ทนายเกิดผล เผยรายละเอียดว่าด้วยเรื่องการล่อซื้อ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ การล่อซื้อชอบด้วยกฎหมาย หลังมีดราม่าน้ำส้ม ชี้ผู้ที่ถูกล่อซื้อกระทำผิดกฎหมายหรือไม่แนวทางการพิจารณาคดี ของศาลมี 2 กรณีนี้
วันที่ 16 มิ.ย. 2564 นายเกิดผล แก้วเกิด ทนายชื่อดังได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับประเด็นดราม่าน้ำส้ม ที่มีการล่อซื้อ 500 ขวดโดยระบุว่า...การล่อซื้อชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การล่อซื้อ เป็นการแสวงหาหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามกฎหมาย แต่พฤติการณ์ใด ที่จะถือว่า การล่อซื้อนั้นชอบหรือไม่ชอบ และผู้ที่ถูกล่อซื้อกระทำผิดกฎหมายหรือไม่แนวทางการพิจารณาคดี ของศาล มี 2 กรณี
1. การล่อซื้อ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือว่าผู้ถูกจับไม่ได้กระทำความผิดกฎหมาย
เป็นกรณีที่ ผู้ถูกจับไม่ได้มีเจตนาจะทำผิดกฎหมายมาตั้งแต่ต้น แต่ถูกสายลับ สายสืบ หรือ ตำรวจ ออกอุบาย ล่อลวง ให้หลงเชื่อ แล้วกนะทำตามที่ถูกอุบายนั้นๆ
ซึ่งศาลตีความว่า เป็นการกระทำผิดเะราะกลอุบายของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือ ผู้ที่อ้างตนว่าเป็นผู้เสียหาย ล่อลวงให้ผู้ถูกจับกนะทำผิดกฎหมาย
กรณีปรากฏว่าการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ อาจเข้าข่ายไม่ชอบด้วยกฎหมายเสียเอง โดยมีแนวฎีกาของศาลวินิจฉัยว่า #พฤติกรรมการล่อซื้อแล้วเข้าจับกุมในบางกรณี
อาจถือว่าไม่ใช่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย อาทิ การล่อซื้อโดยให้บุคคลที่ไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดมาแต่แรกลงมือกระทำความผิดตามที่ถูกล่อ การนั้นๆ ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น
ตัวอย่าง แนวฎีกาที่วินิจจัยว่า การล่อซื้อแล้วจับกุมที่มิชอบด้วยกฎหมาย คือ
คำพิพากษาฎีการที่ 4077/2549 “การที่ผู้เสียหายใช้ให้ อ.สั่งให้จำเลยซื้อแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจากตลาดนัดให้ เพื่อที่จะได้หลักฐานในการกระทำความผิด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าด้วยความสมัครใจของตนเองมาก่อน และพร้อมที่จะจัดหาแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวทันที การที่ผู้เสียหายดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยตนเองแล้วแจ้งความร้องทุกข์เพื่อนำ
พนักงานตำรวจจับกุมจำเลยจึงเป็นกรณีที่ผู้เสียหายได้จูงใจหรือล่อให้จำเลยกระทำผิด ไม่ถือว่าเป็น ‘ผู้เสียหาย’ ตามกฎหมาย”
คำพิพากษาฎีกาที่ 4301/2543 วินิจฉัยว่า “การที่บริษัทไมโครซอฟท์ จ้างนักสืบเอกชน ไปล่อซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทำทีไปติดต่อซื้อคอมพิวเตอร์จากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยต้องแถมโปแกรมคอมพิวเตอร์แก่สายลับด้วย หลังจากจำเลยประกอบคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วมีการทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายลงในฮาร์ดดีสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์และส่งมอบให้แก่สายลับ ศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของสายลับ มิใช่กระทำขึ้นโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด #โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดี”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9600/2554 วินิจฉัยว่า “ร. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหายว่า #จ้างจำเลยให้บันทึกเพลงของผู้เสียหายลงแผ่นซีดีคาราโอเกะ #อันเป็นการก่อให้จำเลยทำซ้ำ ซึ่งงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยมิได้กระทำความผิดโดยทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ก่อนแล้วและนำแผ่นซีดีและวีซีดีคาราโอเกะที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายนั้นออกขายแก่ ร. ผู้ล่อซื้อ อันจะถือเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำการละเมิดสิทธิ์ของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (3) เมื่อ ร. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 27 (1) และ 28 (1) เพื่อให้เจ้าพนักงานจับจำเลยมาดำเนินคดี ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดดังกล่าวได้
2. ในกรณีที่ถือว่า การล่อซื้อชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกจับกระทำผิดกฎหมาย คือ กรณีที่ผู้กระทำความ มีเจตนา หรือ ตั้งใจทำความผิดมาตั้งแต่แรก เป็นอาจิณ อยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีการล่อซื้อหรือไม่ผู้กระทำความผิดก็เจตนาทำผิดมาตั้งแต่ต้น
สำหรับ คำพิพากษาที่ศาลวินิจฉัยว่า ชอบด้วยกฎหมายและเป็นกรณีที่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ มีดังนี้ คือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2545 “จำเลยมีพฤติการณ์กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โจทก์ส่งสายลับไปล่อซื้อและจับกุมจำเลยมาดำเนินคดี มิใช่เป็นการก่อให้จำเลยกระทำความผิด แต่เป็นการดำเนินการเพื่อจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิด เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีอำนาจร้องทุกข์มีอำนาจฟ้องและศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดจากการล่อซื้อโดยชอบได้”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2552 “การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย มิเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มิได้ผิดศีลธรรมและทำนองคลองธรรม มิได้เป็นการใส่ร้ายป้ายสีหรือยัดเยียดความผิดให้จำเลย #หากจำเลยมิได้มียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหย่าย เมื่อสายลับไปซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย จำเลยย่อมไม่มียาเสพติดให้โทษจำหน่ายให้กับสายลับ ความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การกระทำของเจ้าพนักงานดังกล่าวจึงเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน รับฟังลงโทษจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22”