"ฉันคงไม่อาจทำให้เธอเปลี่ยนใจ ฉันคงไม่อาจทำให้เธอกลับมารักฉัน ฉันจึงขอแค่เพียงยังรักเธอจะได้ไหม รักเธอตลอดไป"
ท่อนฮุคจากบทเพลงฮิต "ไม่อาจเปลี่ยนใจ" ดังขึ้นเมื่อเรามีโอกาสได้พบกับศิลปินระดับตำนาน "เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์" นักร้องกระดูกเหล็กที่เติบโตในยุคเฟื่องฟูของวงการเพลง ที่วันนี้มานั่งเล่าย้อนวันวานความผูกพัน และเสน่ห์ของศิลปินยุค 90 ที่นักร้องยุคนี้ไม่เคยได้สัมผัสอย่างแน่นอน
"การเป็นศิลปินในยุค 90 เรียกได้ว่ามันเป็นของทุกคนเลยนะครับ เรียกได้ว่าขึ้นบนเวทีคอนเสิร์ตหรือว่าอะไร เรารู้สึกได้ว่ามันมีคนที่รักเรา ถ้าอย่างยุคปัจจุบันเปรียบเทียบให้เห็นอย่างง่าย ๆ ก็คือว่ามันจะเป็นเรื่องราวเฉพาะกลุ่ม เช่นคนนี้ก็จะเป็นของคนกลุ่มนี้ กลุ่มนั้น ก็จะแยกย่อยเยอะมาก แล้วก็อาจจะไม่ได้ผูกพันกัน"
เพราะฉะนั้นความรู้สึกที่ส่งมาจากแฟน ๆ ไม่เหมือนแน่นอนในยุค 90 คือกลุ่มทั้งประเทศ คือ กลุ่มเดียวเลย สมมติ ศิลปินคนนั้นออกมาดังหรือว่าประสบความสำเร็จก็จะรัก แล้วก็รักทั้งประเทศเลยส่งความรู้สึกนั้นมาคนที่เป็นศิลปินจะสัมผัสได้เลยว่า มันเป็นความรู้สึกที่ผูกพันแล้วก็ยิ่งใหญ่มากครับ"
"ตอนนั้นมันจะมีที่เป็นเหตุการณ์ที่คลาสสิคของศิลปิน 90 คือว่าเราจะมีเรื่องของการไปสัมภาษณ์วิทยุก่อน ก่อนจะไปเล่น ตอนสัมภาษณ์วิทยุนี่แหละครับ ซึ่งเวลาไประหว่างที่เราเดินทางจากที่พักไปที่สถานีวิทยุจะมีขบวนติดตามของน้อง ๆ แฟนคลับ ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็จะเป็นมอเตอร์ไซค์ เป็นรถยนต์บ้าง"
"เรียกได้ว่าถ้าศิลปินไป ศิลปินที่ประสบความสำเร็จไปคือเมืองปิดเลยถนนทั้งถนนจะมีรถขับมอเตอร์ไซค์ตาม ๆ พอไปถึงจุดที่สัมภาษณ์เขาก็จะไปให้กำลังใจกันแบบล้นหลาม บางงานที่เป็นตัวคอนเสิร์ต เขาจะมีเขาเรียกว่า แห่ก่อนเล่นเพื่อเป็นการบอกว่าไปถึงแล้ว มาจริงนะไม่หลอก แล้วขบวนรถแห่นี่แหละก็บรรยากาศราวกับงานประจำปีของจังหวัดนั้นเลย"
"ผมคิดว่าคือความผูกพัน ความยึดโยงกันในเชิงของความรู้สึก อันนี้ผมคิดเองนะอาจจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมคนเดียวก็ได้ ผมคิดว่าสังคมในยุค 90 มันต่างจากสังคมในปัจจุบัน สังคมในปัจจุบันคือทุกอย่างมันเร็วแล้วมันมาพร้อมกับคำว่าฉาบฉวย"
"แต่ในสังคมในยุค 90 มันคือค่อย ๆ ก่อร่างสร้างตัวความผูกพันค่อย ๆ รักกัน ค่อย ๆ เรียนรู้กัน มันเลยเป็นการยึดโยงกันแบบความรัก มันก็ชอบ แต่ชอบกันแบบรักและผูกพัน ผมว่าอันนี้ในยุคปัจจุบันน้อง ๆ ที่ๆ ทำงานเพลงอาจจะไม่ได้สัมผัสแบบนั้นนะ ผมรู้สึกเองผมว่าในยุคนั้นมันเจ๋งตรงนี้"
"มันลึกซึ้งมาก มันลึกซึ้งขนาดว่า 25 ปี 26 ปีแล้ว ทุกคนยังเหมือนเดิมมีแต่อายุวัยที่เปลี่ยนไปเท่านั้นเองแต่ความรู้สึกที่มีให้กันอย่างล่าสุดผมเล่นคลับเฮาส์เปิดห้อง 90 ทุกคนออกมาแสดงความรู้สึกแล้วทุกคนโตกันหมดแล้วยังรู้สึกได้เลยว่ามวลของความรู้สึกนั้นมันยังเหมือนเดิมเลย"
"มันก็รู้สึกว่ามันเป็นความภาคภูมิใจนะครับ การที่เราทำงานล้านตลับ มันประกอบด้วยกระบวนการทีมงานเยอะมาก ทีมทำเพลง ทีมทำภาพ ทีมโปรโมท ทีมพีอาร์ กว่างานจะออกมาครบล้านตลับได้ เพราะฉะนั้นมันคือความสำเร็จของกลุ่มคนทำงานด้วย"
"แล้วผมก็รู้สึกว่าล้านตลับตอนนั้นมันก็ไม่เหมือนร้อยล้านวิวพันล้านวิวตอนนี้ เพราะว่าบางครั้งเราสังเกตเห็นนักร้องบางทีร้อยล้านวิวห้าร้อยล้านวิว แต่ว่า ๆ คนก็ไม่รู้จัก คือเขาเฉพาะกลุ่มจริง ๆ แต่ถ้าอัลบั้มล้านตลับในยุค 90 ไม่ต้องห่วงครับ ไม่ว่าจะคนระดับไหนยากดีมีจน แม่ค้า ชาวบ้าน ร้านตลาด หรือจะเป็นคนมีฐานะรู้จักหมดแล้วรักหมด"
"สังเกตง่าย ๆ เวลาไปเล่นคอนเสิร์ตตามงานต่าง ๆ ก็จะมีแฟนคลับทุกแบบทุกระดับชั้นจริง ๆ แล้วก็สิ่งที่มันมากไปกว่านั้นก็คือว่ากลุ่มคนที่รักเรามีมากขึ้น เราสังเกตได้จากจดหมายสมัยนั้นยังเป็นจดหมายอยู่ ผมมีจดหมายอยู่ที่บ้านจนทุกวันนี้ 20 กว่าปีแล้วผมยังตอบไม่หมดเลย
"เพราะมันหลายหมื่นฉบับมากแล้วก็มันไม่สามารถที่จะตอบทันจริงๆ มีน้อง ๆ หลายคนเขา เขียนจดหมายมาตอนที่เขายังเรียนศึกษาชั้นมัธยมจนตอนนี้เขามีลูกแล้ว หนูยังไม่ได้จดหมายคำตอบจากพี่เลย ต้องยอมรับจริงๆ ว่ามันไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ที่รีไพลหรือว่าตอบไปทีเดียวได้เป็นร้อยเป็นพัน"
"เมื่อก่อนมันต้องค่อยๆ เขียนทีละฉบับมันเยอะ แล้วก็ของที่ส่งมาที่บ้านทุกอย่างมันแสดงให้เห็นเลยว่าความผูกพันของแฟน ๆ ที่มันขยายฐานขึ้นไปเรื่อย ๆ จนพอมันผ่านเวลาไปโลกมันเปลี่ยนด้วยเทคโนโลยีมันเปลี่ยนนั้นหละคือจุดเปลี่ยนของวงการเพลงไทย"
"ถ้าเป็นเรื่องของชีวิต ก็ไม่ได้สำเร็จทุกเรื่อง อยากมีลูกก็มีลูกยากอะไรอย่างเนี่ย ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่เรามองว่ามันก็คือมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งมันไม่มีใครสมบูรณ์ Perfect ไปซะหมด บางทีคนไปมองว่า ไร้น้ำยามั่ง ไม่มีน้ำยามั่ง อะไรผู้ชายน้ำยาหมดหรือไง มันไม่เกี่ยว มันไม่เกี่ยวเลย มันไม่เกี่ยวกับไร้น้ำยาหรือไม่ไร้น้ำยานะครับ"
"ความเชื่อผิด ๆ แรกเลยนะครับคำว่า ผู้ชายมีบุตรยาก คือคนไร้น้ำยา ไม่มีน้ำยาเนี่ยเลิกเถอะคำนี้ จริง ๆ แล้วเนี่ยคนมีน้ำยาหรือไม่มีน้ำยามันไม่ได้อยู่ที่มีบุตรยากหรือไม่มีบุตรยาก มันอยู่ที่ว่าพอมีบุตรยากแล้วคุณเริ่มที่จะหาเหตุผลหรือเปล่า
"แล้วก็ไปลงมือดูแลตัวเองหรือเปล่า เพราะฉะนั้นมันไม่ได้วัดความเป็นชายศักดิ์ศรีอยู่ที่ตรงนี้มันวัดกันที่ว่ามีปัญหาแล้วลุกขึ้นมารับผิดชอบดูแลตัวเองไปพร้อม ๆ กับภรรยาหรือเปล่า นั้นแหละที่จะเป็นตัวบอกว่าศักดิ์ศรีของความเป็นชายมันอยู่ที่ว่าคุณต้องกล้าที่จะลุกขึ้นมารับหรือว่ารู้ว่าตัวองมีปัญหาแล้วก็แก้ไขมัน"
"แล้วก็คุณพ่อคุณแม่ที่มีบุตรยากผมให้กำลังใจเลยมีบุตรยากเป็นเรื่องที่สามารถที่จะดูแลแก้ไขได้ถ้าหากรู้ว่าสาเหตุมันคืออะไร ส่วนใหญ่ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ ไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไรแล้วก็ไม่รู้ทางแก้ แล้วไปโทษผู้หญิงบ้างแหละ โทษผู้ชายบ้างแหละ จริงๆ ไปรู้ให้จริง ๆ ไปปรึกษาแพทย์ หรือไม่ก็มาศึกษาความรู้ที่เราหามาให้อยู่แล้วก็ได้นะครับที่เพจ babyandmom.co.th ครับ"