เสียภาษี 5 บาท/ลิตร

อย่างไรที่ผ่านมากรมสรรพสามิต สามารถจัดเก็บภาษีความหวานเพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ล้านบาทต่อปี ทำให้ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ผลิตน้ำอัดลมบางยี่ห้อได้ปรับขึ้นราคาขายไปแล้ว ส่วนแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคก็ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน

 

related