วันนี้จะพาไปเปิดที่มาที่ไปของดีลอร่อยขนมหวานบนชานชาลาอาฟเตอร์ยู & บีทีเอส ที่เป็นข่าวโด่งดังไปเมื่อเร็ว ๆนี้ ว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไรบ้างถึงดีลกันได้ลงตัว และแผนงานในอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้นเชื่อว่านักลงทุนในตลาดหุ้นกำลังจับตามองเป็นพิเศษ
ตามที่ได้เป็นข่าวไปเมื่อเร็วๆ คนที่อยู่ในแวววงหุ้นจะรู้เรื่องที่บมจ. อาฟเตอร์ ยู (AU) ซึ่งดำเนินธุรกิจร้านขนมหวานภายใต้แบรนด์ “After You” ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าได้มีการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯบนกระดานรายใหญ่ (Big Lot) จำนวน 66 ล้านหุ้น คิด 8.1% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดกับบมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอช ที่เรารู้จักกันดีและใช้บริการไปทำงานทุกวันสำหรับคนเมืองหลวง
หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าทั้ง 2 ฝ่ายต้องมองเห็นโอกาสในการลงทุนอะไรร่วมกันแน่ ๆ ถึงได้มาตกลงปลงใจขายหุ้นให้กัน แต่ก็ต้องจับตากันต่อไปว่าจะมีการลงทุนอะไรใหม่ ๆ เกิดขึ้นไหมในปี 2564 จุดนี้นักลงทุนกำลังจับตามองแน่นอนเพราะถือว่าเป็นข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งส่งท้ายปี 2563 เช่นกัน
สำหรับการซื้อขายในครั้งนี้ทางฝั่งบริษัทอาฟเตอร์ยู ได้ชี้แจงว่า การขายหุ้นของบริษัทฯมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสนอขายให้กับบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสในการผนึกกำลังและขยายเครือข่ายงานต่อไปในอนาคตของทั้งสองฝ่าย พร้อมกันนี้ยังได้ย้ำว่าการขายหุ้นในครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างการจัดการและนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯแต่อย่างใด ซึ่งในปัจจุบันอาฟเตอร์ยูมีสาขาอยู่ราว 41 สาขา และเพิ่งเปิดสาขาในต่างประเทศแห่งแรกที่ฮ่องกง
ทั้งนี้รายการบิ๊กล็อตหุ้น AU ทั้งหมด 2 ครั้ง รวม 66 ล้านหุ้น ที่ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 10 บาท คิดเป็นมูลค่ารวม 660 ล้านบาท โดยจากนี้ไปกลุ่มบีทีเอสจะเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 8.1% ในบริษัทอาฟเตอร์ยูก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 3
ในส่วนของฝั่งบีทีเอชก็ที่รู้ ๆกันอยู่คือตอนนี้ และอนาคตจะยังคงเดินหน้าขยายในแต่ละสายไปเรื่อย ๆ ซึ่งในปีนี้ก็ทยอยเปิดส่วนต่อขยายหลายสาย และในปี 2564 ก็จะยังเดินหน้าในการขยายในแต่ละสายที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแผนงานทั้งหมดจะทำให้ในอนาคตบีทีเอชจะมีรายได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงโอกาสในการบริหารจัดการพื้นที่ค้าปลีกบนสถานีเพื่อจับกลุ่มลูกค้าคนกรุง ฯ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง
โดยมุมมองนักวิเคราะห์หลายท่านมองว่า ในปัจจุบันสถานี BTS ที่บริษัทในเครือ BTS บริหารมีอยู่ 30 สถานี ซึ่งเป็นทำเลทองคือสายวงเวียนใหญ่-สนามกีฬา และหมอชิต-แบริ่ง จากทั้งหมด 59 สถานี ส่วนสาเหตุที่บีทีเอชตัดสินใจซื้อหุ้นอาฟเตอร์ยูในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากต้องการนำร้านไปเปิดบนสถานีเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหารายได้เพิ่ม
ความน่าสนใจส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่โมเดลธุรกิจของอาฟเตอร์ยูมีความน่าสนใจโดยจะเน้นการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภครุนใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้มีความน่าสนใจอย่างมาก ส่วนการที่บีทีเอชจะนำร้านอาฟเตอร์ยูขึ้นไปบนสถานีนั้นก็ถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพสูงและมีทราฟฟิกหนาแน่นหรืออาจจะเห็นการเปิดสาขาตามโครงการอสังหาฯต่าง ๆที่ทางบีทีเอสกรุ๊ปมีอยู่
อย่างไรก็ตามสำหรับบีทีเอชเองช่วงที่ผ่านมาได้เห็นความความพยายามขยายเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆเพื่อนำมาเสริมศักยภาพ เช่น ‘บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน)’ บริษัทในเครือบีทีเอส กรุ๊ป ได้ร่วมลงทุนกับ ‘บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด’ และ ‘บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)’ ตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ‘Lawson108’ บนสถานี BTS ซึ่งตั้งเป้าจะเปิดใน 30 สถานี ดังนั้นไม่แปลกที่บีทีเอชจะซื้อหุ้นของอาฟเตอร์ยูเพื่อหาช่องทางทำธุรกิจใหม่ ๆ รองรับในอนาคต ต้องจับตาดูกันต่อไปว่ารูปแบบในครั้งนี้จะเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์หรือไม่ ?