svasdssvasds

สหรัฐฯ จะเป็นเช่นไร ? หลัง “ม็อบไม่รับผลเลือกตั้ง” บุกรัฐสภา

สหรัฐฯ จะเป็นเช่นไร ? หลัง “ม็อบไม่รับผลเลือกตั้ง” บุกรัฐสภา

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร วิเคราะห์การเมืองสหรัฐฯ จากกรณีที่ม็อบหนุนทรัมป์ ไม่รับผลเลือกตั้ง บุกรัฐสภา

แม้ในที่สุดสภาคองเกรส จะสามารถประกาศรับรองให้นายโจ ไบเดน เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้โดยเขาจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 46 ของประเทศ อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 20 มกราคมนี้

ขณะที่โดนัลด์ ทรัมป์ก็ยอมรับความพ่ายแพ้ และพร้อมส่งมอบตำแหน่ง หลังจากม็อบหนุนตน บุกอาคารรัฐสภา กลางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. จนมีผู้เสียชีวิต 4 ราย

แต่ก็ถือว่าเป็นรอยด่างในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐฯ ซึ่ง รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ในภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สัมภาษณ์กับสปริงว่า สิ่งที่เกิดขึ้นได้สะท้อนสภาพสังคมอเมริกาในเวลานี้ ที่ไม่เพียงโคม่าจากสถานการณ์โควิด-19 แต่การเมืองในประเทศ ก็อยู่ในช่วงหนักหนาสาหัสเช่นกัน

“เหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาตร์การเมืองสหรัฐฯ โดยเฉพาะการสูญเสียชีวิต เรื่องนี้ค่อนข้างส่งผลกระทบต่อพัฒนาการประชาธิปไตยของสหรัฐฯ แล้วก็หลายประเทศที่เอารูปแบบของสหรัฐฯ ไปใช้” รศ.ดร.ปณิธาน กล่าว ก่อนแจกแจงประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

สหรัฐฯ จะเป็นเช่นไร ? หลัง “ม็อบไม่รับผลเลือกตั้ง” บุกรัฐสภา

การเปลี่ยนผ่านอำนาจที่ไม่ราบรื่น

“ที่แล้วมา ผู้ชนะและผู้แพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สามารถที่จะร่วมมือกันในการถ่ายโอนอำนาจ แต่ครั้งนี้ไม่เป็นไปตามที่คาดคิด

“และความเชื่อที่ว่าพื้นฐานประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ระบบตรวจสอบและถ่วงดุลคานอำนาจของสหรัฐฯ หลักการประชาธิปไตยที่ประชาชนคุ้นเคย จะทำให้ก้าวข้ามการเปลี่ยนผ่านอำนาจไปได้ ก็ไม่เป็นความจริงอีกต่อไป

“อันนี้อาจจะต้องไปถกเถียงกันเพิ่มมากขึ้นว่า เพราะอะไร มันเกิดขึ้นจากพื้นฐานใด แล้วประเด็นสำคัญเป็นอย่างไร”

ผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านอำนาจที่ไม่ราบรื่น

“ความแปรปวนตรงนี้ น่าจะส่งผลให้การเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ ของ โจ ไบเดน อาจล่าช้าไปอีก (ตามกำหนด รับตำแหน่งอย่างเป็นทางวันที่ 20 มกราคม) ส่งผลให้การกอบกู้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น

และสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อประธานาธิบดีไม่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนหนึ่ง ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย (แม้จะชนะเลือกตั้ง) ก็จะเป็นอีกปัญหาหนึ่ง (ในหลายๆ ปัญหา) ที่ทำให้การบริหารประเทศอาจไม่ราบรื่น

สหรัฐฯ จะเป็นเช่นไร ? หลัง “ม็อบไม่รับผลเลือกตั้ง” บุกรัฐสภา

ผลกระทบจากบุคคล และอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่าง

“เราคงมองข้ามผลกระทบจากตัวบุคคลไม่ได้ โดยทรัมป์มีบุคลิกที่โดดเด่น ที่พิเศษกว่าประธานาธิบดีคนอื่นๆ หลายประการ จนทำให้รับได้ความนิยมจากประชานส่วนหนึ่งเป็นอย่างมาก

“แนวทางอนุรักษ์นิยมค่อนข้างเข้มข้น ก็มาจากกลุ่มที่สนับสนุนทรัมป์ โดยเฉพาะในมลรัฐที่พึ่งพาอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม และไม่ได้ปรับพื้นฐานให้เหมาะกับการแข่งขันสมัยใหม่ ต่างจากมลรัฐที่อยู่ริมฝั่งทะเลทางตะวันออก และทางตะวันตก ซึ่งสนับสนุนพรรเดโมแครต และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ รวมถึงการยกระดับทักษะะต่างๆ ขึ้นมา

“เพราะฉะนั้นพัฒนาการของอนุรักษ์นิยมแบบสุดขั้ว สุดโต่ง ก็ยังมีต่อไป ตราบใดที่มลรัฐเหล่านั้นยังไม่สามารถปรับตัวได้”

ความท้าทายของ โจ ไบเดน

“โจ ไบเดน มีปัจจัยบวกหลายด้าน มีประสบการณ์ทางการเมืองสูงมาก เป็นรองประธานาธิบดี 8 ปี เป็นวุฒิสภายาวนานต่อเนื่องกว่า 30 ปี และเป็นคนที่นิยมทางสายกลาง

“ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิกฤตมาเยอะ ไม่ว่าจะเป็นสงคราวเย็น วิกฤตเศรษฐกิจ หรือแม้แต่วิกฤตครอบครัว การสูญเสียภรรยา ลูก ก็ผ่านมาหมดแล้ว ทำให้เขามีทักษะและความเยือกเย็น มีประสบการณ์ที่สูง

“แต่ปัญหาก็คือ อายุที่มาก เป็นว่าที่ประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุด ก็ต้องดูต่อไปครับว่า เขาจะสามารถกู้วิกฤตได้มากน้อยขนาดไหน แต่หลายคนก็คิดว่าน่าจะดีกว่าหันไปทางอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง และหวังว่า หลังจากโจ ไบเดน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการแล้ว สถานการณ์ในสหรัฐฯ น่าจะดีขึ้นกว่าเดิม”

สหรัฐฯ จะเป็นเช่นไร ? หลัง “ม็อบไม่รับผลเลือกตั้ง” บุกรัฐสภา

related