"มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง" ผลักดันวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดเชียงราย พะเยา เเพร่และน่าน สู่การตลาดวิถีใหม่เข้าร่วมงาน TRAMS Virtual Festival"
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผลักดันวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดเชียงราย พะเยา เเพร่และน่าน สู่การตลาดวิถีใหม่เข้าร่วมงาน TRAMS Virtual Festival มุุ่งส่งเสริมการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และผลิตภัณฑ์บริการเชิงสุขภาพที่มีอัตลักษณ์ของชุมชนบนแพลตฟอร์มออนไลน์
มาอยู่ในงาน “TRAMS Virtual Festival” ซึ่งเป็นงาน Virtual Event บนโลกออนไลน์ในรูปแบบเสมือนจริง ถือเป็นมิติใหม่ของงาน Virtual Festival ครั้งแรก ที่รวบรวมทั้งคอนเสิร์ต ช้อปปิ้ง ท่องเที่ยวและกิจกรรมอีกมากมาย ซึ่งจะจัดแสดงอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ตอบรับกับหลากไลฟ์สไตล์ในยุคปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 26 - 31 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด นั่งรถรางเที่ยวงาน TRAMS รูปแบบ Virtual Festivalบนเกาะส่วนตัวห้อมล้อมด้วยวิวภูเขาและชายหาด บรรยากาศภายในงานจะประกอบไปด้วย Travel, Recreation,
Art, Music และ Shopping โดยมุ่งหวังในด้านการประชาสัมพันธ์และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเชิงสุขภาพจากภูมิปัญญาเชิงสร้างสรรค์และการส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ประจำปี 2564” ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อมในการแข่งขันทางการตลาดโดยมีวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจำนวน 11ชุมชน ซึ่งถือเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าและส่งเสริมด้านการตลาดให้กับวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการสุขภาพที่มีอัตลักษณ์เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
ให้กับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่สนใจทั่วไป ได้รู้จักขยายเป็นวงกว้างเพิ่มมากขึ้น
และน่าน ซึ่งแต่ละชุมชนมีจุดเด่นและความน่าสนใจหลากหลายด้าน
1.จังหวัดเชียงราย ประกอบไปด้วย 5 ชุมชน ได้แก่
1) ท่องเที่ยวชุมชนสุขภาพอ่าข่า บ้านห้วยส้าน เป็นหมู่บ้านที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ปลูกชา สมุนไพร โดยมีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ชาล้อบ่อ
เเละสมุนไพรป่า
2) วิสาหกิจชุมชน กลุ่มวิถีไทย วิถียอง สันทางหลวง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม มีกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงถึงวิถีคนยอง มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่การเเต่งกายเเบบยอง ผ้าปักลายพื้นเมือง
3) ศูนย์สมุนไพรบำบัดบ้านม่วงคำ นำสมุนไพรมาแปรรูปและทำผลิตภัณฑ์ไข่เค็มจากดินจอมปลวก
4) วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวพุทธเกษตรอินทรีย์บ้านสันป่าเหียง เป็นศูนย์การเรียนรู้ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ จากเกสรบัวหลวง
5) วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำม้า มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ชาใบไผ่ และผ้าทอจากใยไผ่
1) กลุ่มเครือข่ายชาติพันธุ์ปะโอ วัดนันตาราม โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมคล้ายวัดของชาวไทใหญ่ – พม่า นอกจากนี้ยังมี ขนมปิ้งปะโอ สูตรดั้งเดิมหาทานยาก
2) กลุ่มโบราณสถานเวียงลอ ชุมชนโบราณดั้งเดิม มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ไม้กวาด ข้าวแคบโบราณและตุงหรือธงท้องถิ่น
3.จังหวัดแพร่ ประกอบไปด้วย 2 ชุมชน ได้แก่
1) วิสาหกิจชุมชนปางงุ้นหมู่บ้านสีเขียว ท่องเที่ยวสุขใจ ชุมชนที่มีธรรมชาติล้อมรอบอย่างสวยงาม สัญลักษณ์ คือ อ่างเก็บน้ำแม่อาง ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่
การปลูกผักอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากไม้สักทอง และดอกทองอุไร
2) วิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ เป็นชุมชนดั้งเดิม สรรค์สร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น มีแหล่งปลูกห้อมในชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ผ้ามัดย้อมบ้านป้าเหงี่ยม
4.จังหวัดน่าน ประกอบไปด้วย 2 ชุมชน ได้แก่
1) วิสาหกิจชุมชนการจัดการท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชนห้วยพ่าน หมู่บ้านบนพื้นที่ราบที่มีภูเขาสูงมีแม่น้ำน่านไหลผ่านระหว่างหุบเขา ในชุมชนยังร่วมกันเลี้ยงควายน้ำหว้า เพื่อช่วยอนุรักษ์ควายพันธ์ดั้งเดิมของจังหวัดน่าน ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ น้ำผึ้งป่า และจักสานไม้ไผ่
2) วิสาหกิจชุมชนชมรมเเพทย์เเผนไทย บ่อสวกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ชาป่า หรือที่เรียกว่า ใบเมี่ยง ผ้าไหมโบราณ และเครื่องปั้นดินเผาบ่อสวก
1) คลัสเตอร์กาแฟเชียงราย เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ผลิตและจำหน่ายกาแฟของคนเชียงราย ที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นน้ำ (ผู้เพาะปลูก), กลางน้ำ (ผู้แปรรูป ผู้คั่ว), และปลายน้ำ (ผู้จำหน่าย) ภายใต้แบรนด์ อาทิ Josado coffee, Akha jungle coffee, Doi Chedi Coffee, Agape Coffee, ABU Farm Coffee, ชี้ฟ้าคอฟฟี่,กาแฟปางขอน, โดยมุ่งหวังให้กาแฟเชียงรายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดสากล
2) MFii หรือส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (Mae Fah Luang Intellectual Property Management and Innovation Division : MFii) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นให้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ประดิษฐ์คิดค้น
และสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม และน่าสนใจมากมาย หลากหลายแบรนด์ อาทิเช่น Saylum, บุษราคัม ฮันนี่,บ้านไม้หอม, โอโซนฟาร์ม ฯลฯ
3) M-Store หน่วยบริการงานวิชาการทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการทางวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยการเป็นแหล่งส่งเสริมความรู้เเละจัดจำหน่ายสินค้าประเภทหนังสือ ตำราเรียน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการศึกษา ของที่ระลึกมหาวิทยาลัย ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยเเละผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพรวมไปถึงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเเละสินค้าเบ็ดเตล็ด ภายใต้ตราสินค้าแห่งมหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศภายใต้แบรนด์ LANADENE ฯลฯ
4) วนาศรม รีสอร์ท "วนาศรม " มาจากคำผสมระหว่าง "วนา" กับ "อาศรม" ซึ่ง วนา ซึ่ง วนา หมายถึง ผืนป่า ส่วนอาศรม หมายถึงที่พักเพราะฉะนั้นคำจำกัดความของ วนาศรม คือ สถานที่พักภายในป่า นั่นเอง โดยวนาศรม ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ริมอ่างเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีทัศนียภาพที่สวยงาม บรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ ให้บริการห้องพักกว่า 60 ห้อง
จากการเยี่ยมชมบูธต่าง ๆ ภายในโครงการ รวมถึงการเข้ามาสอบถามข้อมูลทั้งชุมชนผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้า บริการนำเที่ยว ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากสถานี Lanna Sation (ล้านนา สเตชัน) ภายในงาน TRAMS Virtual Festival ยังมีความน่าสนใจที่รวบรวมกิจกรรมมากมาย อาทิ เกมเศรษฐีหนีเที่ยว, kahoot, ดูดวงกับคอนเทนต์วาไรตี้, แม่ค้าออนไลน์ และสินค้าจากแบรนด์ดัง พร้อมโปรโมชันพิเศษเฉพาะภายในงาน ซึ่งจัดอยู่ในพื้นที่อีก 4 สถานี
(Station) อาทิ PHUKET STATION (ภูเก็ต สเตชัน), TOKYO STATION (โตเกียว สเตชัน), L.A. STATION (แอลเอ สเตชัน) สามารถรับชมเวอร์ชวลคอนเสิร์ต ในรูปแบบออนไลน์ได้ที่สถานีนี้ และ PARIS STATION
(ปารีส สเตชัน)
สามารถติดตามรายละเอียดออนไลน์อีเว้นท์ ที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อไปได้ที่ https://tramsvirtualfest.com/