มีข่าวดีมาบอกอีกแล้วสำหรับลูกจ้างธุรกิจอีเวนท์ ล่าสุดกระทรวงแรงงาน เผยว่ามีมาตรการช่วยเหลือจ่ายเยียวยาลูกจ้างธุรกิจอีเวนท์ และผู้ประกอบการ ได้ชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้างไม่เกิน 90 วัน
ในยามที่บ้านเมืองสงบไม่มีโรคไม่มีภัย ธุรกิจหนึ่งที่เติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพ และหัวเมืองใหญ่ นั่นคือ ธุรกิจอีเวนท์ เพราะจะต้องมีการจัดงานเปิดตัวสินค้า คอนเสิร์ต หรืออีเวนท์ อื่น ๆ ซึ่งก็มีการจ้างงานจำนวนมากในธุรกิจนี้ แต่...พอเกิดวิกฤตโควิด-19 งานพวกนี้ก็ถูกรัฐสั่งหยุดเป็นลำดับแรก ๆ เลยทำให้พนักงานทั้งหลายได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า จึงทำให้รัฐต้องออกมาจ่ายเยียวยาลูกจ้างธุรกิจอีเวนท์
เรื่องเยียวยาลูกจ้างธุรกิจอีเวนท์ ล่าสุดมีข่าวดี กระทรวงแรงงานเผยว่ามีมาตรการช่วยเหลือ "จ่ายเยียวยา" ผู้ประกอบการ "ลูกจ้างธุรกิจอีเวนท์" ได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน โดยรายละเอียดเรื่องนี้ ‘นายสุชาติ ชมกลิ่น’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เตรียมยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึงยื่นหนังสือถึงตนในสัปดาห์หน้านั้นด้วย เพื่อขอให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในธุรกิจอีเวนท์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มระบาดในประเทศไทยระลอกแรกตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 เรื่อยมา จนถึงการระบาดอย่างรุนแรงในระลอก 3
รัฐเตรียมจ่ายเยียวยาธุรกิจอีเวนท์
ทั้งนี้เรื่องการเยียวยาลูกจ้างธุรกิจอีเวนท์นายกรัฐมนตรีได้ทราบแล้ว และได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคมไปพิจารณาข้อระเบียบกฎหมายว่าเข้าเงื่อนไงดังกล่าวหรือไม่อย่างไร ซึ่งจากการพิจารณาแนวทางการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยตามกฎกระทรวง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563 (เพิ่มเติม) พบว่า มีเงื่อนไข 3 ดังนี้ 1. ทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว โดยสั่งให้ปิด หรือห้าม หรืองดใช้สถานที่ เช่น สถานที่จัดนิทรรศการ ศูนย์การแสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ เช่น ประเภทกิจการที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การจัดประชุม การจัดสัมมนา การจัดเลี้ยงทั้งในและนอกสถานที่ หรือกิจกรรมอื่นในลักษณะเดียวกันที่กระทำในสถานที่นั้น ๆ
2. ระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ให้พิจารณาจากการปิด หรือห้าม หรืองดใช้สถานที่โดยให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัด หรือคำสั่งของทางราชการที่มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายกำหนด ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง คราวละไม่เกิน 90 วัน สำหรับการเยียวยาลูกจ้างธุรกิจอีเวนท์
3.ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างรับรอง ในประเด็นที่นายจ้างไม่ได้ประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามคำสั่ง/ประกาศของทางราชการ ตามข้อ 1) โดยลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น เพื่อเป็นการเยียวยาลูกจ้างธุรกิจอีเวนท์
ส่อง 3 เงื่อนไขเยียวยาธุรกิจอีเวนท์
อย่างไรก็ตามการเยียวยาลูกจ้างธุรกิจอีเวนท์ ผู้ประกันตนต้องดำเนินการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนโดยกรอกแบบขอรับประโยชน์ทดแทน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้และแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ แล้วนำส่งให้นายจ้างรวบรวมแบบฯ เพื่อบันทึกข้อมูลลูกจ้างและหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว เมื่อนายจ้างบันทึกข้อมูลลูกจ้างเสร็จสิ้นให้นำส่งแบบฯ และหนังสือรับรองในระบบ e- Service ส่งมายังสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือผ่านโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง