svasdssvasds

แอมเนสตี้ ร่อนจดหมายเปิดผนึกจี้ทางการไทย ปล่อยตัวชนกลุ่มน้อยชาวมองตานญาด

แอมเนสตี้ ร่อนจดหมายเปิดผนึกจี้ทางการไทย ปล่อยตัวชนกลุ่มน้อยชาวมองตานญาด

แอมเนสตี้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงทางการไทย แสดงข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนหลังตำรวจควบคุมตัวและการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยอย่างน้อย 168 คน และกระตุ้นทางการไทยให้ปล่อยตัวพวกเขาโดยทันที

สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทางการไทยปล่อยตัวผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยชนกลุ่มน้อยชาวมองตานญาดโดยทันที ระหว่างรอการตรวจสอบคำขอลี้ภัย รวมทั้งไม่ควบคุมตัวเด็ก ยุติการบังคับแยกตัวเด็กจากพ่อแม่หรือผู้ดูแลไม่ว่าในเงื่อนไขใดที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเมือง และเรียกร้องทางการไทยพัฒนาแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการคุ้มครองผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยในประเทศไทยต่อไป

แอมเนสตี้ ร่อนจดหมายเปิดผนึกจี้ทางการไทย ปล่อยตัวชนกลุ่มน้อยชาวมองตานญาด

นายมินาร์ พิมเพิล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการระดับโลก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกังวลใจเป็นอย่างยิ่งต่อการควบคุมตัวและการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยอย่างน้อย 168 คนจากกัมพูชาและเวียดนาม รวมทั้งชาวเขามองตานญาด ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่หลบหนีจากการประหัตประหารทางการเมืองและศาสนามาจากกัมพูชาและเวียดนามเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา

แอมเนสตี้ ร่อนจดหมายเปิดผนึกจี้ทางการไทย ปล่อยตัวชนกลุ่มน้อยชาวมองตานญาด

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีข้อมูลว่า ในบรรดาผู้ที่ถูกจับกุม ประกอบด้วยเด็กอย่างน้อย 63 คน ตั้งแต่อายุสามเดือนจนถึง 17 ปี รวมทั้งผู้หญิงตั้งครรภ์สองคน ผู้ถูกจับกุมและควบคุมตัวหลายคนให้ข้อมูลกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า พวกเขาได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แล้ว และได้แสดงบัตรผู้ลี้ภัยให้กับเจ้าหน้าที่ไทย ส่วนคนอื่นๆ ถือบัตรผู้ขอลี้ภัย อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมอ้างว่าไม่มีบุคคลที่ได้รับสถานะจาก UNHCR แต่อย่างใด

แอมเนสตี้ ร่อนจดหมายเปิดผนึกจี้ทางการไทย ปล่อยตัวชนกลุ่มน้อยชาวมองตานญาด

สำหรับชาวมองตานญาดเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งอาศัยอยู่ในที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนามและกัมพูชา ถือได้ว่าพวกเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกคุกคามมากสุดในเวียดนาม ต้องเผชิญกับการปราบปรามอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาและการเมืองของตน การอพยพโยกย้ายและสูญเสียทรัพย์สินอันเป็นผลมาจากข้อพิพาทด้านที่ดินและการแย่งชิงที่ดิน ส่งผลให้พวกเขาจำนวนมากไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในกัมพูชา รัฐบาลเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่าชาวจราย ซึ่งถือว่าเป็นชนเผ่ามองตานญาดกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในกัมพูชา และถือเป็น “ชนกลุ่มน้อยของเวียดนาม” ชาวเขามองตานญาดจากเวียดนามกว่าร้อยคนได้แสวงหาที่ลี้ภัยในกัมพูชา และถูกผลักดันส่งกลับไปยังเวียดนาม หากถูกส่งกลับไปเวียดนาม มีความเสี่ยงอย่างยิ่งว่าพวกเขาจะถูกประหัตประหารและถูกจำคุกโดยไม่มีเวลากำหนด

แอมเนสตี้ ร่อนจดหมายเปิดผนึกจี้ทางการไทย ปล่อยตัวชนกลุ่มน้อยชาวมองตานญาด

แม้ว่ารัฐบาลไทยไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 แต่ก็ยังมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งกลับ โดยประกันว่าจะไม่มีการผลักดันบุคคลกลับไปยังประเทศ ซึ่งมีความเสี่ยงที่พวกเขาจะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ทั้งยังมีข้อห้ามต่อการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีในรูปแบบอื่น

แอมเนสตี้ ร่อนจดหมายเปิดผนึกจี้ทางการไทย ปล่อยตัวชนกลุ่มน้อยชาวมองตานญาด

related