แม้ว่าวัคซีนจะคือคำตอบสุดท้ายในการรอดพ้นจากวิกฤตโควิด19 อย่างไรก็ตาม วัคซีนแต่ละชนิดก็มีผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน และมีผลปรากฏรายงานข่าวตามต่างประเทศ แต่ถึงกระนั้น ทุกคนไม่ควรกังวลกับผลข้างเคียงมากเกินไป เพราะหากมองเป็นตัวเลขเปอร์เซนต์ ถือว่าเกิดขึ้นกับในกลุ่มตัวอย่างที่น้อยมาก หากเทียบกับผู้ที่รับวัคซีนทั้งหมด
ผลข้างเคียงวัคซีนต้านโควิด19 ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินในหลายประเทศ โดยข้อสรุปเบื้องต้นวัคซีนส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเหนื่อย หนาวสั่น เป็นไข้ เกิดอาการบวม ปวดบริเวณข้อต่อและกล้ามเนื้อ และบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมอยู่ด้วย....
โดย อาการข้างเคียงของการแพ้วัคซีนแต่ละชนิด สามารถระบุได้ในเบื้องต้น ดังนี้
ปวดหัว เป็นไข้อ่อนๆ มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง หรือ stroke (พบในไทย)
โดยกรณีที่ชัดเจนคือ บุคลากร แพทย์ พยาบาล และ อสม. เข้าฉีดวัคซีนซิโนแวค ที่จังหวัดลำปาง เป็นวันแรกจำนวน 600 คน และหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นพยาบาลวิชาชีพ อายุ 46 ปี เกิดอาการไม่พึงประสงค์และแสดงอาการหน้ามืด ตามัว อาเจียนรุนแรงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค ผ่านไป 15 นาที และมีอาการแบบเดียวกันอีก 10 คน ทางแพทย์จึงได้ยุติการฉีด
ส่วนผู้มีอาการไม่ตอบสนองวัคซีนดังกล่าวก็มีอาการปกติทุกคน ทาง รพ.ลำปางก็ได้ฉีดวัคซีนซิโนแวคอีกจำนวน 600 คน และทุกคนก็ไม่มีอาการแพ้แต่อย่างใด
อาจมีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ แต่รายงานจาก องค์กรยาของสหภาพยุโรป (EMA) ระบุว่ามีความเสี่ยงที่ต่ำ (พบในยุโรป) นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายๆชาติ อาทิ เวียดนาม อินเดีย ฝรั่งเศส สวีเดน เดนมาร์ก อิตาลี ออสเตรีย เป็นต้น
โดยที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็มีในอิตาลี , ขณะที่เดนมาร์กเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จนต้องประกาศไม่ขอใช้วัคซีนชนิดนี้ ขณะที่ แอสตราเซเนก้า ก็ยืนยันไม่เกี่ยวข้องกับอาการลิ่มเลือดอุดตัน
ด้านแอน เทย์เลอร์ Chief Medical Officer ของแอสตราเซเนกา กล่าวว่า ในการทดลองแต่ละครั้งจะต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาที่เคร่งครัด และคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเสมอ บริษัทฯ ตรวจสอบและติดตามผลด้านความปลอดภัยของวัคซีนอย่างใกล้ชิด แต่ไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่ยืนยันว่าวัคซีนป้องกันโควิด19 ของแอสตราเซเนก้าเกี่ยวข้องกับอาการที่เกิดขึ้น
คันและบวม หน้าและลิ้นบวม หายใจลำบาก ความดันตก คนที่แพ้ขั้นรุนแรงถึงขั้นช็อก และอาจเสียชีวิตได้ (พบในญี่ปุ่น,อังกฤษ)
โดยในกรณีที่ญี่ปุ่นนั้น อาการจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยมีแอแนฟิเล็กซิส ซึ่งเป็นปฏิกิริยาแพ้แอนติเจนรุนแรง ซึ่งเกิดอย่างเฉียบพลัน และอาจถึงอันตราย ร่างกายเกิดภาวะภูมิไวเกิน ทั่วไปๆคือหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว อาการบวมหรือคันคอ แน่นในลำคอ ท้องร่วง และ ชีพจรอ่อนลง ซึ่งต้องรีบส่งแพทย์เป็นการด่วน
หากแพ้ขั้นรุนแรงจนต้องฉีดอะดรีนารีนเข้ากล้ามเนื้อ (พบในสหรัฐ)
มีรายงานว่า มีผู้อาการไม่พึงประสงค์อยู่ที่ราวๆ 10 ราย ที่มีอาการแพ้เฉียบพลัน ซึ่งถือเป็นสัดส่วนน้อยมาก เพราะคิดเป็น 2.5 คนต่อผู้ที่ฉีดโมเดอร์น่า 1 ล้านคน และช่วงเวลาที่จะเกิดอาการแพ้นั้นอยู่ที่ 7 นาทีครึ่งหลังจากฉีด
มีผลงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีประวัติแพ้สารโพลีเอธิลีน ไกคอล (Polyethylene glycol: PEG) ซึ่งเป็นส่วนผสมในยาและเครื่องสำอางบางชนิด ซึ่งมีอยู่ในวัคซีนโควิดโมเดอร์นา
และ ผู้ที่มีประวัติแพ้สารพอลิซอร์เบต (Polysorbate) ซึ่งเป็นส่วนผสมในยาและเครื่องสำอางบางชนิด แม้จะไม่มีอยู่ในวัคซีนโควิดโมเดอร์นา แต่คุณสมบัติใกล้เคียงกับ PEG มาก จึงอาจเป็นอันตรายได้
อ่อนเพลีย อาการคล้ายกับการฉีดวัคซีนอื่นๆ ยังไม่มีรายงาน ผลข้างเคียงที่รุนแรง (พบในรัสเซีย)
จุดที่เป็นข้อด้อยของสปุตนิค วี คือยังไม่ผ่านการรับรองของ องค์กรยาของสหภาพยุโรป (EMA) แต่ หลายๆชาติก็มั่นใจในตัววัคซีนของรัสเซีย อาทิ เกาหลีใต้ก็เพิ่งจะประกาศว่าจะช่วยรัสเซียผลิตวัคซีน สปุตนิค วี ให้ได้ราว 100 ล้านโดสต่อเดือน เนื่องจากขณะนี้ความต้องการสปุตนิควีในหลายประเทศกำลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อาร์เจนติน่าก็ประกาศว่าจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคลาตินที่จะเป็นฐานผลิตสปุตนิก วี เช่นกัน
อ่อนเพลีย ปวดหัว และอาจมีอาการคล้ายๆ กับตัววัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (พบในสหรัฐ)
อย่างไรก็ตาม มีเคส ที่แพ้ อย่างรุนแรงต่อวัคซีนชนิดนี้ ที่สหรัฐ โดยหลังจากนั้นเพียง 4 วัน ผู้ที่แพ้ก็เริ่มมีอาการแพ้ตามผิวหนังตามตัว แขนขาบวม และมีผื่นแดงขึ้นเต็มไปหมด จนกระทั่งผิวหนังของเขาหลุดลอกออกมา นอกจากนี้ เขายังมีอาการเจ็บปวดตามผิวหนังด้วย ในเวลาต่อมาเขาได้ตัดสินใจไปพบกับแพทย์ผิวหนัง ซึ่งแพทย์ได้ส่งตัวเข้าไปรักษาต่อในห้องฉุกเฉิน
แน่นอนว่า วัคซีนแต่ละชนิดย่อมมีผลข้างเคียง แต่อาการที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นอยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำมาก หากเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนทั้งหมด ดังนั้นหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ควรจะเข้าระวัง สังเกตอาการของตัวเอง และอยู่ในความดูแลของแพทย์ เป็นดีที่สุด ....
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• ทำความรู้จักวัคซีนโควิด19 "สปุตนิก วี" ของดีจากรัสเซีย
• ติดเชื้อโควิด 19 เสี่ยงอาการหนัก ถ้ามีโรคประจำตัว
• ท่าบริหารปอดให้แข็งแรง!!! เทคนิคฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโควิด 19