ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
นายวิโรจน์ อาลี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงกระบวนการขอลี้ภัย ว่า ประเทศที่ให้การลี้ภัยขึ้นอยู่กับนโยบายของประเทศเหล่านั้น ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน เช่น เห็นว่าการเมืองในประเทศมีปัญหากระทบต่อประชาชน หรือมิติอื่นๆ ทั้ง ศาสนา ความเชื่อ ชาติพันธุ์ ซึ่งจะมีช่องทางให้ลี้ภัย เมื่อผู้ขอลี้ภัยมีหลักฐานแสดงว่าถูกดำเนินการด้วยกระบวนการที่ไม่ปกติ โดยเฉพาะปัญหาทางมติการเมือง
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน กรณีอังกฤษ มีสนธิสัญญาฯ แต่มีหลักการสำคัญ คือ ประเทศต้นทางของผู้ร้าย และอังกฤษ จะมีกฎหมายที่เป็นฐานความผิดเดียวกัน เช่น หากประเทศไทยมีกฎหมายหนึ่ง แต่อังกฤษไม่มี ก็อาจไม่เข้าเงื่อนไขในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น เช่น กรณีคดี จีทีสองร้อย และคดีโรลสรอย ที่อังกฤษไม่ส่งข้อมูลเพราะไทยมีโทษประหารชีวิต
ส่วนกรณี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ศาลสั่งจำคุก 5 ปี จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ถ้าเห็นว่าเป็นผลพวงของการรัฐบาลประหาร หรือตีความว่า นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว. พาณิชย์ เป็นคนทุจริต แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องร่วมรับผิด ก็อาจเป็นเงื่อนที่รัฐบาลประเทศที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาศัยอยู่ ไม่ส่งตัว เพราะเห็นว่าเป็นประเด็นการเมือง
สำหรับกรณีเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แม้ไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ไทยก็เคยขอความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาล ว่าจะให้ความร่วมมือในการส่งผู้ร้าย
สรุปคือ
1. สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าคดีจำนำข้าวเป็นคดีการเมืองหรือไม่ มี 2 มิติ คือ 1. ยึดตามหลักกฎหมายที่ศาลพิพากษา ว่าไม่เป็นประเด็นการเมือง หรือ 2. มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงการรัฐประหาร เพราะระหว่างการรัฐประหารมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย โดยไม่ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย อาจตีความว่าเป็นประเด็นการเมือง นอกจากนี้ อาจนำกรณี น.ส. ยิ่งลักษณ์ เปรียบเทียบกับกรณีอื่น แม้รัฐบาลจะอ้างว่า กรณี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ต้องร่วมรับผิดชอบกับการกระทำของอดีตรัฐมนตรีที่ทุจริต แต่กลับมีกรณีอื่นที่นายกรัฐมนตรีไม่ต้องร่วมรับผิดชอบ หรือรัฐบาล คสช. ที่มีการเขียนกฎหมายนิรโทษกรรมตนเอง ประเด็นเหล่านี้อาจถูกนำไปตีความว่าคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นประเด็นการเมือง