svasdssvasds

คปท. ออกจดมายเปิดผนึก บีบ อัศวิน ลาออก ปลดล็อคเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

คปท. ออกจดมายเปิดผนึก บีบ อัศวิน ลาออก ปลดล็อคเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

75 อาจารย์มหาวิทยาลัยลงชื่อ คปท. ออก จดหมายเปิดผนึก จี้ อัศวิน ลาออก เปิดทางเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. โดยเร็ว

คปท. ออกจดมายเปิดผนึก บีบ อัศวิน ลาออก ปลดล็อคเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

กลุ่มเครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น(คปท.) เผยแพร่จดหมายเปิดผนึก มีเนื้อหาระบุว่า ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีรัฐบาลสืบทอดอำนาจรัฐประหารได้แถลง เมื่อ 6 ตุลาคม 2563 ว่าจะให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นเฉพาะ อบจ. 76 จังหวัดเท่านั้น โดยกรุงเทพมหานครจะถูกแช่แข็งการเลือกตั้งออกไปอีกราวหนึ่งปี หรืออาจเกิดอุบัติการณ์แช่แข็งต่อไปอีกนานตามแรงปรารถนาของฝ่ายรัฐทหาร ซึ่งในความเป็นจริงและถูกต้องเหมาะสมแล้ว การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และนายกเมืองพัทยา รวมทั้งสมาชิกสภานั้น สามารถจัดการเลือกตั้งพร้อมกันได้ทันทีกับการจัดเลือกตั้ง อบจ. โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่มีประชาชน 6 ล้านคนในทะเบียนบ้าน แต่มีประชากรอยู่อาศัยกว่า 12 ล้านคน ทั้งยังสัมพันธ์กับประชากรในปริมณฑลกับกรุงเทพอีกหลายล้านคนอันเป็นแกนหลักหัวใจสำคัญของประเทศไทย กรุงเทพมหานครเสมือนเป็นไข่แดงของประเทศไทย   โปรโมชั่น 10.10 Lazada จัดเต็มส่วนลดมาให้ช้อปไม่อั้น และมีสินค้าแบรนด์ชั้นนำให้เลือกช้อปกว่าพันรายการ!

 

แต่การแช่แข็งที่เป็นดังนี้ชี้ว่า รัฐบาลนี้ได้แสดงออกถึงเจตจำนงอย่างชัดแจ้งว่ายังไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชนทั้งประเทศอย่างพร้อมกัน โดยไม่ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และนายกเมืองพัทยาไปพร้อมกับเลือกตั้ง อบจ. ดังนั้นเครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่นจึงมีมติให้ พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครใหม่ตามเจตจำนงอันเป็นอำนาจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

คปท. ออกจดมายเปิดผนึก บีบ อัศวิน ลาออก ปลดล็อคเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

 

 

นอกจากนี้ ในจดหมายเปิดผนึก ยังเสนอไปถึง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. มีเนื้อหาระบุว่า ตามที่ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานคร จากคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 64/2559 ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาครบ 4 ปีเต็ม ในสถานการณ์ที่ประชาชนและสังคมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นโดยเร็วอย่างกว้างขวาง แต่รัฐบาลไม่มีความชัดเจนต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว ทั้งที่การเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนทั้งประเทศหากประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศก็จะเข้มแข็ง ดังนั้นเพื่อร่วมกันฟื้นฟูประชาธิปไตยท้องถิ่นที่ถูกแช่แข็งมานาน 7 ปีและเพื่อเร่งรัดให้รัฐบาลจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่ กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญของประเทศในทุกด้าน เพื่อที่จะได้ผู้บริหารที่มีความชอบธรรมจากอำนาจของประชาชน และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นซึ่งเป็นหัวใจและรากฐานสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยของชาติไทยเรา อันจะนำไปสู่ความเลื่อมใสศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในที่สุด

เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น จึงเห็นว่า ขอให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แสดงสปิริตทางการเมือง (Political Spirit) เพื่อร่วมสร้างประชาธิปไตยไทย ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครใหม่ตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว ต่อไป

จึงเรียนมาโปรดพิจารณาลาออก ขอแสดงความนับถือ เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.)

อาจารย์นักวิชาการลงนามในจดหมายเปิดผนึกเครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.)

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บูฆอรี ยีหมะ รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.สงขลา

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุฑฒจักร สิทธิ รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์   การปกครองท้องถิ่น มรภ.พระนครศรีอยุธยา

6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม

7. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง  คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสน์ ม.เชียงใหม่

8. รองศาสตราจารย์ ดร.รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข รัฐศาสตร์ ม.บูรพา

9. อาจารย์ ฌญาพัทร์ ธัญญกิจ  รัฐศาสตร์ ม.บูรพา

10. อาจารย์ จิรายุทธ์ สีม่วง  รัฐศาสตร์ ม.บูรพา

11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพพร ขุนค้า  รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.ราชนคนินทร์

12. ศิวัช ศรีโภคางกุล  วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น

13. ปราโมทย์ ระวิน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา

14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์  คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

15. อาจารย์ วิชาญ ฤทธิธรรม รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร

16. อาจารย์ เกรียงไกร ศรีโนนเรือง รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร

17. สรพจน์ เสวนคุณากร  คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา คล้ายเดช  รัฐศาสตร์ ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ชัยภูมิ

19. อาจารย์ ธีระพงษ์ ทศวัฒน์  การพัฒนาสังคม มรภ.ราชนครินทร์

20. อาจารย์ ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ  นิติศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา

21. อาจารย์ ธีรพงศ์ ไชยมังคละ  การบริหารและการพัฒนาชุมชน มรภ.จันทรเกษม

22. ดร.ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา คณะรัฐศาสตร์ มรภ.ชัยภูมิ

23. เคท ครั้งพิบูลย์  คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

24. กำพล จำปาพันธ์  นักศึกษาปริญญาเอก สาขาประวัติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

25. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา  คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม. ธรรมศาสตร์

26. นพพร ศาลางาม  นักศึกษาปริญญาเอก วิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก

27. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกรินทร์ ต่วนศิริ  คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

28. รองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ ทองเฝือ  คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

29. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มูฮัมหมัด อิลยาส หญ้าปรัง  คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

30. อาจารย์ ดร.ขนิษฐา สุขสง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

31. อาจารย์ จ.ส.ต. ดร.รัฐ กันภัย รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.เพชรบุรี

32. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.เพชรบุรี

33. อาจารย์ คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา

34. ภัสสรา บุญญฤทธิ์  นักศึกษาปริญญาเอกสาขา Gender and Development Studies (GDS),  Asian Institute of Technology (AIT)

35. สุไรนี สายนุ้ย  คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี

36. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

37. ปฐวี โชติอนันต์  คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

38. รองศาสตราจารย์ สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณ  อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

39. อาจารย์ วีรศักดิ์ บำรุงตา รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร

40. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ  คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

41. อันธิฌา แสงชัย  ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

42. พสิษฐ์ วงษ์งามดี  คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

43. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มูนีเราะฮ์ ยีดำ รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา

44. อาจารย์ วรางคณา ปัญญามี  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา

45. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร  สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

46. เผ่า นวกุล คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

47. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไททัศน์ มาลา  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ

48. รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ  คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

49. คมสัน พรมรินทร์ นักศึกษาปริญญาเอก ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

50. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปกาศิต เจิมรอด นิติศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา

51. สุนทรชัย ชอบยศ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

52. ดร.นพพล อัคฮาด  รัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาการจัดการ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

53. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก

54. อาจารย์ ศราวุฒิ วิสาพรม วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

55. อาจารย์ ศุภกร ชมศิริ  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ

56. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย ผลเจริญ  วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

57. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.พะเยา

58. ศักดิ์สิทธิ์ ฆารเลิศ  รัฐศาสตร์ มรภ.ร้อยเอ็ด

59. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ นพแก้ว รัฐศาสตร์ มรภ.นครสวรรค์

60. กิตติพัฒน์ คงมะกล่ำ รัฐศาสตร์ มรภ.นครสวรรค์

61. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล เครือแสง  รัฐศาสตร์ มรภ.นครสวรรค์

62. นพพล แก่งจำปา  ประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม

63. ดร.โอฬาร อ่องฬะ  รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่

64. นายอลงกรณ์ ศิลปดอนบม  นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

65. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน  ปรัชญาสังคมและวัฒนธรรม มรภ.มหาสารคาม

66. อาจารย์ ปฐมพงศ์ มโนหาญ  สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ม.แม่ฟ้าหลวง

67. ชัยพงษ์ สำเนียง  ประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร

68. ศรันย์ สมันตรัฐ  ภูมิสถาปัตยกรรม ม.เกษตรศาสตร์

69. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ บังเพลิง  คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ม.มหาสารคาม

70. เอกราช มะลิวรรณ์  ศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

71. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศักดิ์ สายจำปา  รัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

72. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล  วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ม.ธรรมศาสตร์

73. ณัฐพงศ์ มาลี  คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

74. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

75. อาจารย์ ปฤณ เทพนรินทร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

related