ศบค. จ่อออกบทลงโทษโรงงาน ไม่ให้ความร่วมมือทำโควิด-19 แพร่ระบาด ดึงฝ่ายความมั่นคงเสริมกำลังกทม.- กรมควบคุมโรค คุมเข้มแคมป์คนงานก่อสร้าง บอกหากย่อหย่อนประชาชนยังไม่ปลอดภัย
แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ประจำวันพุธที่ 2 มิถุนายน 2564 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 82 ของโลก มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,440 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยจากระบบบริการสาธารณสุข 1,175 รายจากการค้นหาเชิงรุก 1,163 รายสถานกักขังเรือนจำ 1,087 รายและเดินทางกลับจากต่างประเทศ 15 ราย รักษาตัวอยู่ 49,777 ราย อาการหนัก 1247 รายใส่เครื่องช่วยหายใจ 381 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 38 คน
โดยเป็นกรุงเทพมหานคร 18 รายสมุทรปราการ 4 ราย ชลบุรีและปทุมธานี จังหวัดละ 3 ราย ฉะเชิงเทรา นนทบุรี สุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 2 ราย และพระนครศรีอยุธยา ร้อยเอ็ด ราชบุรีอุดรธานี จังหวัดละ 1 ราย ปทุมธานี ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคปอด หลอดเลือดสมอง มะเร็ง โรคหัวใจโรคไต
โดย 10 อันดับที่มีการติดเชื้อสูงสุดประกอบด้วย กรุงเทพฯ 680 ราย สมุทรปราการ 466 รายเพชรบุรี 449 ราย ตรัง 176 ราย สมุทรสาคร 78 ราย นนทบุรี 62 ราย ปทุมธานี 39 ราย นราธิวาส 34 ราย พระนครศรีอยุธยา 33 รายและชลบุรี 29 ราย
ส่วนการลักลอบเข้าเมืองมีรายงาน 211 ราย พม่า 79 รายลาว 30 รายกัมพูชา 59 ราย และไม่มีรายงานการลักลอบเข้าจากด่านมาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่พยายามลักลอบเข้าเมือง ทั้งเป็นนักเรียน นักพนันออนไลน์ แม่บ้านและรับจ้าง ซึ่งทางศบค.ต้องเน้นย้ำว่าขอให้เข้ามาทางช่องทางทางปกติ
พื้นที่กรุงเทพมหานครมีคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวังจำนวน 47 คลัสเตอร์ และพบคลัสเตอร์ใหม่ 1 คลัสเตอร์ในพื้นที่เขตลาดพร้าว โดยพบในห้างสรรพสินค้า โดยตรวจพบเชื้อเพิ่ม 23 ราย และ ลงพื้นที่ตรวจเชิงรุกต่อไป
และวันนี้ที่ประชุมศปก.ศบค. มีการพูดคุยถึงรายละเอียดสำคัญถึงกรณีการแปรรูปเนื้อไก่ที่จังหวัดสระบุรี โดยมีการกระจายไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆ ซึ่งการรายงานของโรงงานแรกเป็นโรงงานชำแหละไก่ซึ่งทางกรมควบคุมโรครายงานว่ามีพนักงานจำนวนมากทั้งชาวไทย 4,000 คน และแรงงานต่างด้าวกว่า 1,000 คน ส่วนใหญ่เป็นสัญชาติกัมพูชา โดยการติดเชื้อมีทั้งแผนกหน้าร้าน พนักงานไลน์ผลิต และพนักงานสนับสนุน กรมควบคุมโรคได้มีการวิเคราะห์ว่าที่พักพนักงานไทยจะมีบ้านส่วนตัวหรืออาศัยหอพักโดยรอบ แต่ส่วนใหญ่ชาวต่างชาติ จะอาศัยอยู่ในหอพักที่โรงงานจัดให้ การเดินทางแบ่งเป็นรถส่วนตัวหรือรถรับส่งของโรงงาน ซึ่งพนักงานเองก็มีที่พักกระจายไปในหลายจังหวัด ส่วนหอพักก็มีการรวมกลุ่มและอาศัยกันอย่างแออัด
ทั้งนี้ที่ประชุมจึงมีการหารือหรือมาตรการการดำเนินกิจการเพื่อให้มีความปลอดภัยท่ามกลางการแพร่ระบาด โดยพบว่า โรงงานขนาดใหญ่ติดเชื้อถึง 20% มีจำนวน 3,303 แห่ง โรงงานขนาดกลาง 16 % จำนวน 10,287 แห่ง และขนาดเล็กมีการติดเชื้อ 5 % จำนวน 49,439 แห่งโดยจะมีการออกแบบประเมินความเสี่ยง ซึ่งห่วงโรงงานที่ไม่ให้ความร่วมมือทำให้เกิดการแพร่เชื้อ และจะมีการพิจารณาบทลงโทษต่อไป จึงฝากไปยังผู้ประกอบการขอความร่วมมือ ยืนยันไม่ต้องการวางบทลงโทษหรือการบังคับใช้ตามกฎหมายแต่เป็นการดูแลบุคลากรในองค์กร
ส่วนแคมป์คนงานก่อสร้างแต่มีการวางมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของแคมป์ โดย มอบให้กรมควบคุมโรคทุกส่วนรายละเอียดในแง่ของการจัดการ community isolation และ Bubble and seal โดยจะออกเป็นข้อยิบย่อย โดยหากไม่ปฏิบัติตามจะขอความช่วยเหลือหน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งทหาร ตำรวจ บชน. ศปม. ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกรมควบคุมโรค กทม. เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุด โดยหากแคมป์ย่อหย่อนหรือปฏิบัติไม่ได้จะหมายความว่าประชาชนนั้นจะไม่ปลอดภัย
ทั้งนี้มีการจัดสรรวัคซีนจากบริษัท astrazeneca ไปแล้วเมื่อวานนี้กว่า 20,000 โดส และนอกจากนี้ในวันนี้จะมีการกระจายวัคซีนอีก 700,000 โดสจากบริษัทซิโนแวคด้วย
นอกจากนี้มีรายงานว่าประเทศเวียดนามมีการประกาศระงับเที่ยวบินขาเข้า ในวันที่ 1 มิถุนายนถึงวันที่ 7 มิถุนายนนี้น่าจะมีการแพร่ระบาดอย่างหนัก