svasdssvasds

"กองทุนเงินทดแทน" ลด-เพิ่ม อัตราเงินสมทบ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นายจ้าง

"กองทุนเงินทดแทน" ลด-เพิ่ม อัตราเงินสมทบ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นายจ้าง

เป็นที่ทราบกันดีว่า "กองทุนเงินทดแทน" เป็นกองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยเงินสมทบในกองทุนนี้จะเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียว(และ)เรียกเก็บจากนายจ้างเป็นรายปี

ด้วยความห่วงใย "นายจ้าง" ที่อาจจะสับสนเกี่ยวกับอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนว่านายจ้างต้องคำนวณจ่ายอย่างไร? ทาง "สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน" ได้ออกเอกสารอธิบายถึงเป้าหมายของการจัดตั้ง "กองทุนเงินทดแทน" ว่าเพื่อเป็นมาตรการสนับสนุนสร้างแรงจูงใจ ให้นายจ้างสนใจในการจัดสถานที่ทำงาน อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ให้แก่ลูกจ้างได้ทำงานอย่างปลอดภัย ซึ่งอัตราเงินสมทบของสถานประกอบการ ขึ้นอยู่กับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง หากไม่มีหรือมีเล็กน้อย อัตราเงินสมทบจะลดลง ขณะที่สถานประกอบการรายใดมีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานมาก อัตราเงินสมทบจะสูงขึ้น

\"กองทุนเงินทดแทน\" ลด-เพิ่ม อัตราเงินสมทบ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นายจ้าง

ทั้งนี้ อัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ที่จัดเก็บจากนายจ้างแต่ละรายจะแตกต่างกันตามลักษณะความเสี่ยงภัยในการทำงานของแต่ละกิจการ ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ 1,091 ประเภท  กิจการอัตราเงินสมทบระหว่าง 0.20% - 1.00% ของค่าจ้าง เช่น กิจการโรงแรม รีสอร์ท และห้องชุด 0.20% ของค่าจ้าง ถ้าเป็นกิจการก่อสร้างจ่ายเงินสมทบอยู่ในช่วง 0.25% - 1.00%ของค่าจ้าง (ขึ้นอยู่กับลักษณะงานก่อสร้าง) เป็นต้น

โดยเมื่อนายจ้างจ่ายเงินสมทบครบ 4 ปี ปฏิทินแล้ว ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายอัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ อัตราเงินสมทบอาจจะลด หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าของอัตราส่วนการสูญเสีย ซึ่ง "สำนักงานประกันสังคม" ได้เก็บสถิติข้อมูลไว้

\"กองทุนเงินทดแทน\" ลด-เพิ่ม อัตราเงินสมทบ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นายจ้าง

สำหรับเงินสมทบที่นายจ้างจ่าย คำนวณจากเงินค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างรวมทั้งปี (ไม่เกิน 240,000 บาท /ปี/คน) คูณกับอัตราเงินสมทบ ซึ่งอัตราเงินสมทบมี 2 รูปแบบ ตังนี้ ปีที่ 1 - 4 เป็นอัตราเงินสมทบที่คงที่เรียกว่า อัตราเงินสมทบหลัก (0.20 - 1.00%) และปีที่ 5 เป็นต้นไป เป็นอัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ที่มีการลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากอัตราเงินสมทบปีที่ผ่านมา

 โดยการจะลด-เพิ่มอัตราเงินสมทบ สามารถคำนวณได้ 3 ขั้นตอน

-ขั้นตอนที่ 1 หาอัตราส่วนการสูญเสีย ใช้ค่าเฉลี่ยของสถิติร้อยละเงินทดแทนต่อเงินสมทบ ซึ่งเงินทดแทน คือเงินที่จ่ายเป็นค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ   

-ขั้นตอนที่ 2 หาค่าประสบการณ์ โดยนำค่าจากขั้นตอนที่ 1 ไปเทียบกับตารางการลด-เพิ่ม เพื่อหาค่าลดลงหรือเพิ่มขึ้น แล้วนำไปคูณกับอัตราเงินสมทบปีที่ผ่านมา

-ขั้นตอนที่ 3 หาอัตราเงินสมทบ โดยนำอัตราเงินสมทบปีที่ผ่านมา บวกกับค่าประสบการณ์ ทั้งนี้ อัตราเงินสมทบที่คำนวณได้ จะมีค่าต่ำสุดหรือสูงสุดไม่เกิน 50% ของอัตราเงินสมทบหลัก ทั้งนี้นายจ้างสามารถตรวจสอบอัตราเงินสมทบในปีปัจจุบัน และย้อนหลัง 1 ปี ได้ในระบบ e-sevice หัวข้อระบบอัตราเงินสมทบประจำปี (e-rate)

อย่างไรก็ตามการจ่ายเงินสมทบเข้า "กองทุนเงินทดแทน" เป็นหน้าที่ของนายจ้างควรตัดหรือไม่       บางองค์กรไม่ต้องจ่าย โดยสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้แจ้งยอดเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายให้ทราบล่วงหน้า ทั้งวิธีการและกำหนดเวลาการจ่ายเงินสมทบ ฉะนั้น เพื่อการช่วยเหลือดูแลลูกจ้างให้ทำงานอยู่ปลอดภัยในองค์กร และมีศักยภาพเต็มที่ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินหรือสุขภาพ "นายจ้าง" สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 1506 หรือ www.sso.go.th

related