svasdssvasds

โควิดทำพิษ เปิ้ล-จูน แบกหนี้ 10 ล้าน กัดฟันสู้เพื่อลูกน้อง 100 ชีวิต

โควิดทำพิษ เปิ้ล-จูน แบกหนี้ 10 ล้าน กัดฟันสู้เพื่อลูกน้อง 100 ชีวิต

เปิ้ล นาคร ศิลาชัย และ จูน กษมา ศิลาชัย ควักเงินลงทุน 10 ล้านเปิดธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวเรือชาบู Sail To The Moon By Nakorn พระราม 3 ผ่านไปได้เดือนกว่าๆ ก็มาเจอสถานการณ์โควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ จากทุกอย่างกำลังไปได้ดีคนแน่นร้าน ต้องปรับเปลี่ยนหากลยุทธ์เพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดปิดร้านทำเป็นเดลิเวอรี่และไดร์ฟทรู เพื่อต่อลมหายใจให้ลูกน้องกว่า 100 ชีวิต

ธุรกิจก๋วยเตี๋ยวเรือชาบู อ่วมเจอพิษโควิด-19 ระลอกใหม่

 จูน กษมา :  "เปิดมาได้เดือนนิดๆ ค่ะ แล้วก็เจอโควิด-19 เลยค่ะ"
 เปิ้ล นาคร : "เราก็คาดไม่ถึงเหมือนกัน ซึ่งๆ เชื่อว่าทุกคนทั้งประเทศ ทั้งโลกก็คาดไม่ถึงหรอกว่าจะเจอสถานการณ์แบบนี้อีกครั้งนึง ก็โดนเข้าเต็มๆ เพราะว่า Sail To The Moon ของเรา เราก็เปิดมาก็มีพนักงานค่อนข้างจะเยอะอยู่ ที่สำคัญก็คือพนักงานประมาณเกือบ 50 คน 2 สาขารวมกับคุณทองบายนาครรัชดาซอย 4 ด้วยก็อีกประมาณเกือบ 50 คน รวม 2 ร้านก็เกือบ 100 คน เรามีพนักงานที่จะต้องดูแลอยู่เกือบ 100 คนที่พอทางรัฐบาลสั่งว่าให้เปิดได้ถึง 3 ทุ่ม เราก็ปฎิบัติตามนั้นดู"

จูน กษมา : "ปฎิบัติได้อยู่ 2 วัน รู้สึกได้เลยว่าทุกคนแบบกลัวกันหมด ลูกค้าเพราะว่าจูนเข้ามาเฝ้าร้านเองใช่ไหมคะ ลูกค้าที่มาเราก็รับความรู้สึกได้ว่าทุกคน เด็กเสิร์ฟและจูนเองที่อยู่ทางร้านก็ระแวงกันเอง ต่างคนต่างระแวงก็เลยตัดปัญหาไปเลยดีกว่า"
เปิ้ล นาคร : "ต่างคนต่างมองหน้ากันเหมือนคุณเป็นซอมบี้หรือเปล่าคือเรามีความรู้สึกว่าถึงจะเปิดได้ถึง3 ทุ่มก็ตาม กับสถานการณ์ที่มันโตขึ้นทุกวันแบบนี้ มันก็ทำให้เราทั้งคนกินด้วยก็ลดน้อยลงมาก จากประมาณ 100 % เหลือไม่ถึง 10 % ดีกว่าที่มานั่ง

"จากพนักงานของเราที่มีร่วม 100 คนเราก็จะไปลดลงไป หรือไปให้เขาหยุดงาน เราก็ทำไม่ได้ เพราะว่ามันก็เขาก็จะตกงาน ซึ่งมันก็จะไปเป็นภาระของรัฐบาล เป็นภาระของสังคมอีก ฉะนั้นเราก็เลยเอาไงดี เพราะค่าเช่า 2 ที่ก็เป็นล้านนะครับ"

"ค่าใช้จ่าย ค่าแรงงาน ค่าพนักงาน เยอะมากๆ มันเป็นภาวะที่เราเข้าใจแหละว่าไม่ใช่แค่เราเจอเท่านั้น คนไทยทั้งประเทศเจอ คนที่เดือดร้อนมากกว่าครอบครัวเราก็มีน่าจะเยอะมากๆ ยิ่งพ่อแม่พี่น้องที่ทำร้านค้าต่างๆ ทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่อาหารอีก"

"ทุกคนโดนกันหมด เพราะฉะนั้นมาถึงตรงนี้เราก็มองหน้ากับจูนเราจะไปต่อยังไงดี ซึ่งสุดท้ายเดลิเวอรี่ ก็เป็นทางออกของเรา ส่วนจะเปิดร้านต่อไหมก็มองหน้ากันซักพักแล้วก็คิดว่าปิดเถอะ"

โควิดทำพิษ เปิ้ล-จูน แบกหนี้ 10 ล้าน กัดฟันสู้เพื่อลูกน้อง 100 ชีวิต

ยอมปิดร้านขายเดลิเวอรี่รับผิดชอบต่อสังคม

จูน กษมา :  "จริงๆ ที่เราอยากปิดคือเหมือนเราก็แสดงความรับผิดชอบด้วยแหละว่าอย่างเราก็ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพราะว่าถ้าเรายังเปิดอยู่ แล้วสมมติจริงๆ ว่ามีคนกินแล้วมีไทม์ไลน์มาที่ร้านเรา มันจะหนักไปกว่านี้ ทุกคนจะหนักกว่านี้อีก ก็บอกพี่เปิ้ลเราปิดเถอะ แล้วเรากลับทำเป็นเดลิเวอรี่เหมือนตอนที่เป็นโควิด-19 ครั้งแรก มันต้องได้ คนอื่นเขายังได้เลย"

โควิดทำพิษ เปิ้ล-จูน แบกหนี้ 10 ล้าน กัดฟันสู้เพื่อลูกน้อง 100 ชีวิต

ปรับกลยุทธ์ลดค่าใช้จ่ายหวังให้ธุรกิจไปต่อ

เปิ้ล นาคร :  "ค่าจ้างตอนนี้เราดูที่ยอดขายจากเดลิเวอรี่ด้วย จากวัน 2 วันที่เปิดมายอดขายแทบจะไม่มีเลย เพราะยังไม่ค่อยมีใครรู้ว่าทางเราเปิดเดลิเวอรี่แล้ว แล้วก็ยังไม่มีใครรู้ว่าเราปิดร้านแล้ว หลายคนมาที่ร้านแล้วเราก็แจ้งเขาไปว่าเราปิด เขาก็กลับไป" 

"แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเดลิเวอรี่มันเป็นยังไง ระบบต่างๆ ร้านนี้ก็ยังไม่เคยทำ เขาก็ยังไม่รู้แต่วันนี้เราเซตทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นเนี่ยเราก็เลยต้องบอกพนักงานทุกคนด้วยให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายพี่ขอลดค่าแรงลงนิดนึงนะ มาทำงานวันเว้นวันได้ไหมอะไรอย่างเนี่ย"

 "ในส่วนไหนที่จำเป็นก็ต้องทำงานกันเต็มวันทุกวัน มันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้ อย่างน้อยเด็กก็จะมีเงินไปจ่ายค่าห้องพัก ส่วนค่าอาหารเราเลี้ยงดูปูเสื่อทุกวันอยู่แล้วไม่ต้องห่วงเลย" 

"นอกนั้นก็น่าจะพอที่จะอยู่ได้ แล้วไม่ต้องไปไหนนะ ไม่ต้องกลับบ้านเกิดตัวเอง ไม่ต้องโยกย้ายเพราะเดี๋ยวจะเสียนโยบายของผู้ใหญ่ที่เขาวางมาให้ ก็พยายามทำให้ดีที่สุด"

โควิดทำพิษ เปิ้ล-จูน แบกหนี้ 10 ล้าน กัดฟันสู้เพื่อลูกน้อง 100 ชีวิต

ทำใจธุรกิจทุนหายกำไรหด

 เปิ้ล นาคร : "คือร้านอาหารเนี่ยใช้ทุนก็เป็น 10 ล้าน ถามว่าได้คืนตอนนี้มั้ย ไม่ได้แน่ๆ อยู่แล้ว มีทางเดียวคือ อย่าทำให้ขาดทุนในแต่ละเดือน เพราะฉะนั้นถึงได้บอกว่าถ้าไม่ขายเลย ก็จะไม่เกิดรายจ่าย หมายถึงเราก็ไม่ต้องซื้อต้นทุนอาหารมาขาย

แต่มันก็อาจจะมีเงินเดือนของพนักงาน ถ้าเราปิดไปเลย ถ้าเราไม่รับผิดชอบเลย ต่างคนต่างไปน้องพี่ไม่ทำแล้ว เงินเดือนไม่ต้องจ่าย เนื้อก็ไม่ต้องซื้อมา หมูก็ไม่ต้องไปซื้อมาจบ ไม่มีรายจ่าย

"แต่ตอนนี้เราก็ทิ้งน้องไม่ได้เพราะต้องดูแลต้องมีรายจ่าย เพราะฉะนั้นก็ต้องมีรายรับจากการขายอาหาร ทำเดลิเวอรี่เพื่อพนักงานในร้านเลย เพราะว่ายังไงก็ไม่ได้กำไรไม่ถึงตัวเราอยู่แล้ว แต่เราภาวนาขอแค่คนสั่งเดลิเวอรี่เราเยอะๆ เพื่อได้เงินมาเลี้ยงพนักงานเกือบร้อยคนให้พอก็พอแล้ว"

โควิดทำพิษ เปิ้ล-จูน แบกหนี้ 10 ล้าน กัดฟันสู้เพื่อลูกน้อง 100 ชีวิต

อยากให้ภาครัฐมีมาตรการเยียวยาอะไรบ้าง

เปิ้ล นาคร : "ขอเป็นตัวแทนให้กับคนไทยที่ทำมาค้าขายนะครับไม่ว่าจะอาชีพใดก็ตาม กับผู้ใหญ่รัฐบาลว่าเราก็เข้าใจว่าทางรัฐบาลก็ตระหนักก็คิดทุกวิถีทาง ทุกหน่วยงานคิดทุกวิถีทางที่ช่วยคนไทยให้รอดพ้นไปให้ได้มากที่สุด

เราก็แค่อยากจะให้เขาช่วยคนที่ลำบากที่สุดก่อนเอาตรงๆ เพราะครอบครัวเรายังพอดูแลได้ร้อยคนยังพอดูแลได้ แต่อีกหลายล้านคนให้รัฐบาลลงไปดูแลเขาให้มากกว่านี้ มีนโยบายอะไรต่างๆ เงินเฉียดไปให้เขาห็เร็วกว่านี้และก็ให้ครบทุกคนมากกว่านี้

"เพราะว่าบางคนก็อาจจะแบบจะรออีกตั้งเดือนนึงแล้วเขาจะไปยืมใครมาอีกมันก็มีปัญหานอกระบบอีกก็อยากจะให้ทำให้เร็วที่สุด รู้ว่าทางผู้ใหญ่ก็เหนื่อยแต่ก็เป็นห่วงมากๆ และก็ที่สำคัญคือพ่อแม่พี่น้องทุกคนก็ต้องอย่าไปท้อต้องหาทางช่วยเหลือตัวเอง"

"ทำอะไรได้ทำไปก่อน ช่วยตัวเองได้ช่วยตัวเองให้เต็มที่ไปก่อน เราก็ไม่มีความรู้พอที่จะไปขอผู้ใหญ่ให้ได้ยังไง คนที่รับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจน่าจะมีทางออกที่มีไอเดียที่ดีกว่าเราเยอะมากที่เตรียมไว้แล้ว"

โควิดทำพิษ เปิ้ล-จูน แบกหนี้ 10 ล้าน กัดฟันสู้เพื่อลูกน้อง 100 ชีวิต

 

 

related