svasdssvasds

สมาคมประสาทวิทยาฯ ออกประกาศ ไม่จำเป็นต้องหยุดยาไมเกรน ก่อนฉีดวัคซีนโควิด

สมาคมประสาทวิทยาฯ ออกประกาศ ไม่จำเป็นต้องหยุดยาไมเกรน ก่อนฉีดวัคซีนโควิด

สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย ออกประกาศ เรื่อง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยาปวดศีรษะไมเกรน แนะนำ "ไม่จำเป็นต้องหยุดยาปวดศรีษะไมเกรน" ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

เนื่องจากประเทศไทยได้มีการดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อให้หยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญในระดับประเทศ ที่คนไทยทุกคนควรได้รับวัคซีนโควิด-19 รวมถึงผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรน อย่างไรก็ตาม มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนกับการฉีดวัดซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรนเกิดความกังวลใจ ทาง สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนดังนี้

1.เนื่องจากมีรายงานผลหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราว เช่น อาการชา อาการอ่อนแรง แต่จากการรวบรวมกรณีศึกษาต่างๆ ยังไม่พบความผิดปกติจากการตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI  Brain) และการตรวจหลอดเลือดในสมอง (MRA และ CTA) อย่างชัดเจน อาการดังกล่าวเกิดจากการตอบสนองต่อของร่างกายจากการฉีดวัคซีน ซึ่งเกิดได้กับวัคซีนทุกชนิด และเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น

2.จากข้อมูลแนะนำเรื่องการใช้ยาปวดศีรษะไมเกรน ว่า ไม่จำเป็นต้องหยุดยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน เช่น ยากลุ่ม ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน เช่น ยากลุ่ม acetaminophen ยากลุ่ม NSAIDs ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน หรือยาในกลุ่มทริปแทน หรือยาป้องกันไมเกรนชนิดต่างๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate, Valproic acid ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า เช่น Amitriptyline, Venlafaxine ยาในกลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Flunarizine ยาในกลุ่มต้านเบต้า เช่น Propranolol และยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่นๆ ที่ผู้ป่วยกินอยู่เป็นประจำ

3.หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรน หรือยาป้องกันไมเกรน ให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพื่อวางแผนในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และแนะนำอาการของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่อาจจะเกิดขึ้น

สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย

related