ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก สามารถวินิจฉัยได้จากลักษณะอาการที่แสดงและการตรวจร่างกายของผู้ป่วย ดังนี้
พบว่าผู้ป่วยมีไข้ 38-39 องศาเซลเซียส
พบจุดนูนแดง ตุ่มน้ำใส หรือแผลที่เยื่อบุปาก ลิ้น และเหงือก
พบจุดแดงราบ ตุ่มนูน หรือตุ่มน้ำที่มือ เท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และแก้มก้น
ในรายที่จำเป็น หรือผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง แพทย์อาจทำการตรวจเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่ง ที่คอหอย อุจจาระ หรือน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำบนผิวหนังเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าเป็นการติดเชื้อในกลุ่มนี้ (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เพราะไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย เนื่องจากมีราคาแพง และในบางสถานการณ์อาจทำไม่ได้เนื่องจากอุปสรรคทางเทคนิคต่างๆ ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการตรวจที่จะให้ผลรวดเร็วภายใน 1-2 ชั่วโมง
โรคนี้ต้องแยกออกจากโรคที่มีอาการคล้ายกัน เช่น โรคไข้รูมาติก (เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไข้ออกผื่น ), เฮอร์แปงไจน่า (เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นตามผิวหนังและตุ่มน้ำในปาก) , เริม , อีสุกอีใส , แผลร้อนใน , แผลพุพอง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปาก
ในรายที่มีอาการคัน อาจเกาจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จนกลายเป็นตุ่มหนอง พุพอง อาจเกิดภาวะขาดน้ำเนื่องจากการเจ็บแผลในปากจนทำให้ดื่มน้ำได้น้อย
ในบางรายอาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งมักจะไม่รุนแรง และจะหายได้เองภายใน 10 วัน
"ในรายที่เป็นรุนแรง จากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 (พบได้น้อย) มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักกว่าที่เกิดจากเชื้อไวรัสค็อกแซคกีเอ ชนิด 16 โดยมักจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ระบบหัวใจ และปอดได้สูง ได้แก่ สมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก ภาวะปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema) หรือเลือดออกในปอด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ แต่การติดเชื้อจากเชื้อไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16 ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และภาวะช็อกได้ แต่จะพบได้น้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรชนิด 71"
แต่อาการแทรกซ้อนจะไม่สัมพันธ์กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มที่พบตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า เพราะในรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง อาจมีแผลเพียงไม่กี่จุดในลำคอ หรืออาจมีตุ่มขึ้นเพียงไม่กี่ตุ่ม ตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้าก็ได้ พ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แม้ว่าผื่นและแผลในปากจะหายไปแล้วก็ตาม โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนที่พ่อแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที มีดังนี้
ในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ให้รักษาไปตามอาการด้วยวิธีดังต่อไปนี้
แม้ว่าโรคนี้มักจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน หรือเต็มที่ก็ไม่เกิน 2 สัปดาห์ แต่แนะนำว่าควรสังเกตภาวะแทรกซ้อนทางสมอง ปอด และหัวใจอย่างใกล้ชิด หากสงสัยว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก เว็บไซต์เมดไทย (MedThai)
ภาพประกอบ : www.nhsdirect.wales.nhs.uk, www.blogcdn.com, wikipedia.org (by Ngufra, MidgleyDJ), www.natural-health-news.com, babycenter.com