ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
สาวโพสต์เตือนภัยโดนแก๊งมิจฉาชีพหลอกซ้ำซ้อนเริ่มจากสั่งของไม่ส่ง "พอติดกับ" ทำทีแกล้งเป็นธนาคารติดต่อมาเพื่อช่วยเหลือด้วยการขอรหัส OTP ที่ผูกติดไว้กับอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งก่อนทำการลอบเข้าไปขโมยเงินจนเกลี้ยงบัญชี
ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Cat Khanittha เล่าอุทาหรณ์ถูกมิจฉาชีพทำงานเป็นทีมหลอกซ้ำซ้อนจนสูญเงินกว่า 45,000 บาท ระบุว่า "#อยากเตือนภัย #ภัยไกล้ตัวที่สามารถเจอได้ทุกรูปแบบ เงิน45,000฿ หายเกลี้ยงภายใน1นาที #เสียค่าโง่จริงๆ มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ #ขอเล่าอยากให้อ่าน เริ่มต้นจากโดนโกงจากการสั่งของไม่ส่งแล้วบล็อกเรา ได้ไปโพสต์ในกลุ่มเพื่อประจานคนที่โกง หลังจากนั้นมีคนทักเฟสบุ๊คมาถามและบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการโกง ว่าให้สามารถแจ้งหลักฐานไปที่ธนาคาร แล้วจะได้เงินคืน ด้วยความที่เราก็อยากได้เงินคืนจึง@ไลน์ตามลิ้งค์ที่เขาให้มา และทำการส่งหลักฐานให้ทางธนาคาร แต่ต้องมีการยืนยันตัวตนเพื่อรับเงินคืน เราไม่ได้เอะใจเลยและได้กรอกยืนยันตัวตนตามลิ้งค์ที่ธนาคารส่งให้ หลังจากส่งข้อมูลเสร็จไม่ถึง1นาที แอพพลิเคชั่นscbธนาคารไทยพาณิชของเราก็เด้งออกเอง พอทำการเข้าแอปใหม่ได้ เงินในบัญชีจาก45,000฿ ก็เหลือ25,000฿ เหลือ15,000฿ และหมดเกลี้ยงบัญชี เงินได้ถูกโอนไปยังบัญชีพร้อมเพล์2บัญชี25,000฿และโอนจ่ายบิลv-pay20,000฿ หลังจากนั้นธนาคารปลอมก็ยกเลิกข้อความทั้งหมดที่คุยกับเราและบล็อกเราทันที #ตอนนี้ได้แจ้งความดำเนินคดีแล้ว ได้แต่รอและหวังว่าจะได้เงินคืนไม่มากก็น้อย มิจฉาชีพพวกนี้ทำเป็นขบวนการมาในรูปแบบแม่ค้า,ลูกค้า,แอบอ้างเป็นผู้หวังดี,หรือจนท.ธนาคาร เพื่อส่งลิ้งค์ให้ หรือขอข้อมูลส่วนตัว (หมายเลขบัตรประชาชน / ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ /รหัสOPT) สำคัญมาก ห้ามให้ไครเด็ดขาด #ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเอง จุกเลยเงิน 45,000฿ กว่าจะหามาได้ ถ้าไม่ได้เงินคืนก็ถือว่าเป็นบทเรียน ถือว่าเสียค่าโง่ แต่ขอร้องให้ตำรวจตามคดีและจับคนร้ายมาให้ได้ คนอื่นจะได้ไม่โดนแบบเราอีก #เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้กลโกงแบบนี้ ฝากแชร์เตือนภัยกันนะคะ
ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ scbeasy.com ของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบของธุรกรรมการเงิน มีใจความสำคัญ ระบุว่า "ธนาคารฯ ไม่มีนโยบายในการติดต่อลูกค้าเพื่อขอข้อมูลทางการเงิน เช่น เลขที่บัตร ATM, เลขที่บัญชีธนาคารฯ หรือข้อมูลที่เป็นความลับเช่น รหัส ATM, User name, Password ของ Internet banking ไม่ว่าจะเป็น ทางโทรศัพท์ ทางอีเมล หรือทาง SMS และหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินโดยผ่านการคลิกลิงค์ที่แนบมากับอีเมล"