svasdssvasds

กลัวลูกไม่สูง เตี้ยแค่ไหนถึงเรียกผิดปกติ พร้อมสูตรคำนวณ

กลัวลูกไม่สูง เตี้ยแค่ไหนถึงเรียกผิดปกติ พร้อมสูตรคำนวณ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

สูตรการประเมินส่วนสูงของเด็กตามพันธุกรรมว่า “ควรจะสูงได้เท่าไร” คำนวณได้คร่าวๆ จากความสูงของพ่อและแม่  คิดดังนี้

เด็กผู้หญิง = (ความสูงของพ่อ +ความสูงของแม่ – 13) หาร 2 โดยความสูงที่ควรจะเป็นมีค่า บวกหรือลบ 8 ซม.

เด็กผู้ชาย = (ความสูงของพ่อ +ความสูงของแม่ + 13) หาร 2 โดยความสูงที่ควรจะเป็นมีค่า บวกหรือลบ 10 ซม.

 

“ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะไม่สูง แต่ถ้าลูกได้รับการกระตุ้นอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้สูงได้เช่นกัน” ด้วยการให้ลูกกินอาหารให้ครบ 5 ดื่มนม งดดื่มน้ำอัดลม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตการเจริญเติบโตของลูก ถ้าเตี้ยกว่าเกณฑ์ หรือโตเร็วกว่าปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

 

สาเหตุที่ลูกตัวเตี้ย

  1. พันธุกรรม เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เด็กตัวเตี้ย แต่ถ้าลูกได้รับการกระตุ้นอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้สูงได้เช่นกัน
  2. มีภาวะหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ขาดฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต หรือมีฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป ก็สามารถส่งผลต่อความสูงของเด็กได้
  3. มีภาวะเป็นสาวก่อนวัย หมายถึง การที่เด็กผู้หญิงมีพัฒนาการทางเพศก่อนวัยอันควร คือ มีพัฒนาการของเต้านมก่อนอายุ 8 ขวบ หรือมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 9 ขวบ เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมองที่เข้าไปกระตุ้นรังไข่ จนทำให้มีการผลิตฮอร์โมนเพศเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้ความสูงของเด็กจะค่อย ๆ ช้าลงและหยุดสูงใน 2-3 ปีได้
  4. การเลี้ยงดู อย่าง อาหารการกิน อาหารที่คุณแม่กินในระหว่างตั้งครรภ์ และอาหารที่ลูกกินหลังคลอดออกมาแล้ว รวมถึง การออกกำลังกาย เพราะหากเด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยกระตุ้นให้กระดูกมีการเติบโตได้ดี และมีการหลั่งฮอร์โมนช่วยเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น
  5. ความเครียด ของเด็ก สภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งในครอบครัว และในโรงเรียน โดยเฉพาะการเรียนในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จ และมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้เด็กเครียดมากขึ้น ซึ่งความเครียดนั้น สามารถส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้
  6. ความเจ็บป่วยอื่น ๆ เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคปอด ส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้เช่นกัน

 

ขอบคุณ เว็บไซต์ของโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา

ขอบคุณ ภาพประกอบจาก heightceleb

related