ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
นางศุภพร เปรมปรีดิ์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จังหวัดตรัง เปิดเผยว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราและหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ และอาสาสมัครได้ร่วมกันฟื้นฟูอ่าวมาหยาทั้งทางบกและทางทะเล ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันรวมระยะเวลา 7 เดือน ตามที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ประกาศปิดอ่าวมาหยา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ และได้ยืดเวลาปิดออกไปแบบอย่างไม่มีกำหนด เพื่อทำการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและบนบกให้กลับคืนมา โดยได้ปลูกปะการังน้ำตื้นและน้ำลึก ปลูกป่าบกบนชายหาดอ่าวมาหยา
[gallery columns="1" size="full" ids="406043,406044"]
และได้มีการติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในอ่าวมาหยา พบการเข้ามาอยู่อาศัยของสัตว์ทะเลที่หายากและใกล้สูญพันธุ์เช่น พบปลาฉลามหูดำสีดำและสีน้ำตาลจำนวนมากและหลายฝูงที่กลับเข้ามา ซึ่งบ่งชี้ถึงสภาพความสมบูรณ์ได้กลับคืนมา เนื่องจากปลาฉลามหูดำเป็นห่วงโซ่อาหารที่สำคัญของสัตว์ในทะเล ส่วนทางบกล่าสุดนี้ที่ชายหาดอ่าวมาหยา ปรากฏว่าได้พบปูลมจำนวนหนึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ในผืนทรายบนชายหาด ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในอ่าวแห่งนี้ที่พบปูลมตั้งแต่มีการปิดอ่าวมา ส่วนช่วงก่อนหน้านี้ปูลมไม่สามารถอาศัยผืนทรายบนชายหาดได้ เพราะแต่ละวันมีผู้คนจำนวนมากเหยียบย่ำชายหาดจนไม่มีที่อยู่ เชื่อว่าส่งผลให้ปูลมลดจำนวนจนเกือบจะหมดหรือใกล้สูญพันธ์ บางส่วนหนีเข้าไปอยู่ในป่า แต่เมื่อไม่มีผู้คนมาเหยียบย่ำนานเข้าจึงกล้าออกมาอาศัยชายหาดอีกครั้งหนึ่ง ถือเป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์และการคืนสภาพชายหาดให้กับเจ้าของอย่างปูลมนั่นเอง
[gallery columns="1" size="full" ids="406045,406046"]
ขณะที่ จ.พังงา ฉลามวาฬ ที่บันทึกได้จากนักท่องเที่ยว และไกด์นำเที่ยว ซึ่งเรือทัวร์ ของบริษัท รุ่งวาสนา โดย นายจำรัส เริงสมุทร เป็นคนเรือ ในขณะนำนักท่องเที่ยวล่องเรือบริเวณร่องน้ำระหว่างเกาะไข่ นอก จ.พังงา เดินทางเข้า เกาะห้อง จ.กระบี่ พบฝูงฉลามวาฬจำนวนไม่ต่ำกว่า 3 ตัว ว่ายน้ำและโผล่ให้นักท่องเที่ยวได้ยลโฉมเป็นช่วงๆ โดยมีฝูงปลาช่อนทะเลว่ายอยู่ ใกล้ลำตัวของฉลามวาฬดังกล่าว สร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ ยวที่ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง
ลักษณะของฉลามวาฬที่แตกต่างจากฉลามส่วนใหญ่ คือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่ จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่ า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้ งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ, โลมา หรือพะยูน เป็นต้น
ในการระบุตัวของฉลามวาฬนั้น พิจารณาจากด้านข้างลำตัว ตั้งแต่ช่องเหงือกช่องที่ 5 จนถึงสิ้นสุดครีบอก โดยแต่ละตัวจะมีจุดที่แตกต่างกันออกไปเป็นอัตลักษณ์ประจำตัว ปลาฉลามวาฬปกติเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะขึ้นมากินแพลงก์ตอนในเวลากลางคืนบริเวณผิวน้ำ โดยใช้การดูดน้ำเข้าปากแล้วผ่านช่องกรอง โดยจะทิ่งตัวเป็นแนวดิ่งกับพื้นน้ำ บางประเทศที่พบฉลามวาฬได้ เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการโปรยอาหารเลี้ยงฉลามวาฬ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นไฮไลต์ของการท่องเที่ยวดำน้ำ โดยอาหารที่ป้อนนั้น คือ เคย และจะมีช่วงเวลาที่ป้อนตั้งแต่ 05.00 หรือ 06.00 น.-13.00 น. ในแต่ละวัน จากนั้นฉลามวาฬก็จะว่ายออกไปทะเลลึกเพื่อหากินเอง ซึ่งเชื่อว่าวิธีการแบบนี้จะไม่ ทำให้พฤติกรรมของปลาฉลามวาฬเปลี่ยนไป