กรมอุตุฯ ประกาศเตือน "พายุฤดูร้อน" ฉบับที่ 4 ระวังฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่ากับมีลูกเห็บ กทม. ไม่รอดช่วงวันที่ 2-4 มีนาคม 64
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 4 มีนาคม 2564)
ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 01 มีนาคม 2564ในช่วงวันที่ 2-4 มีนาคม 2564 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุ ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จึงขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกที่จะเกิดขึ้นโดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
โดยจะมีผลกระทบดังนี้
ในช่วงวันที่ 2 มีนาคม 2564
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรสงครามและราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ในช่วงวันที่ 3 มีนาคม 2564
ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
วันที่ 4 มีนาคม 2564
ภาคเหนือ: จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์
ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้แล้ว ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อมูลจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา