svasdssvasds

ชี้อันตราย! ผลวิจัยพบไมโครพลาสติกในปลาทู กระตุ้นปัญหาขยะในทะเลเป็นวิกฤต

ชี้อันตราย! ผลวิจัยพบไมโครพลาสติกในปลาทู กระตุ้นปัญหาขยะในทะเลเป็นวิกฤต

ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล จ.ตรัง ยืนยันผลวิจัยพบไมโครพลาสติกในปลาทู เฉลี่ยตัวละ 78 ชิ้น ประกอบไปด้วยพลาสติกลักษณะต่างๆ ซึ่งลักษณะของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ ชิ้นสีดำ แต่จริงๆ แล้วขยะเหล่านี้คงไม่ได้อยู่ในเฉพาะปลาทูอย่างเดียว

ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล จ.ตรัง ยืนยันผลวิจัยพบไมโครพลาสติกในปลาทู ซึ่งไม่ต้องต้องการให้ตื่นตระหนก แต่จริงๆ แล้วขยะเหล่านี้คงไม่ได้อยู่ในเฉพาะปลาทูอย่างเดียว แต่เพื่อต้องการให้ยอมรับความจริง และตระหนักถึงปัญหาทิ้งขยะ ถือเป็นวิกฤตขยะทางทะเล แต่ไม่ควรตื่นตระหนกถึงขั้นเลิกกินปลาทู เผยอนาคตทางการวิจัยเรื่องไมโครพลาสติกเพิ่มเติม ทั้งในหอยตะเภา หอยชักตีน และหอยผีเสื้อ ซึ่งเป็นหอยชื่อดังประจำถิ่นของ จ.ตรัง และเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่คนนิยมบริโภคกันมาก

 

จากกรณีที่มาเรียม พะยูนน้อยแห่งท้องทะเลตรัง ได้ตายจากสาเหตุกินถุงพลาสติกเข้าไป กระทั่งต่อมาทางสื่อโซเชียลได้มีการแชร์ข้อมูลจากเพจศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง เกี่ยวกับการพบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทูไทย ที่เก็บตัวอย่างจากในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง เฉลี่ยตัวละ 78 ชิ้น ประกอบไปด้วยพลาสติกลักษณะต่างๆ เช่น เส้นใย ชิ้น แท่ง และกลิตเตอร์ ซึ่งลักษณะของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ ชิ้นสีดำ ด้วยค่าร้อยละ 33.96 ทำให้มีชาวโซเชียลต่างให้ความสนใจและเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก

ชี้อันตราย! ผลวิจัยพบไมโครพลาสติกในปลาทู กระตุ้นปัญหาขยะในทะเลเป็นวิกฤต

(11ก.ย.62) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปยังศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง เพื่อสอบถามข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับงานวิจัยและความเป็นมาของงานวิจัยดังกล่าว โดยนางสาวเสาวลักษณ์ ขาวแสง อายุ 30 ปี ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการวิจัยเนื่องมาจากการที่ทางศูนย์ฯ ได้มีการเก็บขยะทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-09.30 น. จากนั้นก็จะนำมาแยกเป็นประเภทต่างๆ แล้วชั่งน้ำหนัก เพื่อเป็นการจดบันทึกข้อมูลว่า ในแต่ละรอบเดือน ในแต่ละรอบปี มีปริมาณขยะในแต่ละชนิดประมาณเท่าไหร่ กระทั่งได้มาเจอปัญหาในระบบห่วงโซ่อาหาร โดยเฉพาะในบริเวณหาดเจ้าไหม ซึ่งมีปลาเศรษฐกิจทั่วไปที่ทุกคนสามารถบริโภคได้ และมีราคาที่ไม่สูงเกินไป อยู่เป็นจำนวนมาก

ชี้อันตราย! ผลวิจัยพบไมโครพลาสติกในปลาทู กระตุ้นปัญหาขยะในทะเลเป็นวิกฤต

ดังนั้น ทางศูนย์ฯ จึงได้เริ่มเก็บตัวอย่างปลาทู มาจากกลุ่มประมงขนาดเล็ก เฉพาะน่านน้ำในบริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม แล้วนำปลามาแยกในส่วนของกระเพาะเข้า ห้องLabปฏิบัติการ จึงได้พบไมโครพลาสติกประมาณ 78 ชิ้น ต่อ 1 กระเพาะ จึงทำให้เกิดงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา ซึ่งโดยหลักวิชาการทั่วไป ไมโครพลาสติกจะมีขนาดประมาณ 1-5 มิลลิเมตร และไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เพราะมีขนาดเล็กมาก เพราะเกิดมาจากการแตกหักของพลาสติกชิ้นใหญ่ในประเภทต่างๆ แล้วด้วยปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ความเค็ม กระแสน้ำ จะทำให้พลาสติกแตกหักเป็นชิ้นเล็กๆ เรื่อยๆ จนกลายเป็นไมโครพลาสติก และปลาทูได้กินเข้าไปดังกล่าว

ชี้อันตราย! ผลวิจัยพบไมโครพลาสติกในปลาทู กระตุ้นปัญหาขยะในทะเลเป็นวิกฤต

ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า เมื่อปลาทูได้กินไมโครพลาสติกเข้าไป จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของปลาได้อย่างไรบ้าง ทางเจ้าหน้าที่ กล่าวว่า ขณะนี้ทางศูนย์ฯ ยังไม่ได้วิจัยถึงตัวปลาว่า จะได้รับผลกระทบหรือไม่ รวมทั้งสามารถบ่งบอกได้ว่าขยะเหล่านี้มาจากไหน แต่การวิจัยในครั้งนี้เพื่อต้องการที่จะให้ผู้คนตระหนักว่า ควรจัดการขยะอย่างไรให้ถูกวิธี และเป็นเพียงแค่ข้อมูลว่าระบบนิเวศตอนนี้มันเป็นยังไง เพราะถือเป็นวิกฤตขยะทางทะเลแล้ว อยากให้ทุกคนช่วยแก้กันที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ปลายเหตุ

ชี้อันตราย! ผลวิจัยพบไมโครพลาสติกในปลาทู กระตุ้นปัญหาขยะในทะเลเป็นวิกฤต

โดยเฉพาะการช่วยกันลดการทิ้งขยะ ส่วนในอนาคตทางศูนย์ฯ จะทำการวิจัยเรื่องไมโครพลาสติกเพิ่มเติม ในหอยตะเภา หอยชักตีน และหอยผีเสื้อ ซึ่งเป็นหอยชื่อดังประจำถิ่นของ จ.ตรัง และเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่คนนิยมบริโภคกันมาก ซึ่งจากการทำวิจัยปลาทูทั้งหมด 60 ตัว ในระยะเวลา 3-4 เดือน พบว่าเจอไมโครพลาสติกอยู่ในปลาทูทุกตัว มี 78 ชิ้นต่อตัว ซึ่งมันอยู่ในห่วงโซ่อาหารแล้ว นอกจากนี้ได้มีการวิจัยหอยเสียบ ของ จ.จันทบุรีแล้วด้วย แต่ในทางของสุขภาพมนุษย์นั้นในอุจจาระก็จะมีอยู่แล้ว แต่ในของประเทศไทยยังไม่มีการทดลองในเรื่องนี้ ในส่วนของสุขภาพจะมีผลกระทบไหมยังคงต้องรอการวิจัยต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากการที่มีสื่อโซเชียล กระจายข่าวเกี่ยวกับเรื่องการพบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทูไทย จนอาจทำให้ผู้คนเริ่มตื่นตระหนก ถึงขั้นไม่กล้ากินปลาทูนั้น จริงๆแล้วไม่ได้ต้องการตื่นตระหนก แต่จริงๆ แล้วขยะเหล่านี้คงไม่ได้อยู่ในเฉพาะปลาทูอย่างเดียว และไม่ได้เฉพาะเจาะจงบริโภคเฉพาะตัวของกระเพาะ เนื่องจากยังคงวิจัยต่อไปว่าในเนื้อเยื่อของปลามีการพบไมโครพลาสติกหรือไม่ด้วย ซึ่งไม่ถึงขั้นที่จะต้องตัดปลาจำพวกนี้ออกจากระบบห่วงโซ่อาหาร เพียงแต่เมื่อผลการวิจัยออกมา เราก็ควรยอมรับความจริง และอยากให้ตระหนักถึงเรื่องการไม่ทิ้งขยะให้มากที่สุด

related