svasdssvasds

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ทีมสัตวแพทย์ได้เตรียมพื้นที่เพื่อทำการผ่าพิสูจน์ซากช้างป่าสีดอที่ถูกน้ำป่าซัดพาร่างลอยมาติดคลองชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ได้รับบาดเจ็บแล้วนำตัวมารักษาที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ และได้หมดลมหายใจล้มตายไป และมี“พิธีปัดพลาย” ให้แก่ช้าง ซึ่งเป็นพิธีทางล้านนา จะทำทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ช้างล้ม ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่า หากช้างล้มหรือมีการตัดชิ้นเนื้อของช้างออกไป ต้องมีพิธีปัดพลายเพื่อปัดเป่าให้ช้างที่ล้มตายได้เกิดความเป็นสุขและไปสู่สัมปรายภพที่ดี โดยมีทีมสัตวแพทย์จากหลายหน่วยงานและหลายมหาวิทยาลัยเข้าร่วมพิธีด้วย

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

นอกจาก พิธีปัดพลายแล้ว ชุมชนชาวกูยเลี้ยงช้าง และหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ยังมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นทั้งในด้านภาษาพูด ความเป็นอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้าง ภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งยึดถือการเคารพช้างว่าเท่ากับการเคารพศาลปะกำและการเคารพศาลปะกำก็เท่ากับเคารพบรรพบุรุษ คนและช้าง จึงเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวที่มีความผูกพันกันอย่างแนบสนิท ตามฐานะอายุของช้างและคน  ถ้าช้างมีอายุมาก ก็เปรียบ”ช้าง”เสมือน พ่อ-แม่-ปู-ย่า-ตา-ยาย แต่ถ้าช้างมีอายุน้อยก็เปรียบ ช้างเสมือน ลูก-หลาน

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

ว่าที่รต.น.สพ.ทศพล ต่อศรี เล่าว่า ตามธรรมเนียมของชาวกูยนั้น เมื่อมีช้างตายลง ก่อนการนำไปฝังก็จะมีการทำพิธีกรรมโดยจะนิมนต์พระมาทำพิธี ก่อนที่จะนำไปฝัง เสมือนว่าช้างเป็นสมาชิกในครอบครัว เป็นสิ่งมีชีวิตที่เท่าเทียม เปรียบเสมือนคนอีกคนในครอบครัว และที่สำคัญชาวกูยจะไม่รับประทานเนื้อช้างโดยเด็ดขาด สิ่งนี้เราท่านจะรู้กันหรือไม่ เพราะช้างคือสัตว์คู่บ้านคู่เมือง คู่พระพุทธศาสนา มีคุณค่าด้านวัฒนธรรมประเพณีมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งจะพบความผูกพันอีกอย่างหนึ่งคือ

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

“การบวชนาคช้าง” จะมีขึ้นในวันที่ 13, 14 และ 15 ค่ำ เดือน 6 (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม) ของทุกปี บุตรหลานชายอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ที่มีจิตศรัทธาจะเข้าบรรพชาอุปสมบท จะมีการอุปสมบทพร้อมๆ กันในครั้งเดียว และทุกครัวเรือนในเขตรัศมีวัด จะร่วมกันเป็นเจ้าภาพ โดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นบุตรหลานของใคร ผู้ใดมีช้างก็ให้นำมาร่วมขบวนแห่ มีการแต่งช้างโดยการใช้ปูนขาว และขมิ้นวาดลวดลายต่างๆ ลงบนตัวช้าง และนาคจะนั่งบนหลังช้าง แล้วจะตั้งขบวนช้างแห่ไปยัง “วังทะลุ” (บริเวณที่แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี มาบรรจบกัน) ซึ่งเมื่อไปถึงควาญช้างจะนำช้างลงอาบน้ำให้ร่างกายสะอาด เพื่อเตรียมเข้าพิธีบวชช้าง ซึ่งจะทำก่อนบวชนาคที่วัด พิธีบวชช้างจะกระทำที่ศาลปะกำ สถานศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ โดยมีหมอเฒ่าหรือปะกำหลวง เป็นผู้ประกอบพิธีบวชให้ช้าง เมื่อเสร็จพิธีขบวนช้างแล้ว ชาวกูยก็จะแห่นาคไปยังพัทธสีมา เพื่อบรรพชาอุปสมบทนาคให้เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาต่อไป

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

จาก“พิธีปัดพลาย”ถึง“พิธีบวชนาคช้าง”ของชาวกูย ห้ามกินเนื้อช้างโดยเด็ดขาดเพราะ ?!

ทั้งนี้ นาคจะนุ่งห่มด้วยผ้าไหม สวมเสื้อสีขาว คลุมด้วยผ้าสีสด 7 สี สวมชฎาบนศีรษะขึ้นแห่บนหลังช้าง ที่เขียนหน้าตาสวยงาม แล้วแห่จากหมู่บ้านไปจนถึงบริเวณวังทะลุ ขบวนนาคที่นั่งอยู่บนหลังช้างดูองอาจ งดงามตระการตา ท่ามกลางเสียงดนตรีประโคมดังเป็นภาพที่น่าประทับใจและแสดงถึงความผูกพันอัน ลึกซึ้งระหว่างชาวกวยกับช้างที่เขารัก ซึ่งถือเป็นญาติสนิทของคนในครอบครัว

 

ขอบคุณข้อมูล จาก ว่าที่ รต.น.สพ. ทศพล ต่อศรี และสถาบันวิจัยและบริการสุขภาพช้างแห่งชาติ กรมปศุสัตว์

ขอบคุณข้อมูล จาก Elephant 's Doctor Story

ขอบคุณภาพ จาก dooasia.com

related