svasdssvasds

นักวิทชี้ 'แมว' เสี่ยงติดไวรัสได้ขณะที่ 'เฟอเรต' สามารถนำมาทดลองยารักษาได้

นักวิทชี้ 'แมว' เสี่ยงติดไวรัสได้ขณะที่ 'เฟอเรต' สามารถนำมาทดลองยารักษาได้

ผลการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ในนิตยสารไซแอนซ์ (Science) ชี้ให้เห็นว่า เฟอเรตสามารถใช้เป็นสัตว์ทดลองสำหรับการประเมินผลของยาต้านไวรัสและวัคซีนต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

วันพุธ (9 เม.ย.) ผลการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ในนิตยสารไซแอนซ์ (Science) ชี้ให้เห็นว่า เฟอเรตสามารถใช้เป็นสัตว์ทดลองสำหรับการประเมินผลของยาต้านไวรัสและวัคซีนต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

 

 

 

 

ผลการศึกษาระบุว่า ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 สามารถเพิ่มจำนวนในสุนัข, หมู, ไก่ และเป็ด ได้ไม่ดีเท่าในเฟอเรตและแมว

 

 

 

 

เป็นที่เชื่อกันว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าอะไรคือ ‘สัตว์ตัวกลาง’ (intermediate animal) ที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาติดต่อสู่คนอีกทอดหนึ่ง นิตยสารระบุพร้อมเสริมว่า ยังคงเป็นปัญหาอยู่ว่าสัตว์ชนิดใดที่จะสามารถนำมาใช้เป็นตัวทดลองประสิทธิภาพการควบคุมไวรัสในมนุษย์ได้อย่างแม่นยำที่สุด

 

 

 

 

เพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ คณะนักวิจัยนำโดยเฉินฮวาหลาน ศาสตราจารย์ของสถาบันวิจัยสัตวแพทย์ฮาร์บิน สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรของจีน จึงได้ประเมินความไวต่อไวรัสของสัตว์ทดลองต่างๆ รวมถึงสัตว์เลี้ยง

 

 

 

 

พวกเขาได้ดำเนินการศึกษาในเฟอเรต, สุนัข, แมว, หมู, ไก่และเป็ด โดยการแยกไวรัสและนำไวรัสไปใส่ในสัตว์ทดลองผ่านทางจมูกหรือหลอดลม จากนั้นจึงวัดปริมาณเชื้อไวรัสที่เพิ่มขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อต่างๆ ของสัตว์

 

 

 

 

นักวิจัยพบว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สามารถเพิ่มจำนวนได้น้อยในสัตว์ทุกชนิดที่ทดลอง ยกเว้นเฟอเรตและแมว โดยพบว่าไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนในทางเดินหายใจส่วนบนของเฟอเรตและแมวอายุมาก ไม่ใช่ในปอด

 

 

 

 

สำหรับการศึกษาการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ หรือ ละอองฝอยขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน (airborne) พวกเขาพบว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีประสิทธิภาพต่ำในการแพร่กระจายไปยังเฟอเรต แต่สามารถแพร่กระจายผ่านอากาศไปยังแมวได้ โดยเฉพาะแมวอายุน้อย

 

 

 

 

การวิจัยครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ของการติดตามลักษณะการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 เฉินให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัว พร้อมเผยความจริงที่ว่าไวรัส “เพิ่มจำนวนในทางเดินหายใจส่วนบนของตัวเฟอเรตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พวกมันกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการประเมินฤทธิ์ของยาต้านไวรัสหรือวัคซีน”

 

 

 

 

การวิจัยยังค้นพบสิ่งพึงระวังเพิ่มเติมที่ว่า เนื่องจากแมวมีความไวต่อเชื้อไวรัสสูง จึงควรมีการตรวจสอบแมวในพื้นที่ที่เกิดการระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้พวกแมวกลายเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสตัวใหม่ เฉินกล่าว

 

Cr : ซินหัว

 

ติดตามข่าว ล่าสุด “COVID-19”

กดที่ลิ้งค์นี้ —> https://bit.ly/2UxjSwR

#โควิด19 #Covid_19 #COVID19 #ข่าวจริง #สปริงนิวส์ #Springnews #COVID2019 #coronavirus #ไวรัสโคโรนา #โควิท19

 

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> แพทย์แนะ มาตรการต้องมีในที่ชุมนุมชน รับมือไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/623982

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> 4 ทริค รับมือ COVID-19 มฤตยูร้ายสายพันธุ์ใหม่ ให้อยู่หมัด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/627250

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

related