svasdssvasds

แพทย์ศิริราชแถลง "น้ำตาล เดอะสตาร์ 5" ป่วยเป็น “วัณโรคโพรงจมูก”

แพทย์ศิริราชแถลง "น้ำตาล เดอะสตาร์ 5" ป่วยเป็น “วัณโรคโพรงจมูก”

แพทย์โรงพยาบาลศิริราช สรุปการเสียชีวิตของ น้ำตาลเดอะสตาร์ เป็นการเสียชีวิตด้วย “วัณโรคโพรงจมูก” ซึ่งเกิดขึ้นได้เพียง 1% ของวัณโรคที่พบนอกปอด

นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล พร้อมด้วย นายแพทย์ปรัญญา สากิยลักษณ์ แพทย์ประจำสาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ แพทย์เจ้าของไข้ ของ น.ส.บุตรศรัณย์ ทองชิว หรือ น้ำตาลเดอะสตาร์ 5 ร่วมกันรายงานผลการตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูก

แพทย์ศิริราชแถลง \"น้ำตาล เดอะสตาร์ 5\" ป่วยเป็น “วัณโรคโพรงจมูก”

หลังการเสียชีวิตของน้ำตาลเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ขออนุญาตส่องกล้องเข้าไปดูบริเวณหลังโพรงจมูกและพบบริเวณเยื่อบุหลังโพรงจมูกมีสีผิดปกติไป จากปกติขนาดประมาณ 0.5 – 1 ซม. จึงตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำมาตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาหาสาเหตุการเสียชีวิต

แพทย์ศิริราชแถลง \"น้ำตาล เดอะสตาร์ 5\" ป่วยเป็น “วัณโรคโพรงจมูก”

ระหว่างตัดชิ้นเนื้อพบมีเลือดไหลออกมา หลังจากย้อมชิ้นเนื้อ พบว่าเข้าได้กับวัณโรคแต่ไม่พบเชื้อ จึงได้ทำการตรวจอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า PCR คือการตรวจหา DNA ของเชื้อวัณโรคได้ผลเป็นบวก ผลการตรวจชิ้นเนื้อจึงบ่งชี้ว่า มีเชื้อวัณโรคหลังโพรงจมูก ซึ่งในกรณีนี้มีโอกาสติดต่อกันได้น้อยจากสถิติของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 พบคนไทยเป็นวัณโรคประมาณ 80,000 คนจากประชากร 69 ล้านคน โดยร้อยละ 83 ตรวจพบที่ปอด และ ร้อยละ 17 ตรวจพบนอกปอด

แพทย์ศิริราชแถลง \"น้ำตาล เดอะสตาร์ 5\" ป่วยเป็น “วัณโรคโพรงจมูก”

สำหรับวัณโรคหลังโพรงจมูกพบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของวัณโรค ที่พบนอกปอด อีกทั้งวัณโรคสามารถเป็นได้ตามอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย สำหรับวัณโรคหลังโพรงจมูกรายงานทางการแพทย์ทั่วโลกพบว่าผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ และประมาณร้อยละ 70 มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโตหรือมีก้อนบริเวณหลังโพรงจมูก การวินิจฉัยวัณโรคหลังโพรงจมูกจึงมักได้จากการตรวจชิ้นเนื้อที่ก้อนหรือต่อมน้ำเหลือง

ข้อแนะนำสำหรับประชาชน

1. อุบัติการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยยังไม่ลดลงสามารถเกิดได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัยและสามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายอวัยวะ

2. ควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี หากพบสิ่งผิดปกติใดๆ จำต้องสืบค้นจนพบสาเหตุของความผิดปกตินั้น

3. แม้การตรวจร่างกายจะปกติแต่หากมีอาการผิดปกติระยะเวลาหนึ่งเช่นน้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุเบื่ออาหารมีไข้ต่ำๆ คลำได้ก้อนผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

related